25 ทริก สำหรับ 100 ทริป ตอน สายเบ็ดตกปลา

สวัสดี มีเทคนิค และทริกเล็กๆ น้อยๆ มากมาย ที่น้าๆ สามารถนำไปปรับใช้ในการตกปลาของน้าๆ ได้ ผมได้แบ่งเอาเฉพาะสายเบ็ด มาให้น้าๆ ได้อ่านกัน ก็หวังว่าจะช่วยอะไรได้บ้างนะครับ ^ ^

1. เมื่อเห็นว่าผิวของสาย

Advertisements

มีลักษณะฉลอกเป็นขุยๆ ซึ่งเกิดจากสารที่เคลือบผิวนั้นถูกเสียดสีจนหลุดลอกออกมา นั่นเป็นสัญญาณแสดงว่าสายเส้นนั้นเสื่อมสภาพการใช้งานแล้ว ถ้าไม่อยากให้แม้เป็นเพียงปลาตัวกระจิ๊ดเดียวขาดไป ก็จงรีบเปลี่ยนสายใหม่ซะโดยเร็วไว

2. ตรวจสอบสายบ่อยๆ

บางครั้งมันก็เป็นเรื่องยากเหมือนกันในการตรวจหารอยฉีกรอยถลอกบนสายด้วยการรูดสายผ่านนิ้วมือ วิธีการตรวจหาที่ดีที่สุดและให้ความรู้สึกที่ดีที่สุดคือการรูดสายตรวจหาร่องรอยบนสายด้วยการรูดสายผ่านริมฝีปาก

3. การประหยัดใช้สายที่ถูกต้องคือ

เมื่อเห็นว่าสายส่วนหน้าที่เย่อดึงอยู่กับปลาเป็นประจำจนเกิดอาการสึกกร่อนรีบเล็กหรือยืดยาวจนเกินเหตุ เราก็ควรดึงออกแล้วตัดทิ้งไป แล้วกลับสายเอาส่วนที่อยู่ด้านล่างของหลอดเก็บสายขึ้นมาเป็นสายส่วนหน้าเพื่อการใช้งานในครั้งต่อๆไป (โดยต้องมีสายรองในเอาไว้ด้วย เพื่อที่ปริมาณของสายจะได้มีความยาวถูกต้องกับปริมาณที่หลอดเก็บสายบรรจุได้)

4. สายประเภทเก่าเก็บมักจะกลายเป็นสายที่เปราะบางไปได้ง่ายๆ

Advertisements

ดังนั้นถ้าใช้สายเพียงคนเดียวก็ไม่ควรซื้อสายม้วนใหญ่ๆที่มีความยาวเป็นพันๆหลา เพียงเพราะคำนวณราคาแล้วเห็นถูกกว่าสายแบ่งขายกัน เยอะแยะ เพราะกว่าที่สายในสปูลที่ใช้งานนั้นจะหมดอายุ (แม้จะไม่มีระบุอายุ) ดีไม่ดีสายอีกพันกว่าหลาที่เหลือเก็บไว้ในโรลม้วนใหญ่นั้นจะหมดสภาพไปเสียก่อนแล้วก็ได้


5. เมื่อบรรจุสายใหม่ใส่ในสปูล (หลอดเก็บสาย)

จะต้องใส่ให้เต็มปริมาณ (เกือบๆล้นขอบสปูล) และเพื่อป้องกันไม่ให้สายตีเกลียวก็ควรไปให้ทางร้านที่มีเครื่องกรอสายเขาใส่ให้ (ฟรีด้วย) แต่ถ้าหากขี้เกียจไปหรือจำเป็นต้องใช้งานอย่างปัจจุบันทันด่วนก็ควรจะมีเพื่อนซักคนมาเป็นผู้ช่วย โดยให้เขาใช้ดินสอสอดผ่านแกนม้วนสาย แล้วใช้นิ้วกดม้วนสายทั้งสองด้านเอาไว้เพื่อให้เกิดแรงหนืดในขณะที่คุณกรอสายเข้าสปูล


6. ผูกเงื่อนควรใช้น้ำลายหรือน้ำ

ควรใช้น้ำลายหรือน้ำธรรมดาแตะที่ตัวเงื่อนเพื่อเป็นการหล่อลื่นก่อนที่จะดึงเงื่อนให้แน่นในทุกๆ ครั้ง ซึ่งไม่เพียงจะทำให้ตัวเงื่อนมีความแน่นหนามากขึ้นเท่านั้น ยังจะช่วยลดความอ่อนแอของตัวเงื่อนที่เกิดจากการเสียดสีให้น้อยลงอีกด้วย

7. เงื่อนสายทบคู่

Advertisements

การผูกด้วยเงื่อนสายทบคู่นั้นมิได้เพิ่มความเหนียวแน่นของเงื่อนให้มากขึ้นในทุกครั้งไป ความจริงแล้วมันอาจจะลดประสิทธิภาพของเงื่อนให้น้อยลงกว่าปกติซะด้วยซิ่ วิธีการที่ดีกว่านี้ก็คือเลือกใช้รูปแบบเงื่อนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดมาผูกด้วยสายดี่ยวเส้นเดียวก็พอ

8. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการร้อยสายผ่านตาเบ็ด

ถ้าหาเข็มเย็บผ้ามาช่วยในการ้อยสายก็จะทำให้งานของคุณสำเร็จลุล่วงไปได้อย่าง่ายๆและรวดเร็วยิ่งขึ้น

9. แม้จะเป็นรูปเงื่อนที่มีประสิทธิภาพจัดอยู่ในอันดับ Top 10

แต่ถ้าคุณผุกเงื่อนไม่ถูกวิธีหรือผูกด้วยความรีบร้อนจนเกินไปก็จะได้เงื่อนที่มีประสิทธิภาพไม่เต็ม 100% เงื่อนที่มีประสิทธิภาพเต็มร้อยนั้นจะต้องผูกไม่ให้สายบิดไขว้ทับกัน ค่อยๆดึงห่วงรูดเข้ามาอย่างช้าๆ ใช้น้ำแตะสายเพื่อลดแรงเสียดสีแล้วจึงดึงเงื่อนให้แน่น และรูปข้างล่างที่เห็นนั้นเป็นรูปเงื่อน 3 ชนิดที่นักกีฬาตกปลาทุกคนจะต้องผูกให้เป็นและด้วยความชำนิชำนาญ

10. หลังผูกเงื่อนเสร็จแล้วจะต้องตัดปลายสายส่วนที่เหลือทิ้ง

จะต้องเหลือปลายสายทิ้งไว้ประมาณ อีกเล็กน้อย เพราะถ้าหากเงื่อนเกิดรูดมันจะได้ไม่รูดหลุดออกมาหมดเลย

11. สายที่ไม่ใช้แล้วอย่าโยนทิ้งบนพื้นให้ระเกะระกะ

เพราะเดี๋ยวมันจะพันแข้งพันขาจนหกล้มหกลุกคลุกคลานไปตามๆกัน หรืออาจจะหลุดเข้าไปพันกับเครื่องเรือเลยก็ได้ ควรจะทิ้งไว้ในถังขยะให้เรียบร้อยหรือไม่ก็เผาทิ้งซะก็เป็นการดีเหมือนกัน แต่ยังไงควรระวังระไวเรื่องฟืนเรื่องไฟกันเอาไว้ด้วยนะ

12. เมื่อตกปลาได้เกินกว่า 6 ตัว

ขึ้นไปทางที่ดีควรตรวจสอบสายเมน, สายหน้า ให้ดี หากมีความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยตัดทิ้ง และผูกใหม่จะเป็นวิธีป้องกันไม่ให้ปลาตัวต่อไปเกิดขาดได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้ตกปลาพวกฟันคมทุกๆ ชนิด

13. อย่าใช้ปลายเล็บจับดึงเงื่อนให้แน่น

เพราะไม่งั้นมันจะทำให้เกิดรอยตำหนิรอยแหว่งบนสายได้ ควรใช้บริเวณปลายนิ้วในจังดึงเงื่อนจะเป็นการดีที่สุด

14. นักกีฬาตกปลาบางคนก็มีความคิดแผลงๆ

ด้วยการทาน้ำมันไว้บนสาย เพื่อหวังจะให้มันวิ่งผ่านวงไกด์ไปอย่างราบลื่นที่สุด หรือบางคนก็เอาน้ำมันมาชโลมไกด์ด้วยจุดประสงค์เดียวกัน วิธีการเช่นนี้ก็อาจทำได้ถ้าสิ่งที่มาใช้ทานั้นไม่เป็นตัวทำลายทีมีอันตรายต่อสาย แต่จงจำไว้อย่างหนึ่งว่ากลิ่นแปลกปลอมที่ติดอยู่บนสายนั้น จะเป็นตัวการไล่ปลาได้ดีที่สุด

15. เมื่อทำการตกปลาอยู่ในแหล่งน้ำตื้นที่เต็มไปด้วยกองหินและตอไม้ใต้น้ำ

จะต้องหมั่นทำการตรวจหารอยครูดรอยฉลอกในระยะประมาณ 3-5 ฟุต (90-150 ซม.) จากปลายสายอยู่เสมอๆ เพราะส่วนของสายที่มีสัมผัสกับสภาพพื้นหน้าดินลักษณะเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง จะทำให้ความทนแรงดึงของสายลดน้อยลงกว่า 90% เลยที่เดียว

16. อาการตีเกลียวของสายไม่มีใครที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้

ดังนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ววิธีการคลายเกลียวที่ดีที่สุดคือ เดินลาก (หรือใช้เรือลาก) สายเปล่าไปในน้ำอย่างช้าๆ โดยพยายามปล่อยสายออกไปให้ยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้

17. เมื่อใช้ขนาดสายที่มีความทนแรงดึงต่ำกว่า 6 ปอนด์ตกปลา

ควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกับอุปกรณ์ประกอบที่จะนำมาติดกับสาย อย่างเช่น ทุ่นลอยก็ควรใช้ไส้ไก่หรือหนังยางรัดติดกับสาย ดีกว่าการใช้ขดลวดหรือผูกรัดไว้ด้วยเงื่อน

18. การตกปลาหน้าดินโดยการใช้ตะกั่วถ่วงชนิดร้อยสายนั้น

ถ้าสายยังไม่เปียกน้ำเพื่อช่วยการหล่อลื่นแล้วก็ไม่ควรปล่อยให้ตะกั่ววิ่งเลื่อนขึ้นเลื่อนลงไปตามสายอย่างเด็ดขาด เพราะรูตะกั่วคมๆจะกัดสายให้ขาดได้ง่ายๆ

19. ควรเก็บสายไว้ในทีมืดแต่ไม่อบจนเกินไป

และให้อยู่ไกลจากสารเคมีและพวกสารมีพิษทุกชนิด ซึ่งดูไปดูมาแล้วที่ที่เหมาะแก่การวางเก็บสายมากที่สุด ก็น่าจะเป็นในห้องน้ำนั่นเอง

20. ถ้าใครใช้ตะกั่วหนีบ ถ้าไม่อยากให้สายเกิดความชำรุดเสียหาย

ก็ควรใช้นิ้วหนีบตะกั่วติดกับสายให้แน่นพอ ไม่ควรใช้ฟันขบหรือคีมหนีบอย่างเด็ดขาด

21. เมื่อทำการตกปลาอยู่ในสภาพพื้นน้ำที่ใสแจ๋ว

การใช้สายลีดเดอร์เส้นเล็กๆ อาจจะช่วยเพิ่ม “ลักษณะที่เป็นธรรมชาติ” ของเหยื่อให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นถ้าคุณบรจุสายขนาด 8 ปอนด์ไว้ในสปูลรอกก็ควรใช้สายลีดเดอร์ขนาด 2-4 ปอนด์ ยาวประมาณ 2 ฟุต (60 ซม.)

22. สายชนิดเรื่องแสงมีประโยชน์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น

คือในตอนเย็นๆ ตอนค่ำและในสภาพพื้นน้ำที่ขุ่นมัว แต่ควรจำไว้อย่างหนึ่งว่าถ้าคุณสามารถมองเห็นสายได้อย่างชัดเจน พวกปลาก็สามารถมองเห็นได้เช่นเดียวกับคุณนั่นแหละ และสายที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนก็จะทำให้ปลาเกิดตื่นกลัวเมื่ออยู่ในสภาพปกติทั่วๆ ไป

23. เพื่อป้องกันไม่ให้สายขาดขณะทำการสู้กับปลา

อย่างน้อยก็ต้องแน่ใจแล้วว่าระบบเบรกที่ตั้งอยู่ในขณะนั้นไม่ได้อยู่ในระดับที่แข็งเกินไป หลักเกณฑ์ทั่วๆไปในการตั้งเบรกควรให้อยู่ในระดับครึ่งหนึ่งของความทนแรงดึงสายที่ใช้อยู่ และถ้าจะให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น ก็ควรทดสอบโดยการดึงสายผ่านไกด์ออกมาจากรอกให้ยาวพอประมาณ แล้วนำมาผูกกับวัตถุที่อยู่นิ่ง ปรับเบรกให้แน่นสุดแล้งรั้งคันเบ็ดขึ้น จากนั้นก็ คล่อยๆคลายเบรกออกที่ละน้อยๆ จนกว่าคุณสามารถเดินถอยหลังได้ในขณะที่ปลายคันอย่างโค้งงออยู่

24. อย่าเก็บม้วนสายสำรองไว้ในที่แจ้งที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดอยู่เกือบตลอดเวลา

เพราะรังสีอุล ตร้าไวโอเล็ตนั้นไม่เพียงแต่จะทำลายอายุการใช้งานของสายให้หดสั้นลงแล้ว แต่มันยังจะเป็นต้นเหตุให้สายขาดได้ง่ายๆในขณะที่คุณกำลังชักเย่ออยู่กับโทรฟี่ตัวงาม

25. โหลดสายเข้าสปูนให้เหมาะสมกับการใช้งาน

อย่างเช่น หากการตกปลาส่วนใหญ่ของน้าๆ มีพื้นที่อย่างมาก 100 เมตร ก็ไม่จำเป็นต้องโหลดสายเข้าไปเกินกว่านั้น เพราะเป็นการเปลืองโดยใช่เหตุ และสมัยนี้น้าๆ สามารถเลือกซื้อสาย 100, 150, 200 หรือมากกว่านั้นตามที่ต้องการได้ จึงควรซื้อมาเท่าที่ใช้ก็พอแล้ว แล้วให้ใช้สายเก่ามาลองสปูนแล้วจึงโหลดสายตามความยาวที่เหมาะสม

อ่าน 6 เทคนิคใช้เหยื่อผิวน้ำ ให้ได้ดีกว่าเดิม ฉบับปรับปรุง

Advertisements