ค่างที่มีวงกลมสีขาวที่ดูน่ากลัวรอบดวงตาเป็นหนึ่งใน 224 สายพันธุ์ใหม่ ที่อยู่ในรายการอัพเดทล่าสุดของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) เกี่ยวกับภูมิภาคแม่น้ำโขงที่กว้างใหญ่ ..โดยรายงานของกลุ่มอนุรักษ์ดังกล่าว เน้นถึงความจำเป็นในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และแหล่งที่อยู่อาศัยในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงเวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทยและเมียนมาร์
สายพันธุ์ที่ระบุใหม่ครั้งนี้ ถูกพบในปี 2020 แต่รายงานค่อนข้างล่าช้า โดยค่างตัวนี้ถูกเรียกว่าค่างโปปา (Popa langur) เนื่องจากมันอาศัยอยู่บนเนินเขาสูงชันของภูเขาไฟโปปา (Mt Popa volcano) ที่ดับแล้วในเมียนมาร์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใหม่เพียงชนิดเดียวที่ถูกค้นพบ
ตามรายงานค่างโปปา จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ “ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง” เนื่องจากมีพวกมันอยู่เพียง 200 – 250 ตัวในธรรมชาติ และยังพบได้เฉพาะบริเวณเนินเขาสูงชันของภูเขาไฟโปปาอีกด้วย โดยปกติค่างชนิดนี้มีน้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม
นอกจากนี้ยังมีสัตว์เลื้อยคลาน กบและนิวท์ ปลาและพืชอีก 155 สายพันธุ์ ที่ระบุว่าเป็นชนิดใหม่ รวมถึงไผ่ที่รู้จักเพียงสายพันธุ์เดียวที่พบในลาว ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นจุดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่ง ช้างเอเชีย ซาวลา ซึ่งเป็นสัตว์หายากอย่างยิ่งที่เรียกว่ายูนิคอร์นแห่งเอเชีย และสัตว์อื่นอีกหลายพันชนิด
นอกจากสัตว์แล้ว ยังพบพืชที่ชื่อบีโกเนีย (Begonia ) ชนิดใหม่ที่มีดอกสีแดงและผลคล้ายเบอร์รี่ในพื้นที่สูงของเมียนมาร์ ซึ่งการขุดและตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย จนได้กลายเป็นภัยคุกคามที่เลวร้ายต่อพวกมัน
แม้ว่ามนุษย์จะบุกรุกเข้าไปในป่าเขตร้อนและเขตป่าอื่นๆ แต่แม่น้ำโขงส่วนใหญ่ยังคงมีการสำรวจเพียงเล็กน้อย และในแต่ละปีจะพบสายพันธุ์ใหม่หลายสิบชนิด ซึ่งเป็นความหวังที่ริบหรี่เมื่อสัตว์และพืชหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไป