5 เรื่องน่ารู้ ของเหยื่อใบพัด บัสเบท สปินเนอร์เบท สแลชเบท

ปกติผมเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบใช้เหยื่อที่มีใบพัด เรียกว่าไม่ศรัทธาในเหยื่อปลอมประเภทนี้ก็ได้ แต่เมื่อประมาณต้นปีมีโอกาสได้ขึ้นเหนือแล้วไปตกชะโดที่เขื่อนภูมิพล ก่อนไปก็ได้ข้อมูลมาว่าที่ภูมิพล ปลาชะโด มันกัดแต่ผิวน้ำและต้องใบพัด เสียงดังแถมวิ่งเร็วด้วย!

ตกชะโด

ปกติผมเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบใช้เหยื่อที่มีใบพัด เรียกว่าไม่ศรัทธาในเหยื่อปลอมประเภทนี้ก็ได้ แต่เมื่อประมาณต้นปีมีโอกาสได้ขึ้นเหนือแล้วไปตกชะโดที่เขื่อนภูมิพล ก่อนไปก็ได้ข้อมูลมาว่าที่ภูมิพล ปลาชะโด มันกัดแต่ผิวน้ำและต้องใบพัด เสียงดังแถมวิ่งเร็วด้วย!

พอมาคิดจากข้อมูลที่ได้ คือมันตรงข้ามกับนิสัยการตกปลาของผมเลย ผมของพวกเหยื่อปลั๊ก บิกเบท เหยื่อช้าๆ โดยเฉพาะเหยื่อจมเนียผมชอบ …แน่นอนผมอยากลองของ!! จัดปลั๊ก เหยื่อดำน้ำไป พอไปถึงตีเหยื่อที่คิดไว้ ตีๆๆ มันจนลิ้นห้อย ก็ไม่ได้ตัว ที่ตีได้นานเพราะไม่กดดันเท่าไร คู่ตกปลาเรานั่งจิบชาเมาไม่ยอมตกจนจบหมดวันไป

มาวันที่สอง หลังถูกจับไปปรับทัศนคติเมื่อคืน ก็เปลี่ยนมาเล่นเหยื่อใบพัดบ้าง อะไรก็ได้ปั่นแรงๆ ขึ้นน้ำไวๆ เนียล่ะ มีตัวเป็นตูม.!! ภูมิพล ชะโด กระสูบ ค่อนข้างใหญ่เลย

 

1. หัวใจของเหยื่อใบพัดก็ต้องเป็น “ใบพัด”

Advertisements

จริงๆ เหยื่อใบพัดมีหลายประเภทมาก ทั้ง Buzz Bait, Spinner Bait, Slash Bait และอื่นๆ อีกมากมาย โดยเจ้าเหยื่อทั้ง 3 ที่จะถูกถึงหัวใจของมันคือตัวใบพัดเนียล่ะ ถ้าเป็นเหยื่อ Buzz Bait, Slash Bait ที่มีใบพัดแบบกังหันขนาดใหญ่ยิ่งสำคัญ

แล้วน้าๆ คิดว่าเหยื่อพวกนี่อะไรจะพังก่อน..? ไอ้ความเข้าใจแรกของผมคิดว่า ตัวเบ็ดเนียล่ะพังแน่ แต่ความจริงกลับเป็นตัวใบพัดที่พังซะก่อน (ถ้าเป็นใบแบบ Spinner Bait ไม่พังง่ายๆ นะ) ถ้าบิดผิดรูปเล็กน้อยก็พอจะดัดกลับไปได้ แต่ถ้าหนักหน่อยจังหวะใบพัดจะเสีย

ใบพัดคือหัวใจสำคัญของเหยื่อประเภทนี้ ถ้าเอาข้อมูลเชิงลึกผมไม่มีให้นะ แต่พอจะบอกได้นิดหน่อย ถ้ามีข้อผิดพลาดบอกหน่อยนะ จะได้แก้ไขครับ

ใบพัดอลูมิเนียม
ใบพัดที่ใช้วัสดุอย่างอลูมิเนียม จะสร้างเสียงที่ทืบๆ ไม่กังวาล ไม่ว่าจะตีน้ำ หรือตีลูกปัด แล้วใบพัดจะหนากว่าอลูมิเนียม นอกจากนี้ยังดัดงอง่าย แตกหักง่ายกว่าอีกด้วย

ใบพัดสแตนเลส
ใบพัดชนิดนี้ จะสร้างเสียงที่กังวาล เสียงที่ใสกว่าแบบอลูมิเนียม ใบจะบางกว่า แข็งแรงกว่า แตกหักยากกว่า ดัดงอยากกว่าอลูมิเนียมนิดหน่อย

ใบพัดเหยื่อ
เทียบกันให้เห็น ใบบนเป็นสแตนเลสแท้ๆ เพียวๆ อีกใบเป็นอลูมิเนียมเพียวๆ เช่นกัน จะเห็นว่าใบล่างหนากว่าอย่างเห็นได้ชัด

เกี่ยวกับเสียงของทั้ง 2 แบบ บอกเลยว่าไม่สามารถบอกได้ว่าปลาชอบแบบไหนมากกว่า อยู่ที่คนเอาใช้แล้วชอบแบบไหนกว่ากัน นอกจากนี่ยังมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดเสียงอื่นๆ เช่น เอาใบไปเคาะหรือตีกับอะไร..? บางเจ้าเคาะกับลูกปัดพลาสติก เหล็ก หรือเคาะกับใบอลูมิเนียมเล็กๆ แม้แต่เคาะกับลูกปัดหินยังมี อะไรดีกว่ากันคงต้องให้ปลาตัดสิน 555+

2. ส่วนเชื่อมต่อระหว่างเหยื่อกับสาย (ห่วง)

มันคือส่วนที่วงเอาไว้นั้นล่ะ ตัวซ้ายสีขาวเป็นของค่าย “กบสกล” อีกตัวต้องขออภัยผมจำชื่อไม่ได้จริงๆ ซื้อมานานล่ะ ส่วนนี้หลายคนมองข้ามกัน และผู้ผลิตส่วนใหญ่ชอบทำมาแบบตัวขวา ปัญหาที่เกิดคือทำให้เหยื่อแข็งแรงน้อยลง เมื่อตีมีโอกาสผิดพลาด เพราะมีโอกาสที่จุดต่อสายขยับไปอยู่ตำแหน่งอื่น ยิ่งตอนอัดปลายิ่งแย่ใหญ่

เหยื่อใบพัด ส่วนใหญ่แก้ปัญหาด้วยการเอาเชือกมามัด ไม่ก็ยางใส่เข้าไป ซึ่งก็แก้ปัญหาไปได้บ้าง สังเกตุลูกปัด กับใบเล็กๆ นี่ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้สร้างเสียง ส่วนใหญ่เป็นพลาสติก เคลือบอะไรสักอย่างทำให้เงาและเสียงดีขึ้นอีกหน่อย

3. เกี่ยวกับบอดี้เหยื่อ

บอดี้ของเหยื่อ Buzz Bait, Spinner Bait, Slash Bait มีทั้งใช้พลาสติก เรซิน ตะกั่ว หรืออาจมีวัสดุพิศดารกว่าก็มี แต่ส่วนใหญ่จะเป็น ตะกั่ว เรซิน ไม้

เหยื่อตกชะโด

Buzz Bait, Spinner Bait ในรูปแบบปกติใช้ “ตะกั่ว” ทำบอดี้ นั้นเพราะบอดี้ของ บัทเบท สปินเนอร์เบท จะเป็นส่วนที่จมน้ำ ใบพัดจะอยู่ผิวน้ำ ส่วนสแลชเบท แต่ละค่ายจะต่างกัน แต่หลักๆ ของสแลชเบท บอดี้จะอยู่ระดับเดียวกับใบพัดหรืออาจจมลงเล็กน้อย

ความทนทานของบอดี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญของเหยื่อประเภทนี้ ถึงแม้มันจะมีโอกาสที่จะพังน้อยกว่าใบพัดก็ตาม ถ้าให้บอกความทนจากมากไปน้อย ก็คือ ตะกั่ว > ไม้ > เรซิน ..ยิ่งในกรณีที่เรซินแบบกลวงกลางมีโอกาสสูงที่ปลาจะกัดเหยื่อแตกกว่าเพื่อน

ขอเอาตัวอย่างเป็น สแลชเบท (Slash Bait) ของ “กบสกล” นะครับ สิ่งที่ต้องคิดถึงนอกจากใบพัดหรือตัวเหยื่อเป็นไง ยังมีเรื่อง เหยื่อขึ้นน้ำไว หรือเปล่า เพราะปกติแล้วเหยื่อพวกนี้ถ้าตีไป เหยื่อจะจม แต่มันจะทำงานเมื่อเหยื่ออยู่ผิวน้ำและวิ่งอยู่เท่านั้น

กบสกล 2 ใบพัด จากภาพสแลชเบท รุ่นนี้ใช้บอดี้เป็นไม้ จากประสบการณ์ทำเหยื่อไม้ของผม (แมวบ้าตกปลา) ข้อได้เปรียบของไม้คือ การลอยตัว ความทนทานกว่า มันจะไม่เสียศูนย์หรือแตกง่ายๆ แม้จะถูกกัดอย่างรุนแรง จนทะลุ แน่นอนว่าการลอยตัวที่ดีและเป็นธรรมชาติกว่าแบบเรซิน สแลชเบท ตัวนี้จึงขึ้นน้ำตัวได้เร็วมาก ดูคลิปรีวิวก่อนนะครับ

แล้วบอดี้เรซินมันไม่ดียังไง..? ตรงนี้ผมว่าแต่ล่ะค่ายคงต่างกัน ไม่ขอพูดถึงลอยตัวดีไม่ดี แต่ในฐานนะที่ผมเป็นคนทำเหยื่อไม้ขาย อย่างเหยื่อ Bigbait ที่ชื่อ SnowShoe95 ผมเข้าใจถึงความพยายามที่จะสร้างเหยื่อไม้ขึ้นมาแต่ล่ะครับ แม้จะใช้ CNC ถ้าลองเป็นไม้ มันก็ยังยากกว่าอยู่ดี และยิ่งยากเมื่อต้องรักษามาตรฐานให้ดีทุกตัว แต่ไม่ใช่ว่าผมไม่ลองเทียบกับแบนด์อื่นแล้วเอามาพูดนะ ต้องบอกว่าบอดี้ไม้ของตัวนี้ขึ้นน้ำเร็วจริงๆ แต่ไม่ขอบอกว่าเทียบกับค่ายไหน เดี๋ยวโดนด่า 555+

4. ลวดเปรียบเสมือนกระตูกสันหลังของเหยื่อ

Advertisements

ไม่ว่าจะเป็น Buzz Bait, Spinner Bait หรือ Slash Bait ก็ต้องใช้ลวดเป็นจำนวนมาก โดยวัสดุดีที่สุดคือ ลวดสแตนเลสแบบแข็งและสปริงด้วย เหยื่อญีปุ่นมักใช้ 1-1.2mm ส่วนเหยื่อไทยชอบใช้ใหญ่กว่า 1.2-1.5 ถ้ามากกว่านี้ไม่ค่อยเห็นเหมือนกัน ..แต่ไม่ว่าลวดจะใหญ่แค่ไหนก็พังได้ ชอบไปพังในสวิงตักปลา

5. ฟู่ที่เหยื่อมีไว้ทำไม..?

บางทีก็สงสัยนะ จำเป็นต้องมีหรือเปล่า..? แน่นอนว่าต้องมี เพราะต้องตกคนให้ได้ก่อน ไม่งั้นคงตกปลาไม่ได้ ตัวผมเคยไปตกปลากับไต๋บางคน เข้าก็บอกไม่เห็นต้องมี ว่าแล้วก็ดึงออกจนหมด แล้วก็ตี ปลาก็กัดอ่ะนะ เท่าที่ลองๆ มีพอจะสรุปได้ว่า มีไม่มีก็กัด แต่มากหรือน้อยไม่สามารถสรุปได้

• ตีไกลกว่า : แน่นอนไม่มีฟู่ตีไกลแถมจะแม่นกว่าด้วย เพราะมีฟู่มันก็ต้านลม
• ปลากิน : เคยใช้ตั้งแต่เหยื่อมีฟู่ ปลากัดฟูกระจายหายหมด มันก็ยังกัดอยู่เหมือนกัน

สำหรับผมไม่ค่อยรู้สึกอะไรกับการมีหรือไม่มีของฟู่ แต่ถ้าให้เลือกซื้อก็ต้องมีฟู่ แต่ขนาดตีจนขนหลุดฟู่กระจายหมดจนเห็นแค่ตะกั่วมันยังกัดเลย มันกัดเพราะเสียงแรงสั่นสะเทือนฟองน้ำมากกว่า การที่จะมีฟู่หรือไม่มี

สำหรับเรื่องนี้คงต้องขอลาไปก่อน มันก็เป็นเรื่องพื้นๆ ที่อาจช่วยเพิ่มความเข้าใจได้อีกเล็กน้อย ผิดพลาดตรงไหนบอกกันได้เลย จะได้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไปครับ

Advertisements