งูกะปะ นักเลงสวนยาง

เมื่อไม่ไม่นานมานี่มีข่าวเกี่ยวกับนักตกปลา ที่เกือบจะต้องตัดขาเพราะถูกงูกะปะกัด ผมก็เลยเกิดความสนใจหาข้อมูลดู ก็ได้เห็นคำนึงว่ามันเป็นงูพิษที่อันตรายต่อคนไทยมากที่สุด ก็เลยสงสัยเป็นเพราะอะไรหว่า..? เท่าที่ดูคงเพราะมันเป็นงูที่ปรับตัวได้เก่งมาก กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ดีเยี่ยม แถมบางทีก็อยู่ไม่ไกลคน เลยทำให้คนโดนงูชนิดนี้กัดบ่อยล่ะมั่ง

งูกะปะ (Malayan pit viper) เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงมากมีผลต่อ “ระบบเลือด” จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Calloselasma โดยไม่มีชนิดย่อย ที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae)

ลักษณะของงูกะปะ

Advertisements

ลักษณะหัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว มีสีเทาอมชมพูลายสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดมีขนาดใหญ่ จะงอยปากงอนขึ้นข้างบน หากินเวลาพลบค่ำและกลางคืน โดยเฉพาะในเวลาที่มีความชื้นในอากาศสูง เช่น หลังฝนตก

ชอบอาศัยในดินปนทรายที่มีใบไม้หรือเศษซากไม้ทับถมกันเพื่อซ่อนตัว ด้วยสีสันและลวดลายจึงทำให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม

งูกะปะ

เป็นงูที่ไม่ปราดเปรียว เวลาตกใจจะงอตัวหรือขดนิ่ง แต่ฉกกัดรวดเร็วมาก กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, นก หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร ออกไข่ครั้งละ 10–20 ฟอง สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูกาล ในตัวที่มีสีคล้ำเรียกว่า “งูปะบุก”

สถานที่พบ

สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แต่จะพบมากที่สุดในภาคใต้ เป็นงูที่ปรับตัวได้ดีมาก จนสามารถอาศัยอยู่ที่ๆ มีการทำเกษตรกรรมได้ เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน จึงมักจะมีผู้ถูกกัดอยู่บ่อยๆ “นับเป็นงูพิษที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดที่พบในประเทศไทย”

พิษของงูกะปะ

พิษของงูกะปะนั้นมีผลต่อระบบเลือด ทำให้เลือดออกมากผิดปกติ เมื่อถูกกัดภายใน 10 นาที บริเวณรอบแผลที่ถูกกัดจะบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง โดยในรอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา

บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพอง ตอนแรกมีน้ำใส ต่อมาภายหลังมีเลือด ภายหลังถูกกัดไม่กี่วัน รอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า ทำให้ผิวหนังมีเลือดออกเป็นรอยคล้ำ เลือดออกทางเดินอาหาร ผู้ที่โดนกัดจะเสียชีวิตได้จากความดันโลหิตต่ำ ซึ่งเกิดจากการเสียเลือด

โดยคำว่า “กะปะ” เป็นภาษาใต้ แปลว่า “ปากเหม็น” ซึ่งหมายถึง แผลของผู้ที่ถูกกัดจะเน่าเหม็น จัดเป็น 1 ใน 7 งูพิษที่มีความสำคัญต่อวงการแพทย์และพิษวิทยา

การดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยโดนงูพิษกัด

Advertisements
  1. หลังจากถูกงูกัดให้หลีกให้พ้นตัวงูโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการถูกกัดซ้ำ ระยะที่ปลอดภัยประมาณระยะทางยาวเท่ากับตัวงู
  2. อย่าตกใจกลัว ดิ้นรน โวยวาย เพราะจะทำให้อาการจากพิษของงูรุนแรงและรวดเร็วขึ้นไปอีก
  3. ถอดเครื่องตกแต่งบริเวณที่ถูกกัด เช่น แหวน
  4. หากมีเลือดออกให้ปล่อยให้เลือดออก เพื่อให้พิษออกให้มากที่สุด
  5. พยายามให้บริเวณที่ถูกงูกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
  6. ล้างแผลด้วยนํ้าสะอาดเท่านั้น
    – ห้ามกรีดแผล, ใช้ไฟจี้, ใส่ยา,พอกยา หรือพอกน้ำแข็งที่แผลเป็นอันขาดเพราะจะทำให้แผลหายช้าและติดเชื้อแบคทีเรีย
  7. อย่าให้ผู้ป่วยดื่มสุรา หรือยาที่มีสุราเจือปนอยู่
  8. อย่าให้ยาระงับประสาท, ยาที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท ยาแก้ปวดจำพวก morphine และยาแก้ปวดพวก aspirin เพราะจะไปเสริมฤทธิ์กับพิษงู hemotoxin
  9. เคลื่อนไหวผู้ป่วยให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ควรจะให้นอนพักและรีบหามผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลไม่ควรนั่งเพราะจะทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะ หากผู้ป่วยอยู่นิ่งพิษจะดูดซึมช้า เนื่องจากพิษจะถูกดูดซึมผ่านทางระบบน้ำเหลือง
  10. จัดตำแหน่งอวัยวะส่วนที่ถูกงูกัดอยู่ในระดับต่ำกว่าหัวใจ
  11. ให้นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลก่อนที่จะพบตัวงู หากไม่พบต้องจำสี ลักษณะพิเศษของงู ถ้าเป็นไปได้ ญาติควรพยายามหางูตัวนั้นให้พบ โดยตีที่คอแล้วนำซากงูไปโรงพยาบาล
    ที่มา : siamhealth.net
“กระทรวงสาธารณสุข เผยคนไทยถูกงูพิษกัดปีละ 7,000-10,000 คน เตือนประชาชนยังมีความเข้าใจผิดวิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด ห้ามกรีดแผล ดูดพิษจากแผล พอกยา อาจทำให้แผลติดเชื้อ ห้ามขันชะเนาะเพิ่มความเสี่ยงเกิดเนื้อเน่าตาย”
Advertisements
แหล่งที่มาWIKI