หนอนที่ดูธรรมดาๆ ตัวนี้มันมีชื่อว่า “Zophobas morio” หรือชื่อสามัญก็คือซุปเปอร์เวิร์ม (Superworm) ความจริงหนอนชนิดนี้ไม่ได้หายากอะไร มันเป็นหนอนที่ใช้ในอุตสาหกรรม สัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะกับสัตว์เลื้อยคลาน ในฐานนะอาหารที่ยอดเยี่ยม จัดเป็นหนอนตัวค่อนข้างใหญ่ มันยาวได้ถึง 1.7-2.25 นิ้ว
แล้วผลการศึกษาของนักวิจัยก็พบว่า ซุปเปอร์เวิร์มที่ได้รับอาหารที่ทำจากโพลีสไตรีนล้วนๆ นั้น จะทำให้พวกมันมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกมันอาจมีความสุขอย่างยิ่งกับการเอาชีวิตรอดจากโฟมที่มนุษย์สร้างขึ้นนี้
Dr Chris Rinke หัวหน้าทีมวิจัยจาก School of Chemistry and Molecular Biosciences แห่ง UQ กล่าวว่า “เราไม่รู้ว่าซุปเปอร์เวิร์มจะกินและทำลายพลาสติกได้หรือไม่ แต่เราหวังว่าพวกมันจะทำได้”
ในทางเทคนิคแล้ว “ซุปเปอร์เวิร์ม” ไม่ใช่หนอน แต่เป็นตัวอ่อนของด้วงดำ (Darkling beetle) และเพราะตัวอ่อนของด้วงดำมีขนาดใหญ่กว่าตัวอ่อนของแมลงในตระกูลเดียวกัน มันจึงได้ชื่อว่าซุปเปอร์เวิร์ม และเพราะมันตัวใหญ่เราจึงหวังว่าพวกมันจะกินพลาสติกได้มากเช่นกัน
เพื่อให้เข้าใจถึงความสามารถในการเคี้ยวโฟม – พลาสติกของพวกมันมากยิ่งขึ้น นักวิจัยได้จัดลำดับ DNA ของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของซุปเปอร์เวิร์ม และศึกษาเพื่อระบุยีนของแบคทีเรียที่กำหนดรหัสสำหรับเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติก
นักวิจัยกล่าวว่า หากเราเข้าใจเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติกในตัวหนอน เราอาจจะนำไปใช้ได้ และหากเข้ารหัสเอนไซม์ย่อยสลายพลาสติกที่คล้ายคลึงกันในจีโนมของพวกมัน เราก็อาจสร้างสิ่งนี้มาเพื่อย่อยสลายพลาสติกโดยเฉพาะได้
แม้ในตอนนี้จะไม่ชัดเจนว่าความฝันนี้จะเป็นจริงหรือไม่และเมื่อใด แต่เป็นการดีที่รู้ว่าเรามีตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่กินและย่อยสลายพลาสติกได้อยู่ใกล้ตัว และสุดท้ายจะช่วยให้ฝ่ายชนะสงครามกับพลาสติก