พบเต่าทะเลอย่างน้อย 300 ตัว จมน้ำตายที่ชายฝั่งเม็กซิโก

เต่าทะเลอย่างน้อย 300 ตัวถูกคลื่นซัดลอยตายที่ชายฝั่งแปซิฟิกของเม็กซิโก จากการสอบเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าเป็นเต่าหญ้าแปซิฟิก (Lepidochelys olivacea) คาดว่าจมน้ำตายเนื่องจากติดอวนจับปลาที่ผิดกฎหมาย

เต่าทะเล

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า เต่าพวกนี้อาจจะพันกันในอวนจับปลาที่ผิดกฎหมายในทะเลเปิด หรือในแหร้างที่รู้จักกันในชื่อ “อวนผี” ทั้งนี้เต่าหญ้าแปซิฟิก ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงโดย International Union for the Conservation of Nature (IUCN)

IUCN กล่าวว่าประชากรของพวกมันกำลังลดลง และถูกระบุว่ามีความเสี่ยงเนื่องจากพวกมันทำรังอยู่ในสถานที่เพียงไม่กี่แห่งในโลกเท่านั้น และเต่าเหล่านี้ถูกพบเกยตื้นบนชายหาด Morro Ayuta ในโออาซากา บนชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก ชายหาดแห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่ๆ มีเต่าหญ้าแปซิฟิกมาวางไข่

“เต่าที่ตายแล้วทั้งหมดเป็นเพศเมีย ผู้เชี่ยวชาญด้านเต่า Ernesto Albavera Padilla กล่าวกับสื่อท้องถิ่น” นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพบเต่าจำนวนมากในโออาซากา ก่อนหน้านี้ในปี 2018 ชาวประมงพบพวกมันกว่า 300 ตัว ที่เข้าไปติดกับอวนจับปลาของพวกเขา โดยเม็กซิโกสั่งห้ามการจับเต่าทะเลมาตั้งแต่ปี 1990 และมีบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับผู้ที่ฆ่าเต่าทะเล

เต่าหญ้า หรือ เต่าสังกะสี เต่าหญ้าแปซิฟิก หรือ เต่ามะกอกริดลีย์ (Olive ridley sea turtle, Pacific ridley) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidochelys olivacea พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในมหาสมุทรแอตแลนติกพบน้อยมาก กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง, ปลา, แมงกะพรุน, ปู, หอย, สาหร่ายทะเลและหญ้าทะเล

เต่าหญ้าแปซิฟิกเป็นเต่าทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาล เกล็ดบนกระดองมีลักษณะซ้อนกันเหมือนสังกะสีมุงหลังคา อันเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่ง (เต่ามะกอกริดลีย์) ส่วนท้องมีสีเหลืองออกขาว หัวค่อนข้างโต ดวงตาปูนโปนออกมา กระดองมีความแข็งมาก ริมฝีปากสั้นทู่และคมแข็งแรงมากเพื่อใช้สำหรับขบกัดกินสัตว์มีกระดองซึ่งเป็นอาหารหลัก ส่วนของกระดองและท้องเชื่อมต่อกัน เป็นเต่าทะเลที่ว่ายน้ำได้เร็วมาก โดยอาจว่ายได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง

ในน่านน้ำไทยจะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยจะพบได้น้อยกว่า จัดเป็นเต่าทะเลอีกชนิดหนึ่งที่พบได้น้อบมากในน่านน้ำไทย โดยการวางไข่มีรายงานว่าพบที่ฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements