เต่าจักร ‘เต่ากระดองสวย’ หายากที่พบในภาคใต้ของไทย

ความจริงเต่าจักรจัดเป็นเต่า "ใกล้สูญพันธุ์" ของโลกไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าจะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว ซึ่งในต่างประเทศนิยมเลี้ยงกัน แต่ในบ้านเราผมเองก็ไม่แน่ใจว่าเลี้ยงได้หรือเปล่า? แต่เอาเป็นว่าตามกฎการอนุรักษ์ จะนับเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติเท่านั้น หากให้ยกตัวอย่างจระเข้น้ำจืดไทย มีในฟาร์มเป็นหมื่นเป็นแสนตัว แต่มันยังนับว่าใกล้สูญพันธุ์อยู่ดีเพราะแทบไม่มีในธรรมชาติเลย ส่วนเรื่องนี้เรามารู้จัก "เต่าจักร" กันดีกว่า

เต่าจักร

“เต่าจักร หรือ เต่าหนาม (Spiny turtle, Spiny terrapin) ชื่อวิทยาศาสตร์ Heosemys spinosa เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) ที่ “ใกล้สูญพันธุ์” เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติและคุ้มครองสัตว์ป่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 (บางข้อมูลเขียน พ.ศ.2562 อาจเป็นการอัพเดท)”

เต่าจักร มีสันหนาเป็นเส้นกลางแผ่นเกล็ดสันหลังทุกแผ่น และมีตุ่มหลายตุ่มบนแผ่นเกล็ดชายโครงแต่ละแผ่น เมื่อยังเป็นเต่าวัยอ่อนจะมีแผ่นเกล็ดขอบกระดองแต่ละชิ้นคล้ายหนามแหลม 1 หนามคล้ายจักร อันเป็นที่มาของชื่อ ยกเว้นแผ่นเกล็ดขอบกระดอง ที่ 4 ที่ 5 จะมี 2 หนาม

หนามที่ปรากฏในลูกเต่าจะค่อยๆ หายไปเมื่อโตขึ้น (จนเกือบเป็นเต่าธรรมดา) ขาหน้าไม่มีผังพืด กระดองหลังสีน้ำตาลแดง กระดองท้องและด้านข้างแผ่นเกล็ดขอบกระดองออกสีเหลืองหรือสีส้ม และมีเส้นลายสีน้ำตาลดำ ขาสีน้ำตาลดำเกล็ดลำตัวออกสีชมพูอ่อน ผิวสีน้ำตาลเทา ส่วนหัวสีน้ำตาล

เต่าจักร

เป็นเต่าที่พบกระจายพันธุ์ในที่ชุ่มชื้นของป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป ในประเทศไทยจะพบได้ที่ภาคใต้เท่านั้น (ในธรรมชาติ) เช่นจังหวัด ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, สุราษฎร์ธานี และประเทศ พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน จนถึงฟิลิปปินส์

เต่าชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่บนบกมากกว่าอยู่ในน้ำ แต่ก็ต้องการพื้นที่ๆ มีความชุ่มชื้นและอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็น ปกติพบได้ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร อาหารของเต่าจักรคือ พืช ผลไม้ ลูกไม้และซากสัตว์ เป็นเต่าที่มีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 6.5 กิโลกรัม

Advertisements

ปัจจุบันมีการขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว (เคยเห็นประกาศขายในเว็บไซต์ไทย แต่ไม่แน่ใจว่าผิดกฎหมายหรือไม่) เป็นเต่าที่สวยงามและยังหายากมากในธรรมชาติ ..ถ้าต้องการเลี้ยงขอให้ศึกษาข้อมูลทางกฎหมายกันก่อน เพราะยังไงก็เป็น “สัตว์ป่าคุ้มครอง” ของประเทศไทย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช