สะพานอดัม ที่ถูกทำลายตามกาลเวลา

จากการศึกษาเราจะเห็นว่าศรีลังกาที่สวยงาม ถูกแยกออกจากอินเดียด้วยช่องแคบโพลค์ (Palk Straits) ที่ค่อนข้างกว้าง แต่ช่องแคบแห่งนี้เคยมีสะพานในตำนานที่เรียกว่า สะพานอดัม หรือ สะพานพระราม ซึ่งถูกกล่าวถึงในมหากาพย์รามายณะ

สะพานอดัมคืออะไร?

Advertisements

สะพานอดัม (Adam’s Bridge) หรือ รามเสตุ (สะพานพระราม) เป็นสายของสันดอนหินปูน ที่เชื่อมต่อระหว่างเกาะปัมบันหรือเกาะราเมศวร ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย กับ เกาะมันนาร์ บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศศรีลังกา หลักฐานทางธรณีวิทยาเสนอว่าในอดีตเคยเป็นแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างดินแดนของอินเดียกับศรีลังกา

สันดอนแหล่งนี้ มีความยาว 48 กิโลเมตร และแยกอ่าวมันนาร์ (ตะวันตกเฉียงใต้) ออกจากช่องแคบปัล์ก (ตะวันออกเฉียงเหนือ) บางส่วนอยู่เหนือน้ำ บางส่วนอยู่ใต้น้ำ ตามตำนานของราเมศวรมนเทียรระบุว่า สะพานอาดัมอยู่เหนือน้ำมาตลอดจนกระทั่งไซโคลนเข้าถล่มในปี ค.ศ. 1480

เคยมีภาพถ่ายจากกระสวยอวกาศของ NASA บันทึกภาพสะพานเก่าแก่ที่ถูกกล่าวถึงในมหากาพย์ “รามายณะ” นิทานของอินเดียที่เล่าสืบต่อกันมายาวนาน .. โดยสะพานแห่งนี้ปัจจุบันถูกเรียกว่าสะพานอาดัม (Adam’s Bridge)

นักโบราณคดีเชื่อว่าสะพานสร้างโดยมนุษย์?

จากการวิเคราะห์ของนักโบราณคดีเชื่อว่าสะพานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 1,750,000 ปีก่อน ซึ่งอาจเป็นหลักฐานว่ามนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น และเมื่อดูจากความโค้งและลักษณะเฉพาะของสะพาน ทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่าสะพานแห่งนี้สร้างโดยฝีมือของมนุษย์ไม่ใช่จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับตำนานเรื่องรามายณะ ที่มีการสร้างถนนเพื่อให้กองทัพของพระรามข้ามไปรบในกรุงลงกาเมื่อราว 1,700,000 ปีก่อนอีกด้วย

รามายณะฉบับทมิฬได้พูดถึง “รามเสตุ” (สะพานของพระราม) เป็นสะพานที่พระรามให้พลลิงสร้างขึ้นเพื่อยกพลไปสู่ลงกาของทศกัณฐ์ ซึ่งกรุงลงกาก็อาจหมายถึงศรีลังกาในปัจจุบัน

Advertisements

ปัจจุบันเส้นทางประวัติศาสตร์เป็นปัญหาที่เลวร้ายสำหรับนักเดินเรือ บีบให้พวกเขาต้องเดินทางไกลขึ้นถึง 400 กิโลเมตร ทำให้ต้องเสียเวลาไปเป็นวัน พวกเขาพยายามที่จะขยายช่องแคบให้ลึกขึ้น แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากพลเมืองที่เคร่งศาสนาและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements