ทะเลสาบวิกตอเรีย มีขนาดประมาณ 70,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับผู้คนหลายล้านคน ตั้งอยู่คร่อมสามประเทศในแอฟริกาตะวันออก ได้แก่ เคนยา แทนซาเนีย และยูกันดา และยังเป็นต้นกำเนิดที่สำคัญของแม่น้ำไนล์ เป็นที่ตั้งของเกาะต่างๆ มากกว่า 80 เกาะ
สภาพอากาศที่ไม่แน่นอนของทะเลสาบแห่งนี้ ประกอบกับการสื่อสารที่ไม่ดี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากทะเลสาบแห่งนี้ประมาณ 5,000 คนต่อปี แต่ทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ใช่อันตรายที่แท้จริงของทะเลสาบวิกตอเรีย
สัตว์ร้ายแห่งทะเลสาบวิกตอเรีย
มีคนไม่มากนักที่รู้ว่า ทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้าย แต่มันไม่ใช่นักล่าตัวใหญ่อย่างที่ใครๆ คิด จริงๆ มันคือหอยทากชนิดหนึ่ง มันเป็นหอยตัวเล็กๆ ที่เป็นโฮสต์ของ Schistosomiasis หรือที่เรียกว่าบิลฮาร์เซีย bilharzia ซึ่งทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งที่ทะเลสาบวิกตอเรียเป็นผู้คนเป็นโรคชนิดนี้มากที่สุด
โรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis) เป็นโรคปรสิตที่เกิดจากพยาธิตัวกลมขนาดเล็ก (พยาธิใบไม้) ที่จัดเป็นโรคเขตร้อนที่ถูกละเลยและมีวงจรชีวิตที่ซับซ้อนมาก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับมนุษย์และหอยทากน้ำจืดโดยตรง
ผู้คนสามารถรับพยาธิได้โดยการแช่น้ำจืดที่มีเชื้อ Schistosomiasis โดยพยาธิเล่านี้จะถูกปล่อยออกมาจากหอยทากน้ำจืด ซึ่งติดเชื้อมาแล้ว
โดยในทะเลสาบวิกตอเรียพยาธิหลักคือ Schistosoma Mansoni และเมื่อมีการคัดกรองเด็กนักเรียนในเมืองอึมวันซา ประเทศแทนซาเนีย ซึ่งอาศัยอยู่ริมทะเลสาบ ก็พบว่าเกือบร้อยละ 25 หรือมากกว่านั้น มีพยาธิตัวนี้อาศัยในตัว
โรคพยาธิใบไม้ในเลือดส่งผลให้กับคนทั่วโลกเป็นจำนวนเกือบ 210 ล้านคน และประมาณการณ์ว่าในแต่ละปีราว 12,000-200,000 คนที่เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว และประชากรรอบๆ ทะเลสาบวิกตอเรียก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคพยาธิใบไม้ในเลือด
และนี่ก็เป็นเหตุให้ทะเลสาบแห่งนี้อันตราย นี่ยังไม่รวมการตายจากเรื่องอื่น เช่นเรือจม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในทะเลสาบแห่งนี้ โดยการจมบางปีมีการตายนับพันคน อย่างในปี 1996 การจมของเรือเพียงครั้งเดียว มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 800 คน ซึ่งเป็นเรือข้ามฟากของแทนซาเนีย