มากกว่า 50 ปี ที่ราพาล่าได้ค้นคว้าทดลองในเรื่องของสีสันอยู่ตลอด และในช่วงเวลาอันยาวนานนั้นก็ได้มาซึ่งข้อสรุปที่ว่ามีอยู่เพียง 16 ชุดสีเท่านั้นที่สามารถเรียกร้องความสนใจจากปลาล่าเหยื่อได้ แต่ไม่ว่าตัวเหยื่อจะถูกระบายแต่งแต้มด้วยสีอะไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือแอ็คชั่นของเหยื่อจะต้องแสดงให้เห็นถึงสีที่แท้จริงตามที่ได้ตกแต่งเอาไว้
วิวัฒนาการสีของราพาล่า
เหยื่อที่เสียแอ็คชั่นแม้จะนำมาตกแต่งสีใหม่ให้เหมือนเดิมที่สุดอย่างไร ก็ไม่สามารถที่จะนำมาใช้งานได้ผล และเหยื่อที่มีแอ็คชั่นที่ถูกต้องจะสามารถหลอกล่อฝูงปลาล่าเหยื่อได้ตราบนานเท่านานเท่าที่สียังไม่เลือนหายไปจากตัวเหยื่อ
ลอรี่ ราพาล่า ที่อุตส่าห์นั่งแกะเกล่าท่อนไม้ออกมาเป็นเหยื่อปลอมรูปตัวปลาที่ใช้งานได้ผลสำเร็จเป็นตัวแรกเมื่อกว่า 50 ปี ก็เพราะด้วยแอ็คชั่นของเหยื่อเมื่อลากเข้ามาแล้วมีอาการเหมือนกับปลาเล็กที่กำลังว่ายดิ้นทุรนทุรายเนื่องมาจากการบาดเจ็บ ทำให้ปลาล่าเหยื่อตัวนั้นไม่ลังเลที่จะพุ่งเข้าหาเมื่อมองเห็น
และอีกเหตุผลหนึ่งก็เป็นเพราะเหยื่อปลั๊กของพาราล่าตัวแรกนั้นถูกทาส่วนหลังให้เป็นสำดำด้วยสีทาเรือ และส่วนด้านข้างลำตัวถูกหุ้มด้วยกระดาษตะกั่วสีเงินจากซองบุหรี่ ซึ่งคล้ายกับสีจริงตามธรรมชาติของเหยื่อปลา ช่วยให้เหยื่อมีแอ็คชั่นเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
นับแต่นั้นเป็นต้นมา วิวัฒนาการในเรื่องสีของเหยื่อราพาล่าจึงดำเนินมาเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ผลในทุกเวลา ทุกสภาพลมฟ้าอากาศและทุกสภาพแหล่งน้ำกับปลาล่าเหยื่อเพื่อดึงดูดสายตาและเงินในกระเป๋าของเหล่านักตกปลาแต่อย่างใดเลย
หลักการคัดเลือกใช้สีของเหยื่อราพาล่า
จากทฤษฏีของสีโดยอาศัยหลักที่ว่า “ฟ้าใสสีจ้า ฟ้าสว่างสีแจ่ม” ประกอบกับการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องปฏิกิริยาของปลาต่อการส่องทะลุผ่านพื้นน้ำของแสงอาทิตย์ ที่มีผลกระทบต่อสีที่พวกปลามองเห็น เป็นผลที่ทำเหยื่อของราพาล่ามีรหัสสีพื้นฐานอยู่ 16 ชุดสี ที่ล้วนแต่ทำให้ปลาล่าเหยื่อทั้งหลายเกิดความกระหายที่จะเข้ากัดเหยื่อ
ก่อนที่จะตีเหยื่อราพาล่าออกไปให้ตกลงยังพื้นน้ำ ทุกคนจะต้องสังเกตุดูสภาพน้ำและสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไปให้ถ้วนถี่เสียก่อน เป็นต้นว่าสภาพพื้นน้ำในขณะนั้นใสหรือขุ่น ผิวน้ำราบเรียบหรือมีคลื่น ท้องฟ้าปลอดโปล่งหรือมืดครึ้ม และคุณต้องการจากเหยื่อในระดับลึกเท่าใด เมื่อทราบถึงสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไปแล้ว ก็หันมาเปิดกล่องอุปกรณ์เพื่อคัดเลือกเหยื่อปลั๊กขึ้นมาใช้งานโดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้
• รหัสสี Silver (S) : สีขาวหลังดำหรือหลังเขียว ใช้กับวันที่มีอากาศแจ่มใสหรือสภาพพื้นน้ำใส
• รหัสสี Silver/Blue (B) : สีขาวหลังฟ้า ใช้ในงานลากเหยื่อระดับลึกในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส เพราะสีฟ้า
หรือสีน้ำทะเลนั้นจะทำให้เหยื่อกลมกลืนไปกับสีของพื้นน้ำในระดับลึก
• รหัสสี Gold (G) : สีทองหลังดำ ใช้ในวันที่อากาศมืดครึ้มหรือในสภาพพื้นน้ำที่มีแดดส่องลงไปน้อย
• รหัสสี Gold/fluorescent red (GFR) : สีทองหลังส้ม ใช้กับสภาพพื้นน้ำขุ่นมากหรือขุ่นมีโคลน
• รหัสสี Rainbow Trout (RT) : สีชมพูคาดน้ำเงินหลังดำ ออกแบบผลิตขึ้นมาเพื่อให้ใช้ตกปลาแซลมอนและปลาเทราท์ในบ้านเขาโดยเฉพาะ
• รหัสสี Crawdad (CW) : สีทองหรือสีเงินหลังน้ำตาล เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำที่มีกุ้งอาศัยอยู่ชุกชุม หรือใช้ลากเหยื่อระดับลึกในวันอากาศครึ้ม
• รหัสสี Shad (S) : สีเงินหลังดำหรือขาวหลังเขียว เป็นสีที่ใช้ได้ผลกับปลาล่าเหยื่อเกือบทุดกชนิดในวันที่มีอากศปลอดโปร่งแจ่มใส
• รหัสสี Silver/blue/Mackerel (SM) : สีฟ้าหลังดำ ตัวเงิ หลังฟ้า หรือดำ ใช้ในวันที่อากาศแจ่มใส
• รหัสสี Gold/green/Mackerel (GM) : สีทองหลังเขียว ใช้ในวันที่มีอากาศมืดครึ้ม (SM และ GM เป็นรหัสสีที่มีอยู่ในชีรีส์Magnumซึ่งใช้สำหรับตกปลาทะเลโดยเฉพาะ)
• รหัสสี Redhedad (RH) : สีขาวหัวแดง เป็นชุดสีที่ยั่วยุให้ปลาล่าเหยื่อเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวจนอยากจะเข้ามากัดเหยื่อที่เข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ๆ ได้ดีเป็นพิเศษ
เมื่อเรารู้แล้วว่าจะเลือกใช้เหยื่อรุ่นไหนสีใดในสภาพการตกปลาอย่างไร เหยื่อราพาล่าที่คัดเลือกนำมาติดอยู่ที่ปลายสายนั้นก็จะสามารถทำงานให้เป็นผลสำเร็จขึ้นมาได้ แต่บางครั้งคุณก็อาจจะพบกับความประหลาดใจที่เมื่อเผลอหยิบสีชมพูคาดดำหลังน้ำเงินขึ้นมาใช้
แล้วเพียงลากเหยื่อแค่ครั้งสองครั้งเท่านั้นก็มีปลาเข้ากัดเหยื่อหรือใช้เหยื่อสีทับแล้วสามารถตกปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่โตได้ในตอนเที่ยงวันท่ามกลางแดดแผดเปรี้ยง และก็ขอจบเพียงเท่านี้ก่อน ก็หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นแนวทางให้กับการตกปลาของน้าๆ ได้