การค้นพบใหม่ ‘ปลาช่อนกอลลัม’ ตั้งชื่อตามตัวละครลอร์ดออฟเดอะริง

เมื่อไม่นานนี้ได้มีการค้นพบปลาช่อนชนิดใหม่ที่ประเทศอินเดีย ในรัฐเกรละ ทางตอนใต้ของอินเดีย แต่มันน่าแปลกตรงรูปร่างของมันไม่เหมือนกับปลาช่อนชนิดอื่นที่เคยเจอมา ด้วยรูปร่างที่แปลกประหลาดนี้ทำให้มันได้ชื่อว่า “ปลาช่อนกอลลัม (Aenigmachanna gollum) หรือ Gollum snakehead ซึ่งตั้งตามเจ้ากอลลลัมตัวละครจากวรรณกรรมยอดฮิตตลอดกาล “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์’’ ของ เจ.อาร์.อาร์ โทคีน

ปลาช่อนกอลลัม

จริงๆ แล้วมีรายงานการค้นพบปลาชนิดนี้มาหลายปีแล้ว แต่ไม่ได้รับการยืนยันจนกระทั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่รัฐเกรละเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีโอกาสได้ศึกษามันได้

การค้นพบครั้งแรก

Advertisements

Ajeer ชาวบ้านที่หมู่บ้านโอราแกรม ในรัฐเกรละ ได้ถ่ายภาพปลาชนิดนี้แล้วลงในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเขาจับมันได้ในนาข้าว ซึ่งน้ำที่ไหลจากภูเขาน่าจะพามันลงมาด้วย เป็นภาพนี้สร้างความประหลาดใจไปทั่ว และได้รับความสนใจจาก Rajeev Raghaven ผู้เชี่ยวชาญสัตว์น้ำจากมหาวิทยาลัยรัฐเกรละ ทำให้เขาตัดสินใจลงไปสำรวจพื้นที่และตรวจดูตัวอย่างที่ยังมีชีวิต

หลังน้ำท่วมหนัก ชาวนาพบปลาช่อนที่ดูแปลกประหลาดในนาของพวกเขา

ดร. Dralf Britz หนึ่งในนักวิจัยที่ได้ศึกษามันได้กล่าวว่า “ทันทีที่เราได้เห็นมัน เรารู้ทันทีว่ามันคือปลาช่อน แต่การที่มีปลาช่อนที่อาศัยอยู่ใต้ดินนั้นเป็นอะไรที่แปลกมากๆ”

ชีวิตใต้ดินอันมืดมิด

ในปัจจุบันมีปลามากถึง 250 ชนิดที่อาศัยอยู่ใต้ดิน พวกมันยังได้ปรับตัวให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในที่มืด เช่นการขาดเม็ดสีทำให้เป็นสีเผือกหรือดวงตาที่เล็กลงไม่ก็บอดไป แต่ก็มีประสาทการรับรู้ที่ดีขึ้นมาก แต่ปลาใต้ดินพวกนี้ยังนับว่าเป็นส่วนน้อยของสายพันธุ์ปลา

“ถ้าคุณดูจำนวนของสายพันธุ์ปลาใต้ดิน พวกมันจะแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ตามนี้ 1. พวกปลาดุก 2. พวกปลาตะเพียนหรือคาร์ป พวกมันจะปรับตัวลงใต้ดินเพื่อให้หาอาหารง่ายขึ้นและหนีจากศัตรูของมัน

แต่กับปลาช่อนกอลลัมถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะมันเองไม่ได้ปรับตัวให้มีสภาพแบบปลาที่อยู่ใต้ดิน แต่กระนั้นแล้ว รูปแบบการปรับตัวเพื่ออยู่ใต้ดินก็ไม่แน่นอน หลายครั้งปลาในถ้ำก็ไม่ได้ตาบอดหรือสีเผือก – Ralf อธิบาย

เป็นไปได้ว่ามันอาจจะเพิ่งเริ่มเข้าสู่ใต้ดินเมื่อไม่นานมานี้ หรืออยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านระหว่างใต้ดินและบนดิน เป็นอีกครั้งที่เราต้องทำการค้นคว้าต่อไป

ระบบนิเวศใต้ดิน

ปลาช่อนกอลลัมนั้นมีเอกลักษณ์และรูปร่างที่โดนเด่นกว่าปลาช่อนชนิดอื่นที่พบในเอเซียและแอฟริกา ตัวของมันมีรูปร่างที่ยาวเหมือนปลาไหล มีเกล็ดแบบยาวตามลำตัว ครีบที่ท้องยาวมาก และสูญเสียความสามารถในการลอยตัวในน้ำ เป็นไปได้ว่ามันอาจจะเริ่มดัดแปลงร่างกายให้เหมาะกับการใช้ชีวิตใต้ดิน

ความแตกต่างภายนอกนี้ ยังได้รับแรงสนับสนุนจากสายพันธุ์ปลาช่อนในเอเซียและแอฟริกา โดยฝั่งเอเซียคือ Channa และ แอฟริกา Parachanna

แต่ด้วยความช่วยเหลือจาก Neelesh Dahanukar จากสถาบันศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งอินเดียในเมืองปูเน่ เราได้ทำการวิเคราะห์ในระดับโมเลกุลของสายพันธุ์ใหม่ ทำให้เราพบว่ามันต่างจากปลาช่อนในเอเซียโดยสิ้นเชิง เราจึงต้องตั้งชื่อให้มันที่เป็นสายพันธุ์ใหม่

พวกเขาเรียกว่า Aenigmachanna เพื่อให้ทราบว่าปัจจุบันเรายังรู้เกี่ยวกับมันน้อยมาก และชื่อ “กอลลัม” ก็เอามาจากกตัวละครจากวรรณกรรม “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์’’ ของ เจ.อาร์.อาร์ โทคีน เพราะมันอาศัยอยู่ใต้ดินและปรับร่างกายให้เหมาะกับการใช้ชีวิตใต้ดินและในที่มืด ..และน่าตามันก็แปลกๆ ด้วย

นี่คือปลาใต้ดินชนิดที่แปดที่พบในแหล่งน้ำใต้ดินของรัฐเกรละ ทำให้ Ralf เชื่อว่าต้องมีระบบนิเวศใต้ดินที่ซ่อนอยู่ข้างล่างที่ความลึกมากกว่า 40 เมตร ..ในจากปลาช่อนกอลลัม ในอินเดียยังพบปลาช่อนมังกรที่คล้ายกันอีกด้วย

ด้วยสภาพแวดล้อมที่ว่ามานี้ยากต่อการศึกษามาก ทำให้ Ralf และทีมงานต้องเพิ่งพาชาวบ้านในการค้นหา และบันทึกข้อมูลปลาพวกนี้ที่มักติดมาจากน้ำใต้ดินบนภูเขามาลงในไร่ของพวกเขา นอกจากนี้ในปัจจุบันการศึกษาพฤติกรรมของพวกมันยังเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากจะเจอแหล่งที่อยู่ที่แน่นอนของพวกมัน ระหว่างนี้ปลาช่อนกอลลัมก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements