ฝูงช้างเอเชียที่ใกล้สูญพันธุ์ จำเป็นต้องค้นหาอาหารในหลุมขยะมานานหลายปี พวกมันอย่างน้อย 20 ตัวได้เสียชีวิตลง หลังจากกินขยะพลาสติกเข้าไป และล่าสุดมีรายงานว่ายักษ์ใหญ่ใจดีที่ใกล้สูญพันธุ์อีก 2 ตัว ก็เสียชีวิตจากการกินเศษขยะที่มนุษย์ทิ้งเอาไว้
ตามรายงานของ Associated Press (AP) หลุมฝังกลบแหล่งนี้ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านปัลลักคาดู (Pallakkadu village) ทางภาคตะวันออกของประเทศศรีลังกา
สัตวแพทย์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AP ว่า ช้างสองตัวที่เสียชีวิตได้กลืนโพลีเอธิลีน ห่ออาหารและพลาสติกอื่นๆ เข้าไปเป็นจำนวนมาก ที่แย่ไปกว่านั้นคือไม่พบร่องรอยของอาหารที่ช้างกินตามปกติในร่างกายของพวกมันเลย
AP ระบุอีกว่า ความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้าง ทำให้ช้างต้องอพยพเข้ามาใกล้มนุษย์และหลุมฝังกลบมากขึ้น ด้วยความอดอยากของพวกมัน ช้างจึงจำเป็นต้องเข้าไปในหลุมฝังกลบเพื่อเสี่ยงโชค แต่การทำเช่นนี้ทำให้ช้างเอเชียเสี่ยงต่อการกินของที่ไม่ได้มีไว้สำหรับสิ่งมีชีวิตอย่างพวกมัน และที่แห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพลาสติกและของมีคมจำนวนมาก
แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลศรีลังกาจะมีแผนในการรีไซเคิลพลาสติกในหลุมฝังกลบแห่งนี้ และพวกเขาเองก็ติดตั้งรั้วไฟฟ้ารอบหลุม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ตั้งแต่แรก แต่เพราะรั้วไฟฟ้ารอบหลุมฝังกลบได้ถูกฟ้าผ่าจนเสียหาย และยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่ปี 2014 ประกอบกับบริเวณดังกล่าวก็ไม่ได้รีไซเคิลขยะอย่างเหมาะสมเช่นกัน
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แม้หลุมฝังกลบที่ในศรีลังกาแห่งนี้จะเลวร้ายเป็นพิเศษ แต่ก็ยังมีหลุมฝังกลบแบบเปิดอีกหลายแห่งที่เป็นเหตุให้ช้างตายจำนวนมาก เช่น เช่นหลุมหลุมฝังกลบแบบเปิดในประเทศซิมบับเว ช้างขนาด 3.5 ตันอายุประมาณ 20 ปีก็เพิ่งเสียชีวิตในปี 2020 หลังจากกินพลาสติกเข้าไป