เรียนรู้เรื่องรอกสปินนิ่งแบบง่ายๆ เพิ่มความเข้าใจก่อนออกไปตกปลา

รอกสปินนิ่ง ถือเป็นรอกยอดนิยมของนักตกปลาหลายคน ด้วยความที่มันใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องมีพื้นฐานการใช้ ซึ่งคราวนี้ได้นำวิธีการใช้อุปกรณ์สปินนิ่ง ซึ่งเริ่มตั้งแต่พื้นฐานจนถึงเรื่องที่น้าๆ อาจยังไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ

หากใครยังใช้ผิดๆ อยู่ แนะนำให้ค่อยๆ ปรับแต่งวิธีการใช้งานของตัวเอง เพื่อให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ตกปลาสนุกขึ้นด้วย

รอกสปินนิ่งกับข้อแนะนำต่างๆ ที่ควรรู้

ถ้าอยากรู้ว่ารอกสปินนิ่งมีทีเด็ดยังไงระหว่าง Stella X Saltiga  ต้องไปดูข้อเปรียบเทียบความเจ๋งได้ที่  

Stella X Saltiga กับเส้นทางสู่เบอร์หนึ่งสปินทะเล Part 1
Stella X Saltiga กับเส้นทางสู่เบอร์หนึ่งรอกทะเล Part 2
Stella X Saltiga กับเส้นทางสู่เบอร์หนึ่งรอกทะเล Part 3

Advertisements

การกรอสายเข้ารอกสปินนิ่งฉบับทำด้วยตัวเอง

ปกติแล้วเวลาซื้อสายและเราเอารอกไปด้วย มักจะขอใช้บริการให้ร้านกรอสายเข้ารอกให้ได้ ซึ่งหากร้านทำให้ ก็มักจะได้การกรอสายที่ดี เพราะมีเครื่องมือเฉพาะอยู่ (ร้านใหญ่)

แต่หากเราจะกรอสายเข้ารอกสปินนิ่งเองลองทำตามนี้ดูครับไม่ว่าจะเป็นรอกสปินนิ่งราคาถูกหรือราคาแพง รับรองได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน

1. ร้อยสายผ่านไกด์ตัวแรกเพียงตัวเดียวก็พอ (ตัวใหญ่สุดนับจากด้ามคัน)

2. เปิดหน้ารอก (พับลวดปิดหน้ารอกขึ้น) นำปลายสายมาผูกเงื่อนในแกนหลอดเก็บสาย (ใช้เงื่อนใดเงื่อนหนึ่งที่ง่ายๆ) แล้วจึงเปิดหน้ารอก (พับลวดปิดหน้ารอกโดยใช้มือพันลงหรือหมุนมือ หน้าจะปิดเอง)

3. การกรอสายเปิดหน้ารอกด้วยตนเองจำเป็นต้องใช้ที่ตั้งวางม้วนสาย และใช้สมุดหนาๆ เช่นสมุดโทรศัพท์ทับสายไว้เพื่อให้สายตึง หรืออีกวิธีคือการโยนม้วนสายลงน้ำก็ได้เช่น

4. ควรใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งมือซ้ายจับสายเบ็ดไว้ด้วย เพื่อให้สายที่กรอตึง

5. ถ้าให้ดีที่สุด หาเพื่อนหรือคนที่พอจะขอแรงช่วยได้ ใช้วิธีให้เพื่อนช่วยจับไม้ที่สอดผ่านม้วนสาย วิธีนี้จะสามารถให้คนที่ช่วยจับช่วยเพิ่มแรงฝืดได้โดยการจับชิดม้วนสาย มากน้อยตามความต้องการและไม่จำเป็นต้องใช้สมุดทับสายอีกด้วย

6. ข้อควรระวังสำหรับรอกสปินนิ่งคือ อย่ากรอสายเข้าสปูนมากจนเกินไป (กรอจนพูนสปูน) เพราะถ้ามากเกินไป เมื่อเราตีสายออกไป จะมีโอกาสสูงที่สายบางส่วนออกไปเร็วเกินไป จนเกิดการพัน ตีเกลียว หรือหลุดร่วงออกมาได้ง่ายจนน่ารำคาญหรือน้อยเกินไป

การตีสายจะเกิดการสะดุด ทำให้ตีไม่ได้ไกล และทำให้สายเกิดการชำรุดได้เร็ว ควรกรอสายให้เหลือช่องว่างถึงขอบหลอดกับสายประมาณ 1/8 นิ้ว

ข้อควรระวังในการกรอสายเข้ารอกสปินนิ่ง

1. ระวังเล็บที่จะสัมผัสกับสายเบ็ดขณะกรอ จะเป็นอันตรายต่อสาย ทำให้เกิดตำหนิเป็นจุดอ่อน

2. อย่าลืมตั้งเบรกของรอกไว้ให้แน่น หากตอนกรอ รอกร้องโดยสายไม่เข้ารอก แสดงว่าเบรกอ่อน ให้เพิ่มเบรกให้แข็งแรง การกรอสาย โดยสายไม่เข้ารอก(เบรกเบาไป) จะทำให้สายเกิดการตีเกลียว ทำให้สายเสียหายได้ง่าย

3. การให้แรงฝืดขณะกรอสาย ถ้ามากเกินไป (การกรอด้วยเครื่องมักจะเป็น) จะทำให้สายเกิดการเครียดตัวมาก ซึ่งโดยปกติเราต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่าสายเบ็ดสามารถยืดและหดตัวได้ ดังนั้นถ้าเกิดแรงฝืดมากสายจะถูกบังคับให้เกิดการหดตัว ซึ่งเรามักจะไม่รู้สึก แต่เมื่อใช้งานไปไม่นาน สายที่ออกจากรอกสปินนิ่งจะคลายตัวขยายใหญ่ขึ้น

ระดับสายที่กรอได้จะล้นหลอดเก็บสาย อาจเกิดขึ้นได้ จากกรณีที่เราต่อสู้กับปลาใหญ่นานๆ สายจะเกิดความเครียดภายในหลอดเก็บสายเช่นกันเรื่องที่เคยเกิดขึ้นกับนักตกปลาทะเลบางคนเกี่ยวกับเรื่องความเครียดของสายนี้

หลอดเก็บสายของรอกตกปลาทะเล (ทรอลลิ่ง) ระเบิดแตกออกมาเป็นเสี่ยงๆ จากรอกสปินนิ่งราคาแพง ตัวแรง กลายเป็นของเสียไปเลย แต่กับการตกปลาน้ำจืดยังไม่เคยได้ยิน

ส่วนถ้าแรงฝืดน้อยไปหรือแทบไม่มี สายก็จะเกิดการหลวมเพราะในหลอดเก็บสาย ทำให้เรากรอสายเข้าได้น้อย และทำความรำคาญในกรณีที่สายซ้อนกันอย่างไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย

การจับถืออุปกรณ์รอกสปินนิ่งที่ถูกต้อง

Advertisements


รอกสปินนิ่ง
เป็นรอกที่ออกแบบให้ตัวรอกอยู่ด้านล่างของคันเบ็ดเสมอ เคยเห็นนักตกปลาบางคนใช้อุปกรณ์สปินนิ่งโดยใช้รอกอยู่ด้านบน ซึ่งอาจเป็นความเคยชินกับการใช้รอกเบทคาสติ้งมานานนั่นเอง วิธีการเช่นนั้นไม่ถูกต้องกับจุดประสงค์ของการใช้งาน

การจับถือคันเบ็ด และรอกสปินนิ่ง จะต้องให้ขารอกอยู่ระหว่างช่วงนิ้วกลางและนิ้วนาง นักตกปลาบางคนจับตรงด้ามมือจับด้านบนแขน อันนี้ต้องขออธิบายเพิ่มเติมว่า คันเบ็ดเกือบทุกคัน จะถูกกำหนดจุดศูนย์กลาง (FALCUM) ไว้ตรงฐานใส่รอก (REEL SEAT) เสมอ

แต่จุดศูนย์กลางที่ว่านี้มิได้หมายความว่าเป็นจุดกึ่งกลางที่ทำให้คันเบ็ดไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่เป็นจุดที่ได้รับการออกแบบให้เกิดแรงในลักษณะคานดีดคานงัด ซึ่งถ้าเราผ่านไปจับที่จุดอื่นแทนจุดที่กำหนดนี้

แรงที่เกิดกระทบจะผิดเพี้ยนไปจากการออกแบบ ซึ่งอาจะเป็นผลเสียต่ออุปกรณ์ได้ ลักษณะการเสียหายนี้เขากรียกว่าใช้งานผิดลักษณะ

ตำแหน่งด้ามคันเบ็ด ขณะใช้งานบางกรณีเช่น ตีสาย กรอเก็บสายด้ามคันเบ็ดจะเป็นอิสระตามท่าทางการตี หรือการกรอสาย แต่ในขณะสู้ปลาอยู่นั้นตำแหน่งของด้ามคันเบ็ดถูกกำหนดโดยตรง ให้อยู่ในตำแหน่งให้แนบกับลำแขนของผู้ตกเสมอ

ลักษณะเช่นนี้จะเกิดการถ่ายแรงกดลง เป็นแนวยาวจากด้ามถึงลำแขนของผู้ตกโดยตลอด เป็นแรงเฉลี่ยที่ไม่เกิดอยู่กับจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ

ส่วนบางคนที่มีรูปร่างเล็กบอบบาง เช่น เด็กหรือผู้หญิง การใช้คันขนาดยาวๆ เช่น 8 ฟุต หรือ 9 ฟุต ความยาวของด้ามคนเบ็ดจะไม่สามารถแนบกับลำแขนได้ เนื่องจากยาวไป หรือลำแขนไม่มีกำลังพอที่จะรับการถ่ายทอดแรงกดได้

จึงจำเป็นที่จะต้องให้ปลายด้ามกดลงบริเวณท้องหรือเอว (เอวดีกว่า) ซึ่งถ้าเป็นปลาใหญ่หน่อย พอเกมการต่อสู้จบลง ไปสอบถามได้เลยว่าปวดเอวไปขอดูรอยกดของปลายด้ามก็ได้ บางรายเขียวคล้ำเลยทีเดียว แสดงว่าแรงกดที่ปลายด้ามมีมากพอควรทีเดียว

มือซ้ายหรือมือขวา ถ้าถนัดขวาควรจับคันด้ามมือขวา และหมุนรอกด้วยมือซ้าย ถ้าถนัดซ้ายควรจับคันด้วยมือซ้าย และหมุนรอกด้วยมือขวา บางคนจับคนด้วยมือขวา

พอตีเบ็ดออกไปทีก็ต้องเปลี่ยนคันมาถือด้วยมือซ้ายแล้วหมุนด้วยมือขวา ลักษณะนี้จะเสียเปรียบมากโดยเฉพาะเมื่อตีเหยื่อปลอม จากรอกสปินนิ่งราคาแพง ก็คงจะไม่มีความหมายเลย หากใช้ผิดแบบ

วิธีการคำนวณแรงกดเรื่องคานดีด

สมมุติว่า หากเกิดแรงกดหรือปลากินเบ็ดที่ปลายคัน 4 กก. และความยาวจากปลายคันถึงฐานใส่รอก 72 นิ้ว ความยาวของด้าม 6” หากลองคิดคำนวณดูว่าจะเกิดแรงกดที่ปลายด้ามเท่าไหร่ (ปลายด้ามนี่แหละที่บางคนชอบเอาไปยัดกับใต้พุง หรือหนีบไว้ที่จั๊กกะแร้ตัวเอง)

6xx = 4 × 72

6x = 288

X = 288/6

X = 48 กก.

จากการคำนวณเรื่องคานดีด คานงัด ผลออกมาคือ น้ำหนักกดที่ปลายด้ามถึง 48 กก. ทีเดียว ทีนี้หลายคนอาจสงสัยว่าแรง 48 กก. ดีดเอาคนถือคันกระเด็นไปถึงไหนถึงไหน ความจริงแล้ว แรงที่กดปลายด้ามจะไม่มีทางถึง 48 กก. แน่นอน เพราะเบรกจากรอกจะผ่อนคลายน้ำหนักลงไปส่วนหนึ่งความอ่อนของปลายคันจะริดรอนไปอีกหนึ่ง จนเหลือแรงจริงๆไม่ท่าไหร่

แต่ถ้าหากเกิดไปจับตรงด้ามมือ (HEAD GRIP) จุดศูนย์กลางจะเปลี่ยนไป แรงจากการตีสายก็จะเปลี่ยนไป เพราะระยะจากปลายคันเบ็ดถึงศูนย์กลางจะน้อยลงกว่าเก่า เปรียบเทียบแล้ว

แรงกดที่ปลายด้ามจะน้อยลงไป ตัวคันเบ็ดจะต้องรับแรงเพิ่มขึ้น บวกความหมายของคนถือคันเป็นแรงกดปลายด้ามน้อยลง ถ้าหากแรงเกินไปนิดเดียว คันจะหักเป็นเสี่ยงๆ

ไหนๆ ก็ว่าวิชาการมาพอสมควรก็เลยถือโอกาสพูดต่อถึงว่า ทำไมคันยาว ด้ามต้องยาว คันสั้นด้ามต้องสั้น ลองพิจารณาดูได้ว่าถ้าระยะจากปลายคันถึงจุดศูนย์กลางยิ่งยาวขึ้น เช่น จาก 72” เป็น 84” โดยที่ด้ามยังคง 6” เช่นเดิม และแรงกด 4 กก. เท่าเดิม

6 x = 4 × 84

6x = 336

X = 56 กก.

แรงที่กดปลายคันก็จะเปลี่ยนเป็น 56 กก. คนถือคันก็หน้าเหยเกเท่านั้นเอง เลยมีความจำเป็นต้องเพิ่มด้ามให้ยาวขึ้น เพื่อลดแรงกดที่ปลายด้าม แต่ถ้าคันสั้นแล้วด้ามยาวล่ะ จะเป็นอย่างไร คงไม่ต้องมานั่งคำนวณอีก

รับรองได้ว่าคนถือคันเบาแรงไปเยอะทีเดียว แต่ตัวคันเบ็ดต้องรับแรงอย่างหนักหน่วง ซึ่งถ้าทำจริงก็ต้องใช้วัสดุในการผลิตคันเบ็ดที่แข็งแรงมากๆ ไม่เช่นนั้นคันก็หัก ทีนี้ใครที่คุยว่าดัดแปลงคันเบ็ดได้เก่ง เบาแรง คงต้องหาคำตอบให้กับตัวเอง

การตีสายด้วยรอกสปินนิ่ง

คงจะว่ากันตั้งแต่ฐานของการตีสายเบ็ดสปินนิ่งแบบง่ายๆ ไปจนถึงเทคนิครอกสปินนิ่งตีไกลซึ่งต้องฝึกฝนบ้างเล็กน้อย แต่ต้องบอกว่าสปินนิ่ง จะไม่ยากเลยเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ชนิดอื่น

1. ก่อนอื่น จัดตำแหน่งการจับให้ถูกต้อง ซะก่อน ไม่งั้นก็คงตีไม่ได้ง่ายๆ ดูได้จาก (ภาพที่ 1)


2. สังเกตระยะเหยื่อกับปลายคัน ควรอยู่ในระยะที่เหมาะสม ว่ากันว่าประมาณ 6 – 12 นิ้ว หากสั้นจะมีโอกาสสูงที่เมื่อตีเหยื่อออกไปเหยื่อจะไม่ลอยสูง แต่จะพุ่งไปข้างหน้าเร็ว เราสามารถใช้ประโยชน์จากจุดนี้ ใช้ตีเหยื่อที่ไม่ต้องการระยะ แต่ต้องการความแม่นยำ และต้องลอยในระดับต่ำ แต่หากปล่อยสายยาว เหยื่อจะลอยโด่งสูง เป็นการตีให้ได้ระยะทางที่ไกล ยิ่งตีตามลมด้วย ยิ่งไกลเข้าไปใหญ่ (ตามภาพที่ 2)


3. ควรจัดตำแหน่งโรลเตอร์ให้อยู่ตามภาพ (ภาพที่ 3) เพื่อให้ง่ายต่อการตีเหยื่อ


4. ใช้นิ้วชี้ หรือนิ้วกลาง ตามที่ถนัด (ควรใช้นิ้วชี้) เกี่ยวสายขึ้นมา (ภาพที่ 4) อย่าเกี่ยวสายลึกเข้าไปที่นิ้วมาก เอาแค่ปลายๆ ก็พอ


5. เปิดหน้ารอก และเช็คให้แน่ใจกว่าเปิดจนสุดแล้ว (ภาพที่ 5)


6. หลังจากนั้นเป็นการตีออกไป ซึ่งมีวิธีการมากมายให้ใช้ ทั้งการตีข้ามหัว ตีด้านข้าง หรือแม้แต่ตีข้างล่าง ซึ่งน้าๆ ควรฝึกจากพื้นฐานด้วยการตีข้ามหัว (ภาพที่ 6) จากนั้นค่อยฝึกตีมุมอื่นๆ


ส่วนระยะรอบของรอกที่จะใช้ ถ้าใครยังไม่แม่น ลองไปดูข้อมูลกันก่อนที่ 
พื้นฐานตกปลา รอบของรอก ช้าเร็วแค่ไหน ถึงจะเหมาะกับเหยื่อที่ใช้

สรุป: รอกสปินนิ่ง ใช้ง่าย ถ้าใช้เป็น

Advertisements

หากน้าๆ ได้ลองศึกษารอกสปินนิ่งและลองใช้ตามหลักที่ผมได้พูดไป รับรองว่าไม่ว่าจะตกปลาเล็กหรือปลาใหญ่ ยังไงก็ช่วยให้เข้าใจการใช้รอกสปินนิ่งตกปลาได้ง่ายขึ้นและตกปลาสนุกขึ้นแน่นอน

นอกจากนี้สำหรับสาวก รอกShimano ลองไปตามต่อกันว่า รอกสปินนิ่งไซส์ไหนเหมาะกับสายไซส์ไหน คลิกต่อเลยที่ ลับสุดยอดเบอร์และรหัสรอกสปินShimano

Advertisements