Stella X Saltiga เส้นทางสู่เบอร์หนึ่งรอกทะเล Part 3

ตกปลา

เกี่ยวกับ MAG SEAL

Advertisements

ถ้าเป็นคนที่ใช้รอกของ Daiwa น่าจะรู้จักชื่อนี้กันอยู่แล้ว เพราะระบบนี้ถูกนำมาใช้กับรอกรุ่นใหม่ๆ ของ Daiwa เกือบทุกตัวเลยก็ว่าได้ แล้วรู้หรือเปล่าว่า Mag Seal เริ่มต้นเมื่อไร ตรงนี้ผมไปค้นข้อมูลมาบอกเล็กน้อย ..

จุดเริ่มต้นของ Mag Seal..? จริงๆ แล้วระบบเริ่มเอามาใช้กับ Saltiga ตั้งแต่ปี 2010 แล้ว แต่มันยังไม่ค่อยสมบูรณ์ดีเท่าไร และจากบทความรีวิวใหม่ของรุ่น Catalina ได้บอกเอาไว้ว่าทาง Daiwa ได้มีการปรับปรุงระบบนี้ในปี 2011 จนกระทั่งรุ่น Expedition จึงกล้าพูดได้ว่า Mag Seal ถูกทำให้สมบูรณ์กว่าเดิมมาก เพราะไม่เพียงของเหลวที่เป็นแม่เหล็กจะอยู่ในที่ๆ มันควรจะอยู่แล้ว มันยังไม่กระจัดกระจายอีกด้วย ที่สำคัญของเหลวนี้ยังรักษาความสะอาดไว้ได้ แม้จะนำรอกไปจุ่มน้ำหมาดๆ หรือจะเป็นไอน้ำทะเลจากเรือที่เร่งความเร็ว จนถึงการทดสอบที่เกิดขึ้นภายหลัง ด้วยการฉีดน้ำจืดแรงๆ ใส่รอก ก็พบว่า Saltiga รุ่นใหม่ๆ ทำได้น่าประทับในมากระบบ Mag Seal
ตกปลา ในอดีตระบบนี้มีข้อบกพร่องมากจนเกินไป จนถูกหลายๆ คนประเมินคะแนนค่อนข้างต่ำ แต่ด้วยความพยายามของ Daiwa ทำมันจนใช้งานได้ดี จนเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์สำคัญของ Daiwa และด้วย Mag Seal ทำให้เกิดการยกระดับของการ ตกปลา ด้วยรอก Daiwa ขึ้นอีกระดับ เนื่องจากรอกจะไม่มีซีลยางอีกต่อไป การสัมผัสทางกายภาพระหว่างส่วนต่างๆ จะลดลงไปมาก และยังป้องกันความน้ำได้ดีมากอีกด้วย

แต่..! คุณมีข้อความระวัง 2 ข้อ เกี่ยวกับระบบนี้คือ

1. ไม่ควรใช้รอกที่มีระบบนี้รวมทั้ง Saltiga ในการตกปลาแบบ Surf Fishing เพราะการตกแบบนี้จะมีฝุ่นทรายทั้งจากลม จากน้ำ จากสายที่พาเข้ามา ซึ่งเป็นของแข็งที่มีอนุภาคเล็กมากๆ มันจะมีโอกาสติดกับของเหลวแม่เหล็กได้

2. เรื่องการซ่อมบำรุงของรอกระบบนี้ จำไว้ว่าจะมีเพียงศูนย์บริการอย่างเป็นทางการของ Daiwa เท่านั้นที่สามารถให้บริการเต็มรูปแบบได้ เนื่องจากทาง Daiwa ไม่ได้ขายของเหลวแม่เหล็กให้กับร้านค้าทั่วๆ ไป หากต้องซ่อมบำรุงระบบ Mag Seal จะต้องตรวจสอบให้ดี ไม่เช่นนั้นความสมบรูณ์ของ Mag Seal อาจจะไม่ได้มาตาฐาน

เกี่ยวกับ Clutch (คลัทช์) + Anti-Reverse (ชุดกันย้อนกลับ)

ต้องบอกว่าชุุดป้องกันการย้อนกลับของ Daiwa Japan ได้ออกแบบและถูกใช้มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 1990 โดยใช้กับรอกที่ชื่อว่า Daiwa X (อ่านจาก Part1) ก่อนที่จะมีรุ่น Saltiga และก็เป็นเวลากว่า 20 ปี ที่คลัทช์ แบบนี้ได้แสดงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือได้สูงสุด แทบจะไร้ที่ติ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้เห็นรอกรุ่นใหม่ๆ ยังคงใช้ระบบคลัทช์นี้อยู่

บอดี้

Advertisements

เริ่มด้วย Saltiga 2010 ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอย่างหนึ่ง นั้นคือได้เพิ่มช่องระบายน้ำที่ตัวกันชนตูดรอก ด้วยวิธีนี้น้ำจะไม่ขังอยู่ที่ตูดรอกอย่างแน่นอน และถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะใช้ได้ผลดีมาก แต่ Daiwa ก็ได้อัพเกรดตรงส่วนนี้ให้กับรุ่น Expedition โดยตรงกันชนตูดรอกทำจากสแตนเลสที่มีความแข็งและดูสวยงาม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของ Saltiga ที่ทำให้รู้สึกถึงความแข็งแกร่ง
ตกปลาอีกส่วนที่อยากจะพูดถึงคือ “Engine Plates” มันถูกสร้างมาด้วยความแม่นยำที่สูง ช่วยปรับเฟืองให้พอดี ซึ่งหากดูจากภาพจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบแรกทีเห็นการปรับปรุงที่สำคัญมากของรอก ส่วนนี้ผนึกด้วยยางสีดำ แล้วถูกใช้ใน Saltiga 2010 / Dogfight / Catalina 2011 / Isla มันถูกติดตั้งเพื่อป้องกันการรั่วซึ่มเมื่อฝาข้างถูกเปิด

ตกปลา

Advertisements


Gearbox

คำเตือนเกี่ยวกับการส่วนนี้หากคิดจะถอด ต้องบอกว่าในส่วนของสกรูที่ยึดฝาครอบด้านข้างของ Gearbox จะมีความแน่นอย่างไม่น่าเชื่อ สกรูมีความพอดี การจะถอดออกหากไม่ต้องการความผิดพลาด ควรใช้เครื่องที่คุณภาพสูง

ในส่วนของ Gearbox สิ่งแรกที่น่าดึงดูดคือลูกปืนแบบใหม่ที่เรียกว่า Mag Sealed ball baearings มันถูกนำมาแทนที่ลูกปืนแบบเก่าในส่วนเพลาเกียร์ (Drive Gear’s Shaft) ซึ่งโดยปกติแล้วลูกปืนในส่วนนี้จะเป็นลูกปืนที่มีการป้องกันด้วยประเก็นโลหะที่สามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กใหญ่ แต่ไม่สามารถป้องกันน้ำหรือน้ำมันได้ จนถึงลูกปืนที่ปิดสนิทด้วยประเก็นยาง ซึ่งสามารถป้องกันน้ำได้ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่มันยังมีความเสียดทานทางกายภาพอยู่ ซึ่งส่งผลต่อการหมุนของรอก แต่ Daiwa มีความคิดใหม่ที่สมบูรณ์กว่านั้น

ตกปลา

Daiwa ได้ออกแบบลูกปืน Mag Sealed ball baearings ที่ใช้หลักการของระบบ Mag Seal ด้วยการใช้ของเหลวแม่เหล็ก ให้อยู่ระหว่างลูกปืนแม่เหล็ก จนเกิดเป็นสนามแม่เหล็กขึ้นในลูกปืน ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ลูกปืนชนิดนี้ป้องกันน้ำได้อย่างสมบูรณ์ แต่จะไม่มีแรงเสียดทาน เพราะไม่มีประเก็นที่ติดต่อทางกายภาพ การหมุนจึงราบเรียบกว่า แต่ถ้าจะต้องการตรวจสอบภายในก็คงไม่ง่าย เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการถอดแยก ดังฉันจึงตัดสินใจไม่ขอยุ่งกับระบบนี้ดีกว่า
ตกปลา

Advertisements
มีอยู่ครั้งนึงที่ Daiwa ได้แสดงโชว์ระบบนี้ด้วยการติดตั้งท่อน้ำแรงดันสูงไว้ในส่วนช่องที่เปิดของมือหมุนรอกรุ่น Expedition และเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ทดรองหมุนดู ต้องบอกว่าไม่มีน้ำรั่วไหลเข้าภายในเลย ฉันจึงกลับมาทดสอบแบบเดียวกันแต่รุนแรงกว่ากับรอกของฉันแล้วถอดออกมาดู ก็พบกว่าภายในไม่มีร่องรอยของน้ำในรอกเลย จึงสรุปได้ว่า Daiwa Saltiga Expedition สามารถป้องกันน้ำได้อย่างสมบูรณ์

Oscillation (ระบบที่ชักสปูนขึ้นลง)

ระบบนี้ถือเป็นหัวใจของรอกสปิน และถึงแม้จะเป็นรุ่น Expedition ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากรุ่น Saltiga 2010 / Dogfight คงเพราะทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ดูเหมือนใน Expedition มีการปรับแต่งค่าของระบบนี้อยู่เล็กน้อย เพราะในรุ่น 2010 ที่ตำแหน่งเกียร์ด้านล่าง มีการทิ้่งรอยถูบนผิวด้านหลัง เมื่อใช้งานไปได้ไม่นาน แต่กับ Expedition จะไม่พบปัญหานี้ เกียร์ให้ความรู้สึกมั่นคงมากขึ้น

Gearing

Advertisements

Daiwa ไม่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้สร้างเกียร์ ยังคงใช้ C6191 Marine Brigde ในการสร้างเกียร์หลัก มันเป็นโลหะผสมทองแดง 85% ผสมด้วยเหล็ก นิกเกิล แมงกานิส และอลูมิเนียม มันมีความทนทานมากถึง 850 Mega-Pascal ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของ Duralumin ในการสร้างเกียร์จากเฟืองชนิดนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ก็ทำให้ได้เกียร์ที่มีความทนทานสูง ต้านทานการกัดกร่อนในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลได้ดี
ตกปลา เกียร์ของ 8000H จะมาพร้อม Pinion (เฟืองที่มาคู่กับตัวหลัก) มันทำจากโลหะผสมทองแดงที่คล้ายๆ กับ C6191 แต่จะมีส่วนผสมของ นิกเกิลและแมงกานิสสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็ง ในขณะที่รุ่น 5500H เกียร์ Pinion ใช้สแตนเลส ..เกียร์ของ Expedition ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ สร้างขึ้นด้วยการวิเคราะห์โมเดล 3 มิติ จึงได้ชิ้นส่วนที่มีความแม่นยำสูงมาก

และสำหรับเกียร์ของ Saltiga นั้นจะถูกวางอยู่ใกล้กับเพลาหลักมากกว่ารอกรุ่นหรือแบนด์อื่นๆ ด้วยการวางเกียร์แบบ Hypoid เกียร์ทดขนาดเล็ก = ประสิทธิภาพเกียร์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ระบบเกียร์จึงดีขึ้น ซึ่งถูกนำมาใช้ตั้งแต่ Saltiga 2010  แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในรุ่นใหม่ๆ อย่างเช่น ตรงตำแหน่งเพลาถูกปรับเพื่อให้รองรับลูกปืนชนิดใหม่ ดังนั้นเกียร์ของ Expedition จึงไม่สามารถใช้แทนรุ่น 2010 / Dogfight ได้

สำหรับ Part3 คงขอพอแค่นี้ก่อน แต่ก็ยังไม่จบ เฉพาะในส่วนของ Saltiga ข้อมูลที่ผมรวบรวมไว้ที่เป็นภาษาอังกฤษ เยอะมาก คงต้องขอจบการพูดถึงภายในของรอกเพียงเท่านี้ เอาไว้มาต่อกันที่ Part4 เร็วๆ นี้นะครับ

**หากผิดพลาดตรงไหน สามารถแจ้งได้ครับ ผมจะได้ตรวจสอบและแก้ไขต่อไป

คลิกอ่าน Part 1
คลิกอ่าน Part 2

Advertisements