ลับสุดยอดเบอร์และรหัสรอก Shimano ที่คุณอาจยังไม่รู้

โดยพื้นฐานแล้วรอก Shimano แบบรอกสปินนิ่ง จะใช้ XXXX หรือ 1000 ขึ้นไปเป็นมาตรฐานเบอร์รอกยิ่งตัวเลขเยอะรอกจะยิ่งตัวใหญ่ ลองไปดูกันว่า รอกที่เหมาะกับการตีเหยื่อปลอม สำหรับตกปลาน้ำจืดชายฝั่ง จะมีวิธีการเลือกแบบไหนและอ่านค่าอย่างไรบ้าง

เบอร์รอกShimano แบบมาตรฐาน

Advertisements

Spinning Reel Size: (1000)
ขนาดสายที่แนะนำ (mono): 1-2 kg (2-4lb)
ขนาดสายที่แนะนำ (Braid, PE): 4-8 lb

Spinning Reel Size: (2000)
ขนาดสายที่แนะนำ (mono) : 2kg-3kg (4-6lb)
ขนาดสายที่แนะนำ (Braid, PE) : 5-10lb

Spinning Reel Size: (2500)
ขนาดสายที่แนะนำ (mono) : 2.5kg-4kg (5-8lb)
ขนาดสายที่แนะนำ (Braid, PE) : 5-12lb

Spinning Reel Size: (3000)
ขนาดสายที่แนะนำ (mono) : 3kg-5kg (6-10lb)
ขนาดสายที่แนะนำ (Braid, PE) : 6-14lb

รหัส C นำหน้า C2000 ในรอก Shimano คือ?

อีกหนึ่งคำถาม ที่บางทีผมก็งงเอง เวลาตอบด้วยปาก กับเจ้าคำว่า  “C มันคืออะไร”
หากจะให้พูดแบบง่ายๆก็คือตัว C ในรอก Shimano คือ Compact Body หรือว่ารอกที่มีความจุของสปูนมากกว่าตัวรอก 1 เบอร์ เช่น

รอก Shimano  C3000 จะมีความจุสายของสปูนเท่ากับเบอร์ 3000 ปกติ แต่จะมีขนาดตัวรอกเท่ากันเบอร์ 2500

รอก Shimano  C2000 จะมีความจุสายของสปูนเท่ากับเบอร์ 2000 ปกติ แต่จะมีขนาดตัวรอกเท่ากันเบอร์ 1000 ในทางกลับกัน รอก 1000 จะใช้สปูน C2000 ได้เช่นกัน

รหัส S ต่อท้ายเช่น 1000S คืออะไร ?
สำหรับ S (Shallow Spool ) จะเหมาะกับงาน ตกปลา เบาๆ เหยื่อเล็กๆ หรือพวกตีสายไม่ไกล (Finess) ความหมายของมันคือ “สปูนตื้น” จุสายได้น้อยกว่าปกติ

รหัส PG ต่อท้ายเช่น 5000PG
คำว่า PG (Power Gear) คือ รอบต่ำมากกว่าปกติ หรือจะเรียกเก็บสายช้ามาก รอบจะอยู่ประมาณ 4.0:1 บวกนิดหน่อย และไม่ค่อยได้เจอกับรอกสปินตัวเล็กๆ แต่ก็หาได้กับรอกบางรุ่นเช่น Stella 1000PGS ที่มีรอบ 4.3:1

รหัส HG ต่อท้ายเช่น 2000HG
คำว่า HG คือ รอบสูงกว่าปกติ หรือเก็บสายได้เร็วเป็นพิเศษ อยู่ประมาณ 6.0:1 และหากเทียบกับรอบปกติจะอยู่ที่ 5:1 บวกนิดหน่อย โดยปกติรอกสปินตีเหยื่อปลอมไม่ค่อยเจอรอบ 7+ ถ้าจะหารอบ 7 ขึ้นไปคงต้องไปเล่นเบท

รหัส XG ต่อท้ายเช่น 2000XG
คำว่า XG (Extra High Gear) คือ รอบสูงเป็นพิเศษ จะบอกว่าหากมองเพียงแค่ตัวเลขเหมือนจะไม่ต่างนะ เพราะ HG รอบจะอยู่ที่ 6.0:1 แต่ XG จะอยู่ที่ 6.2:1 รอบต่างนี้วัดกันที่ระยะทางไกลมากๆ

รหัส SW ต่อท้ายเช่น 4000SW
คำว่า SW (Salt Water) คือ ใช้กับน้ำเค็มได้ดี เป็นรอกที่บอกมาเลยว่าใช้กับ ตกปลา ทะเลโดยเฉพาะ ส่วนมากจะอยู่ที่เบอร์ 4000 ขึ้นไป

รหัส SSS ต่อท้าย เช่น 1000 SSSPG
เป็นรหัสที่เพิ่งมีเมื่อไม่นานเท่าไร นั้นคือสปูนจะ “สปูนตื้น” มากๆ เมื่อสองสามปีก่อนอาจจะเห็นได้น้อย แต่ในปัจจุบัน เริ่มเห็นเยอะกับรอกรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะตัวเล็กๆ รุ่นราคาแรงหน่อย อย่างตัวอย่าง 1000SSSPG ของ Stella 2018 จะจุสาย PE0.4 ได้ประมาณ 90 เมตร และมีรอบต่ำ 4.6

รหัส M ต่อท้ายเช่น C3000MHG
เป็นรหัสที่บอกว่าสปูนรุ่นนี้จะจุสายได้ครึ่งนึงของสปูนเบอร์ C3000 ปกติ เช่น C3000 จุสาย PE1 ได้ 400 เมตร แต่ถ้าเป็น C3000M จะจุสาย PE1 ได้ 190 เมตร
shimano reel
รหัส F ต่อท้าย
ไม่ค่อยจะเห็นกับรหัสนี้กับรอกออกมาจากโรงงานสักเท่าไร แต่ก็มีอยู่บ้าง แต่ถ้าจะเจอบ่อยหน่อยก็พวกของแต่ง โดยคำว่า F หมายถือใช้กับ Fluorocarbon โดยเฉพาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ PE ไม่ได้นะ

JDM (Japan Domestic Market)

เป็นคำที่ใช้กับรอกShimano ที่ขายอยู่ในตลาดญี่ปุ่น หรือจะเรียกสเป็คญี่ปุ่นเลยก็ได้ โดยปกติจะแสดงด้วยชื่อรอกเฉยๆ เช่นของ Stella จะเป็นเป็น Stella 1000

แต่หากเป็นรอกตลาดอื่นหรือรุ่นย่อยอื่นจาก Stella 1000 จะใช้ชื่อ Stella 1000FE ซึ่งราคาจะถูกกว่ามาก และหากถามทางด้านคุณภาพต่างกันหรือไม่ ? สำหรับผมคิดว่าพอๆ กัน

แต่ถ้าถามว่าซื้ออะไรดี ผมซื้อ FE นะ ถูกกว่าเยอะ ส่วน FA, FD เป็นรุ่นย่อยแสดงถึงความใหม่ของรอกรุ่นนั้นๆ (ผมเองก็รู้ไม่ชัด ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมบอกกันมาได้เลย)

สรุป: ชอบรอกShimano สเป็คแบบไหนก็ใช้แบบนั้น

Advertisements

ได้เห็นกันคร่าวๆ แล้ว สำหรับการรหัสรอกShimano รวมไปถึงการอ่านค่า และการเลือกใช้สาย น้าๆ ชอบแบบไหน ก็เลือกใช้ตามใจเลยครับ แต่จริงๆ ยังมีการผสมรหัสอีกด้วย เช่น HGS ก็เป็น รอบสูง+สปูนตื้น เดี๋ยวถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้จะนำมาบอกเล่าให้น้าๆ ได้อ่านกันนะครับ


เรียนรู้รหัสและเบอร์รอกสปินนิ่งกันไปแล้ว ลองไปดูว่า การใช้รอกสปินนิ่งแบบง่ายๆและเทคนิคเพิ่มเติมได้ที่ เรียนรู้เรื่องรอกสปินนิ่งแบบง่ายๆ เพิ่มความเข้าใจก่อนออกไปตกปลา

Advertisements