ปลาพลวงชมพู ปลาประจำจังหวัดยะลา กับกิโลล่ะ 3 – 7 พันบาท

ปลาพลวงชมพู ถ้าถามผมก่อนหน้านี้บอกเลยว่าไม่รู้จักอะ เพิ่งรู้เหมือนกันว่ามี โดยเจ้าปลาตัวนี้จัดเป็นปลาเนื้อดีมาก และมันมีราคาที่แพงมากๆ อีกด้วย มันมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 2000 - 3000 บาท น้าๆ หลายคนอาจจะคิดว่ามันแพงเพราะไม่สามารถเลี้ยงในฟาร์มได้ แต่ต้องบอกว่า ปลาชนิดนี้สามารถเลี้ยงได้แล้ว แต่ก็ยังแพงอยู่ดี ..มาอ่านเรื่องราวของวัน

ปลาพลวงชมพู เป็นปลาน้ำจืดประจำท้องถิ่นจังหวัดยะลา นราธิวาส มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นภาคใต้ว่า ปลากือเลาะห์ หรือ อีแกกือเลาะห์ เป็นปลาที่มีเนื้อรสชาติดี สามารถรับประทานได้ทั้งเกล็ด ในปัจจุบันตลาดการเลี้ยงปลาสวยงามก็กำลังเป็นที่ต้องการอย่างสูง

เนื่องจากเป็นปลาที่มีความโดดเด่นในสีของเกล็ดที่มีลักษณะเป็นสีชมพู บริเวณครีบหลังและครีบหางเป็นสีแดง โดยลักษณะนิสัยและความเป็นอยู่ของปลาชนิดนี้ จะเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำที่น้ำไหลผ่าน มีน้ำค่อนข้างเย็น มีปริมาณออกซิเจนสูง เช่น น้ำตก หรือบริเวณต้นแม่น้ำสายหลักในพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส โดยเฉพาะแม่น้ำปัตตานี และป่าฮาลา –บาลา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้

ปลาพลวงชมพูได้รับการประกาศให้เป็นปลาประจำจังหวัดยะลาเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558

ปลาพลวงชมพู

Advertisements

(ชื่อวิทยาศาสตร์: Tor douronensis) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาเวียน (T. tambroides) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่ลำตัวเพรียวและเป็นทรงกระบอกมากกว่า ส่วนหัวค่อนข้างมน ริมฝีปากหนา ปากกว้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อสั้น ๆ มีหนวด 2 คู่เห็นชัดเจน ตาอยู่ค่อนไปทางด้านบนหัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหลังมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นสั้น ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีเงินเหลือบชมพูหรือทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีขาว มีขนาดความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 35 เซนติเมตร

ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่แม่น้ำตาปีไปจนถึงมาเลเซีย โดยอาศัยอยู่ในลำธารหรือแม่น้ำที่มีฝั่งเป็นป่าร่มครึ้มรวมถึงบริเวณน้ำตก พบมากโดยเฉพาะในน้ำตกฮาลา-บาลาภายในอุทยานแห่งชาติฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา เป็นปลาที่มีรสชาติดี เป็นที่ขึ้นชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดยะลา มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 3,000 บาทขึ้นไป และในฮ่องกงอาจมีราคาสูงกว่ามาก

“นับเป็นปลาที่มีราคาแพงที่สุด
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

อีกทั้งยังจัดว่าเป็นปลาตระกูลปลาพลวงหรือปลาเวียนเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สามารถรับประทานทั้งเกล็ดได้ มีชื่อเรียกเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า “กือเลาะฮ” หรือ “กือเลาะฮ แมเลาะฮ”

ใน พ.ศ. 2524 ปลาพลวงชมพูอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนบางลาง ทำให้สูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ ต่อมามีการรวบรวมพันธุ์ปลาจากคลองฮาลา-บาลาเพื่อเพาะขยายพันธุ์ แต่ก็ยังเพาะได้น้อยมาก

จนกระทั่ง พ.ศ. 2542 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังเขื่อนบางลางและได้ทรงปล่อยพันธุ์ปลาลงเขื่อน ต่อมามีพระราชดำริให้มีหาปลาพลวงชมพูมาเลี้ยงไว้ในฟาร์มพระราชดำริ จนกระทั่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณมากแล้วในปัจจุบันโดยสถานีประมงจังหวัดยะลา

และถือเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา แต่โดยรวม ปลาพลวงชมพูก็ยังเป็นปลาที่ยังเพาะขยายพันธุ์ได้น้อยและลำบากอยู่ เนื่องจากเป็นปลาที่วางไข่น้อย ครั้งละเพียง 500–1,000 ฟองเท่านั้น แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันที่เมื่อวางไข่แล้วจะให้ปริมาณไข่เป็นแสนฟอง อีกทั้งยังมีการตกไข่หรือไข่สุกไม่พร้อมกันอีกต่างหาก

ที่มา กรมประมง

Advertisements