จากคลิปนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย อธิบายว่ามดพวกนี้สามารถเชื่อมโยงร่างกายของพวกมันเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นแพกันน้ำได้ มันคล้ายกับวัสดุที่สามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว มดสามารถแยกกระจัดกระจายหรือจับตัวเป็นก้อน และด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยให้พวกมันรอดพ้นจากฝนตกหรือแม้แต่ถูกคลื่นซัดแรงๆ ได้
ในแถลงการณ์ APS ได้เปรียบเทียบพฤติกรรมของโครงสร้างนี้กับ Jell-O (เยลลี่ชนิดหนึ่ง) หรือยาสีฟัน โดยระบุว่าวัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุ “Viscoelastic” ที่สามารถต้านทานการไหลภายใต้ความเครียด และกลับคืนสู่รูปทรงเดิม เช่น แถบยาง แพมดไม่ได้ทำงานเหมือนของแข็งหรือของเหลว แต่มันเป็นลูกผสมของทั้งสองชนิด
วิศวกรเครื่องกล GATech และพลศาสตร์ของไหล David Huได้ศึกษาเรื่องแพมดและแรงตึงผิวตั้งแต่ปี 2554 และนี่คือวิดีโอแพมดหลายตัว ที่อยู่บนผิวน้ำและพื้นที่ต่างออกไป