พบ ‘กิ้งกือสายพันธุ์ใหม่’ ที่มีลำตัว 330 ปล้อง กับ 1,306 ขา

นักวิจัยตั้งชื่อให้กับกิ้งกือที่พบใต้ดินชนิดใหม่นี่ว่า "ยูมิลลิเปส เพอร์เซโฟนี (Eumillipes persephone) เป็นชื่อที่ตั้งตามเทพีแห่งนรก ในเทพปกรณัมกรีก และเนื่องจากตัวมันมี 330 ปล้อง มันจึงเป็นกิ้งกือที่ยาวมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว..และนี่คือเรื่องที่เรารู้เกี่ยวกับตอนนี้

กิ้งกือสายพันธุ์ใหม่

นี่เป็นครั้งแรกที่เคยพบกิ้งกือที่มีมากกว่า 1,000 ขา มันถูกพบในออสเตรเลียตะวันตก กิ้งกือสายพันธุ์นี้เป็น “ของจริง” ตัวแรกที่มี 1,306 ขา มันถูกพบลึกถึง 60 เมตรในพื้นที่ของเหมืองแร่ในเขต Eastern Goldfields ..นักวิจัยได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่นี่ว่า ยูมิลลิเปส เพอร์เซโฟนี (Eumillipes persephone) มันเป็นกิ้งกือที่ทำลายสถิติเดิมของ Illacme plenipes ซึ่งพบในแคลิฟอร์เนียตอนกลาง มันเป็นกิ้งกือที่มีขามากถึง 750 ขา

Dr. Bruno Buzatto นักชีววิทยาที่ Bennelongia Environmental Consultants ได้ค้นพบกิ้งกือตัวนี้ ในขณะที่ทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใต้ดิน เขาอธิบายว่าการค้นพบนี้เป็น “โชคดีอย่างเหลือเชื่อ”

“สัตว์เหล่านี้มีเอกลักษณ์มาก” Buzatto กล่าว “ทันทีที่ฉันรู้ว่ามันยาวแค่ไหน ฉันตระหนักว่าพวกมันต้องเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง” มันมีลำตัวยาวคล้ายเกลียวประกอบด้วยปล้องมากถึง 330 ส่วน ขาสั้นและหัวเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในความมืดตลอดเวลา พวกมันตาบอดและสีซีด

Dr. Juanita Rodriguez ผู้ร่วมวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง CSIRO กล่าวว่า สายพันธุ์ใหม่นี้มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาความยาวของมันเพื่อให้เคลื่อนไหวใต้ดินได้ง่าย “ยิ่งคุณมีความยาวมากเท่าไร ก็ยิ่งมีพลังในการขับเคลื่อนไปข้างหน้ามากเท่านั้น” ส่วนลำตัวที่มากกว่า 300 ส่วนของกิ้งกือตัวนี้ จะทำให้มีแรงเคลื่อนไหวไปข้างหน้ามากขึ้น และช่วยให้ผ่านพื้นหิน – รอยแยกขนาดเล็กไปได้ง่าย

หากเปรียบเทียบ กิ้งกือโปรตุเกส ซึ่งเป็นสายพันธุ์กิ้งกือที่มีรูปร่างทั่วไปที่พบได้บ่อย มันมีเป็นกิ้งกือที่มีประมาณ 25 ปล้อง กิ้งกือที่มีอยู่ในประเทศไทยก็มีประมาณนี่เช่นกัน

Rodriguez กล่าวว่าเป็นเรื่องน่าแปลกใจที่ค้นพบสายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ใต้ดิน แม้ว่ากิ้งกือบางตัวจะอาศัยอยู่ในถ้ำ แต่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นผิวและคอยทำลายอินทรียวัตถุเช่น เศษใบไม้ เธอกล่าว

ตอนนี้ Rodriguez และเพื่อนร่วมงานของเธอที่ CSIRO กำลังศึกษาสารเคมีที่ผลิตโดยกิ้งกือออสเตรเลีย “เรากำลังทดสอบพวกมันเพื่อดูว่าพวกมันมีศักยภาพที่จะเป็นยาต้านจุลชีพกับเชื้อโรคที่มีความต้านทานต้านจุลชีพมากหรือไม่”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาtheguardian