ปลากะแมะ ‘นักต้มตุ๋น’ แห่งป่าพรุโต๊ะแดง – ประเทศไทย

ถ้าพูดถึงปลากะแมะ ผมเชื่อว่าต้องมีหลายคนที่เพิ่งเคยได้ยินชื่อ หรือไม่ก็เคยได้ยินแต่นึกไม่ออกว่าหน้าตาเป็นไง โดย "ปลากะแมะ" ถือเป็นหนึ่งในปลาประหลาดที่สุดชนิดหนึ่งที่พบได้ในไทย และเพราะอะไรถึงบอกว่ามันเป็นปลานักต้มตุ๋น เดี๋ยวมาดูเรื่องราวของมันกัน

ปลากะแมะ

ทำไมมันจึงสัตว์ประหลาดนักต้มตุ๋น

Advertisements

เหตุผลแรกเลย เพราะมันเป็นปลาที่มีหน้าตาประหลาดมาก และมันก็เป็นปลาที่มีนิสัยการล่าเหยื่อคล้ายๆ กับปลาตกเบ็ด (Angler fish) ที่เป็นปลาทะเลน้ำลึก จนปลากะแมะมีชื่อ Angler catfish เพียงแต่หากค้นหารูปมันด้วยชื่อนี้จะไม่พบภาพของมัน เพราะมันเป็นปลาที่พบได้ในธรรมชาติแค่เพียงไม่กี่ที่ในโลก และในไทยก็พบได้ที่ “ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส” ที่เดียวเท่านั้น

มันเป็นปลาที่อยู่ท้องน้ำ แปะตัวอยู่บนพื้น ใบไม้ หรืออาจฝั่งตัวเข้าไปได้ด้วย และด้วยความที่เป็นปลาที่ล่าเหยื่อเหมือน ปลาตกเบ็ด มันจึงมีอุปกรณ์พิเศษนั้นคือ “หน้าตาที่ประหลาด ตัวแบน ปากใหญ่พิเศษที่มีแรงดูดมหาศาล และยังมีหนวดอีก 2 คู่”

หลอกเหยื่อด้วยหนวด และดูดเหยื่อด้วยปากใหญ่ๆ

องค์ประกอบทั้งหมดของปลากะแมะ ใช้เพื่อล่าเหยื่อโดยที่มันไม่ต้องว่ายไปมาสักเท่าไร เพราะมันจะใช้ หนวดคู่หลัก ซึ่งอยู่บริเวณมุมปาก ซึ่งหนวดนี่มีลักษณะเรียวแต่สั้น (ต่างจาก Angler fish จะยาวกว่ามาก) และมีสีขาวซีด

มันจะใช้หนวดที่บางครั้งมันกระดิกให้เหมือนหนอนได้ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือต้มตุ๋นอย่างหนึ่งของมัน และเมื่อมีปลาหลงกลว่ายเข้าใกล้ ก็จะถูกปากขนาดใหญ่ที่มีพลังดูดมหาศาล ดูกลืนเข้าไปอย่างง่ายดาย

Advertisements
สุดท้ายต้องบอกว่า ปลาชนิดนี้ถือเป็นปลาหายาก เพราะในไทยพบได้ในป่าพรุโต๊ะแดง เท่านั้น กับอีกไม่กี่ประเทศในโลก และถึงแม้มันจะเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เป็นปลาที่เลี้ยงให้รอดยากมาก มันจึงตกอยู่ในสภาพปลาใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ .. ถ้าน้าๆ พบมันในธรรมชาติ ก็ตัดสินใจกันเอาเองว่าจะทำยังไงกับมัน

วงศ์ปลากะแมะ

สำหรับวงศ์ปลากะแมะ มีชื่อวงศ์ว่า Chacidae (/ชา-คิ-ดี้/) ทั้งหมดอาศัยอยู่ในน้ำที่มีค่า pH ประมาณ 6.5 – 8.0 ในป่าพรุพบตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในวงศ์นี้แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

  1. ปลากะแมะ (Chaca bankanensis) ที่พบในประเทศไทย
  2. ปลากะแมะพม่า (Chaca burmensis) เป็นชนิดที่หายากที่สุด พบในป่าพรุในประเทศพม่าเท่านั้น
  3. ปลากะแมะอินเดีย (Chaca chaca) พบที่อินเดียมีลำตัวที่ป้อมสั้นที่สุด มีผิวที่ขรุขระมากกว่าชนิดอื่นๆ ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
  4. ปลากะแมะบอร์เนียว (Chaca serica) เป็นชนิดที่ค้นพบใหม่ล่าสุด พบทางตอนใต้ของเกาะบอร์เนียว

วิธีการเลี้ยงในฐานนะปลาสวยงาม

Advertisements

แนวทางการเลี้ยง จำเป็นต้องเตรียมตู้เลี้ยงให้ดี หาใบหูกวางแห้งๆที่มีขายตามร้านขายปลากัดมาหรือจะหาเก็บเองก็ได้ นำมาล้างให้สะอาดที่หาถังน้ำที่ไม่ใช้มา 1 ถังเพื่อใช้หมัก

จากนั้นนำใบหูกวางทั้งหมดเทลงไปในถัง แล้วใส่น้ำตามให้พอดีกับเศษใบหูกวาง หมักเอาไว้สัก 1 อาทิตย์ให้น้ำมันกลายเป็นสีแดงๆ ดำๆ เป็นใช้ได้ จากนั้นก็นำไปเทลงตู้ที่มีน้ำสะอาดๆอยู่แล้ว พักไว้อีกวันนึงแล้วเราก็นำปลามาใส่ได้เลย

เรื่องการจัดตู้ควรจัดโล่งๆ เพราะมันมีที่หลบเป็นเศษใบไม้อยู่แล้ว ถ้าเราต้องการจะดูว่ามันกินอาหารหรือเปล่าให้ลองนับจำนวนปลาเหยื่อที่ใส่ไปดู หรือจะทำแบบบุปเฟ่ก็ได้ปล่อยลงไปทีเดียวหมดถุง

เวลาดูมันกินแล้วมีความสุขอย่างบอกไม่ถูกอาหารที่เหมาะกับปลาชนิดนี้คือ พวกปลาเหยื่อเล็กๆ แต่ไม่แนะนำพวกปลานิล และปลากัด เพราะพวกนี้มันชอบไล่กัดหนวดกระแมะ ..ลูกปลาสอดและลูกปลาช่อนดูจะเหมาะ ..วิธีเลี้ยง by Mr.prutodang

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements