สารคดีสร้าง เขื่อนภูมิพล เขื่อนแห่งแรกของไทย

ภาพยนตร์ของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ตั้งแต่การสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ตลอดจนการสร้างโรงไฟฟ้า งานเลี้ยงอำลาเจ้าหน้าที่ต่างชาติ งานลอยกระทงของชาวเชื่อน การอพยพราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนไปตั้งหลักแหล่งในที่แห่งใหม่

เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งและเป็น เขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย เดิมชื่อเขื่อนยันฮี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระปรมาภิไธย ให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล ลักษณะของเขื่อน เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย  และ เอเชียอาคเนย์ และเป็นอันดับ ๘ ของโลกสร้างปิดกั้น ลำน้ำปิง ที่ บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด ๑๓,๔๖๒ ล้านลูกบาศก์เมตร

พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๐๔ การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้าซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๑-๒ กำลังผลิตเครื่องละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม และ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๗ ตามลำดับ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗ ต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๓-๖ กำลังผลิตเครื่องละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ และเครื่องที่ ๗ กำลังผลิต ๑๑๕,๐๐๐ กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน วันที่ ๑๑ พฤษภาคม วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๑๐ วันที่ ๒๕ ตุลาคม วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๒ และวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๕ ตามลำดับ

เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกไปในปี พ.ศ.๒๕๓๑ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการปรับปรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องที่ ๑-๒ ทำให้มีพลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกเครื่องละ ๖,๓๐๐ กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๕ และ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ ตามลำดับส่วนการปรับปรุงเครื่องเครื่องที่ ๓-๔ มีการปรับปรุงกำลัง ผลิตเท่ากันกับเครื่อง ที่ ๑-๒ แล้วเสร็จสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสิงหาคม ๒๕๔๐ ตามลำดับ

นอกจากนี้ ในปี ๒๕๓๔ กฟผ.ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๘ แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต ๑๗๑,๐๐๐ กิโลวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือน มกราคม ๒๕๓๙ ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนภูมิพลมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น ๗๗๙.๒ เมกกะวัตต์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ สามารถ และให้ประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง ๑๐ ล้านไร่ ต่อปี อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนจุน้ำได้ ๑๓,๔๖๒ ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ ๓๐๐ ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง ๒๐๗ กิโลเมตร นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้าและชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด

ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า

Advertisements

เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งสร้างปิดกั้นลำน้ำปิง ที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง ๒๕๐เมตร สูง ๑๕๔ เมตร ยาว ๔๘๖ เมตร ความกว้างของสันเขื่อน ๖ เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด ๑๓,๔๖๒ล้านลูกบาศก์เมตร

อาคารโรงไฟฟ้าได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๑-๒ กำลังผลิตเครื่องละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๓-๖ กำลังผลิตเครื่องละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ และเครื่องที่ ๗ กำลังผลิต ๑๑๕,๐๐๐ กิโลวัตต์ ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๘ แบบสูบกลับ ขนาดกำลังผลิต ๑๗๑,๐๐๐ กิโลวัตต์ เขื่อนภูมิพลมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น ๗๗๙.๒ เมกกะวัตต์ และก่อสร้างเขื่อนแม่ปิงตอนล่าง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้

ประโยชน์

ประโยชน์ ของการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนภูมิพลมีภารกิจหลัก คือ ระบายน้ำ ผลิตไฟฟ้า ให้ตรงตามแผนที่ กรมชลประทานกำหนดมาให้ โดยปริมาณน้ำที่ระบายออกไปจากเขื่อนจะถูกนำไปใช้ ประโยชน์หลายด้าน ทั้งด้านการเกษตรที่อุปโภค-บริโภค คมนาคม ท่องเที่ยว รวมทั้งผลักดันลำน้ำเดิมจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ สนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ถึง ๙.๕ ล้านไร่ ในพื้นที่ จังหวัดตาก

แถวนี้ไม่มีชะโดป่า จะมีก็แต่ชะโดหิน

Advertisements
แหล่งที่มาbhumiboldam.egat.com