ดูปูตัวเล็กที่พยายามแบก ‘ลูกเต่าหัวค้อน’ เพื่อนำไปในรูของมัน

ถ้าได้เห็นคลิปนี้ก็ไม่คิดว่า ลูกเต่าทะเลก็เป็นหนึ่งในเหยื่อของปูด้วย และวิธีการนำเอาเต่ากลับไป ก็ง่ายกว่าที่คิดจริงๆ ดูเหมือนเต่าในวัยนี้จะจัดการง่ายจริงๆ ..คลิปท้ายเรื่อง

ช่างภาพธรรมชาติ Mark Smith ออกไปถ่ายคลิปวิดีโอของลูกเต่า เมื่อราวต้นเดือนที่เมืองเมลเบิร์น รัฐฟลอริดา แต่แล้วเขาก็ได้พบกับเหตุการณ์ที่ค่อยค่อยได้เจอ มันเป็นช่วงเวลาที่เต่าหัวค้อน (Loggerhead sea turtle) ฟักออกมาจากรัง และมันกำลังจะคานไปที่ทะเล แต่แล้วก็มีบางอย่างมาขวางทางมัน

“ปูมาจากที่ไหนก็ไม่รู้ อยู่ๆ มันก็เดินมาแล้วจับตัวเต่าไป” Smith กล่าว “ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก และฉันอยู่ห่างจากเต่าประมาณ 50 ฟุต ฉันตกใจมากเมื่อปูแบกเต่าแล้ววิ่งหนี”

ปูพยายามดึงเต่าเข้าไปในรูที่อยู่บนพื้นทราย แต่ดูเหมือนเต่าไม่พอดีรู ปูจึงตื่นตระหนกและทิ้งมันลง” Smith กล่าว “โชคดีที่ปูตัดสินใจยอมแพ้และเต่าก็สามารถลงไปในน้ำได้ มันเป็นช่วงเวลาที่ตึงเครียดสำหรับลูกเต่า”

เรื่องน่ารู้ของเต่าหัวค้อน

Advertisements

เต่าหัวค้อน หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด หรือ เต่าจะละเม็ด (Loggerhead) ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายเต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าตนุ (Chelonia mydas) มาก ต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน 5 แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่นๆ

และรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้ายและเป็นสันแข็งเห็นชัดเจน กระดองมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลส้ม ขอบชายโครงมีสันแข็ง ขณะที่ยังเป็นลูกเต่ากระดองจะยกสูง ที่สำคัญเป็นจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่โตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขาซึ่งเป็นใบพายทั้งคู่หน้าและคู่หลังมีเล็บหนึ่งเล็บในแต่ละข้าง

พบน้อยมากที่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบน้อยมาก และไม่พบรายงานว่ามีการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังพบได้บ้างที่เขตอบอุ่นทางตอนเหนือของออสเตรเลียและทะเลญี่ปุ่น หรืออินโดนีเซีย

สถานะปัจจุบันของเต่าหัวค้อนในประเทศไทย ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เช่นเดียวกับเต่าทะเลชนิดอื่นๆ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements