นี่คือระบบถ้ำที่ยาวที่สุดในโลก ‘ถ้ำแมมมอธ’ ยาวอย่างน้อย 400 ไมล์ และยาวขึ้นอีก

ถ้ำยาวที่สุดในประเทศไทยคือ 'ถ้ำพระวังแดง' ที่ยาว 13.7 กิโลเมตร ส่วนถ้ำใหญ่ที่สุดในโลกคือ 'ถ้ำเซินด่อง' ประเทศเวียดนาม และถ้ำลึกที่สุดในโลกคือถ้ำ 'เวียร์ยอฟกินา' มันคือถ้ำที่ลึกลงไปใต้ดินถึง 2.2 กิโลเมตร และที่กำลังพูดถึงต่อไปนี้คือถ้ำแมมมอธ ที่ได้ชื่อว่าระบบถ้ำที่ยาวที่สุดในโลก

ถ้ำยาวที่สุดในโลก

ถ้ำแมมมอธอยู่ในอุทยานแห่งชาติถ้ำแมมมอธ (Mammoth Cave National Park) ใกล้เมืองบราวน์สวิลล์ สหรัฐอเมริกา ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1941 และได้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1981 และยังเป็นเขตสงวนชีวมณฑลระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1990

อุทยานแห่งชาติถ้ำแมมมอธมีเนื้อที่ 52,830 เอเคอร์ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของ Edmonson County มันเป็นที่ตั้งของ “ถ้ำแมมมอธ” เป็นระบบถ้ำที่ยาวที่สุดในโลก มันมีความยาวมากกว่า 400 ไมล์ (640 กม.) มันไม่ใช่ความยาวที่แท้จริง เพราะจนถึงตอนนี้ถ้ำยังไม่ได้รับการสำรวจทั้งหมด

‘Bridal Altar’ ถูกสร้างขึ้นด้วยน้ำ โดยหินงอกหินย้อยมาบรรจบกันเป็นเสา




ถ้ำแมมมอธ ประกอบด้วยชั้นหินปูนที่มีอายุเก่าแก่ของรัฐมิสซิสซิปปี้ มันมีความหนาและปกคลุมด้วยชั้นหินทรายซึ่งทำให้ระบบถ้ำมีความเสถียรอย่างน่าทึ่ง เป็นถ้ำที่มีทางเดินยาวกว่า 400 ไมล์ (640 กม.) แต่เพราะการค้นพบใหม่ๆ จากการสำรวจ ทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้นหลายไมล์ในแต่ละปี “อุทยานแห่งชาติถ้ำแมมมอธก่อตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ระบบถ้ำแห่งนี้”

ระลอกคลื่นบนเพดานของริเวอร์ฮอลล์ ภาพนี้เป็นเพียงไม่กี่วันหลังน้ำท่วมครั้งใหญ่ น้ำมาถึงขอบทางเดินคอนกรีตก่อนจะลด

ถ้ำแห่งนี้มีระบบถ้ำที่หลากหลาย มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามรวมทั้งยังมีแม่น้ำเอโคซึ่งอยู่ลึกลงไป 110 เมตร เป็นที่อยู่ของปลาและกุ้งอีกหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นสัตว์ตาบอดและไม่มีสีเนื่องจากอยู่ภายในถ้ำมืดมาอย่างยาวนาน

Chief City หนึ่งในห้องใหญ่ที่สุดที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมได้ โดยภาพนี้แสดงให้เห็นเพียงครึ่งหนึ่งของห้อง ห้องนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยน้ำเช่นกัน
Advertisements




น้ำที่อิ่มตัวด้วยแร่ธาตุค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างสวยงาม ด้วยอัตราการเติบโตที่ไม่เร็วกว่า 1 นิ้วต่อ 100 ปี แต่สิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ เช่น การไหลของน้ำและความอิ่มตัวของแร่ธาตุ




ถ้ำแมมมอธเคยถูกขายด้วยราคา 1 หมื่นดอลลาร์

Advertisements

รู้หรือไม่ว่าในปี 1839 จอห์น โครแกน ชาวเมืองลุยวิลล์ รัฐเคนทักกี แพทย์ผู้เป็นเจ้าของทาส และหลานชายของ จอร์จ โรเจอร์ส คลาร์กได้ซื้อถ้ำแมมมอธ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ชาวยุโรปค้นพบครั้งแรกเมื่อราวปี 1790 ในราคา 10,000 ดอลลาร์ นั้นเพราะเขาคิดว่ามันจะบำบัดรักษาโรคได้ ซึ่งในตอนนั้นเป้าหมายคือผู้ป่วยวัณโรคที่กำลังระบาดอยู่

ร่องรอยของกระท่อมวัณโรคหินปูน 2 หลังยังคงพบเห็นได้ในถ้ำแมมมอธ
Advertisements

และผู้ป่วยรายแรกของโครแกน คือ วิลเลียม มิทเชลล์ ปลายฤดูใบไม้ผลิปี 1842 เมื่อมิทเชลล์เข้ารับการรักษาตามวิธีของโครแกน อาการของมิทเชลล์เริ่มดีขึ้น หลังจากนั้นรายงานจากมิทเชลล์ก็ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยกล่าวถึงวิธีการรักษานี้ไปในเชิงบวก อย่างไรก็ตามแพทย์คนอื่นๆ เห็นแย้งเรื่องประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยวิธีนี้




ตั้งแต่ปี 1842 – 1843 มีผู้ป่วยราย 16-20 รายเข้าไปอาศัยในถ้ำอันมืดมิด แต่เชื่อกันว่ายังมีผู้ป่วยบางรายไม่ได้อยู่ในบันทึก แต่มีรายงานว่าคนส่วนใหญ่เสียชีวิต จนในปี 1843 เขาก็ยุติการทดลอง และในช่วงปี 1940 ถ้ำแมมมอธ (ส่วนที่โครแกนเป็นเจ้าของ) ถูกอุทิศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements