สีเหยื่อ ความลึก กับการกินเหยื่อของปลา : Part 1

น้าหลายท่านอาจจะทราบมาบ้างว่าช่วงนี้ผมค่อนข้างที่จะบ้าทำเหยื่อปลอม ซึ่งผมเองเคยคิดว่าการทำเหยื่อปลอมขึ้นมาใช้เองสักตัว สิ่งที่ยากคือการสร้างตัวเหยื่อ แต่ผมคิดผิดส่วนหนึ่ง เพราะสิ่งที่ทำให้หนักใจจริงๆ สำหรับผมคือ  “งานสี” ซึ่งงานสี มันต้องหลอกได้ทั้งคนและหลอกได้ทั้งปลา แน่นอนว่ายิ่งถ้าจะทำขาย คงต้องหลอกคนให้ได้ก่อนที่จะหลอกปลา แต่ตัวผมทำเหยื่อจะเน้นเอาไปหลอกปลานะคร๊าบ

บทความนี้ผมมิกล้าที่จะเขียนขึ้นโดยใช้ความรู้ของตัวเองทั้งหมด เพราะถึงยังไงผมก็เป็นเพียงนักตกปลาคนนึง แต่อาศัยความที่ว่าผมมีอาชีพเป็นนักเขียน วิเคราะห์ข้อมูลเก่ง ก็เลยไปค้นข้อมูลที่ผมสนใจ เพื่อเขียนบทความเกี่ยวกับสีของเหยื่อปลอม ซึ่งสิ่งที่ผมได้มา ประกอบกับความรู้ที่ผมมา เลยทำให้มันยาวมากๆ ขึ้นมา และไหนๆ ก็จะเขียนแล้วก็ไม่อยากเก็บไว้ดูคนเดียว เลยขอแบ่งให้น้าๆ ได้อ่านได้ศึกษากัน

10929976_863234933723202_8664812965068316277_n

เกี่ยวกับข้อมูลอ้างอิง

Advertisements

บทความนี้อ้างอิงจากนักสร้างเหยื่อปลอม ที่เขียนหนังสือภาษา Eng ขึ้นมามากมาย เป็นเจ้าของเว็บ Makewoodenlures และเห็นว่าแกเป็นดอกเตอร์ด้วย ซึ่งเจ้าตัวชื่อว่า Dr. Greg Vinall ฉะนั้นถึงแม้ผมจะเป็นนักตกปลาโนเนมตัวน้อยๆ แต่ข้อมูลเชื่อถือได้แน่นอน เพราะเจ้าตัวได้ทำการวิจัยมาเป็นที่เรียบร้อย ^ ^ ..ลืมบอกไปเรื่องนี้ยาวต้องแบ่งเป็น 3 ตอน และผมเรียบเรียงใหม่ + เพิ่มเติมเยอะให้เหมาะกันนักตกปลาไทยด้วย

เริ่มด้วยสีกับนักตกปลาทั่วไป

อันนี้เรื่องจริงที่ว่า นักตกปลาไทย ทุกคนมักจะมีสีที่ชอบเสมอ และมักจะฝังใจกับสีที่ได้ปลาครั้งแรกๆ หรือแม้แต่สีนำโชคก็มี หรือน้าบางท่านเชื่อว่า

“ปลากินไม่เกี่ยวกับสีอะไร ขอแค่เหมือนปลาเหยื่อในน้ำก็พอ”

ซึ่งมันถูกเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ปลาอาจจะไม่กินเลยหากเหมือนปลาเหยื่อ ปลาอาจจะกินเหยื่อใสๆ หรือ สีไม้เลยก็ได้ ..และจะเห็นได้ชัดในเคสปลาขัง เพราะปลาขังมักจะเรื่องมากในการเลือกกินเหยื่อมากกว่าปลาธรรมชาติ ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดที่ว่าปลาธรรมชาติตกยากกว่า ..

“ความจริงคือปลาธรรมชาติตกยากกว่า เพราะหาที่ตก (ที่มีปลา) ยากกว่ามาก”
“ความจริงคือปลาขังตกยากกว่า เพราะปลาเลือกกินเหยื่อยากกว่า”

ถ้าพูดถึงเหยื่อปลอมที่นิยมมากๆ ในไทย คงนึกถึงกบกระโดด ที่ไม่ว่าเจ้าไหนก็กินเหมือนกันหมด สิ่งที่เจ้าของสินค้า มักจะโปรโมทว่ากบของตน ตบดัง ตบดี โดยไม่มีพูดถึงสีมากนัก นั้นเพราะสีทำขึ้นมาเพื่อเอาชนะใจคน ไม่ได้เอาชนะใจปลา จึงไม่สำคัญว่าจะเป็นสีอะไร ขอแค่สวยก็พอ

ดังเช่นบทความ “ทฤษฎีแสงและเหยื่อปลอม” ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ สีดำคือสีที่ปลามองเห็นได้ชัดที่สุดในระดับความลึกเกิน 10 เมตร จะต้องบอกว่าที่ความลึกเกิน 10 เมตร สีดำมีความเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับโทนสีอื่น

วกกลับมาเข้าเรื่องของ Dr Greg Vinall

Dr Greg Vinall บอกเอาไว้ว่า “น้ำก็เหมือนเครื่องกรองแสงที่มีขนาดใหญ่มากๆ” ด้วยตัวน้ำเอง แม้จะใสอย่างที่สุดแล้ว มันก็เป็นวัตถุกรองแสงชั้นดี ที่สามารถกรองแสง (ดูดซึม) ได้ถึง 25% แม้จะลึกเพียง “1 cm” และมันเป็นความจริงที่ สีของเหยื่อปลอมจะเปลี่ยนไปมาก หากเหยื่อลงลึก ซึ่งในน้ำใสอย่างน้ำทะเล แสงจะเหลือเพียง 22% ในระดับความลึก 10 เมตร และถึงสีมีความเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ก็ยังดูออกว่าเป็นสีอะไรอยู่ สิ่งที่เสียไปคือความสดใสของสีเท่านั้น

snap0976 snap0977

Advertisements

จากสองภาพบนจะเห็นว่า ที่ความลึก 10 เมตร เรายังมองออกอยู่ว่าเหยื่อปลอมตัวดังกล่าวเป็นสี เขียว, สีดำ, สีชมพู หรือแม้แต่รายละเอียดเส้นของเหยื่อก็ยังมองเห็นได้

“แต่ในความเป็นจริงน้ำ ไม่ได้ใส มันมีปัจจัยมากมายที่จะทำให้น้ำขุ่น”

น้ำขุ่น หรือน้ำเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ เกิดจากหลายปัจจัย เช่น “แพลงก์ตอน” ซึ่งอาจจะทำให้น้ำเป็นสีแดงเลยด้วยซ้ำ และหากเป็นน้ำจืด ที่เจอบ่อยคือ “น้ำคร่ำ” หรือจะเรียกว่าน้ำโคลนเลยก็ได้

snap0978

อีกปัจจัยที่ทำให้แสงส่องไปใต้น้ำได้น้อยลงคือ “พืชน้ำ” และตัวอย่างชัดๆ เลยคือ “ใบบัว” ที่มักจะมีมากในหมายน้ำจืด ที่จะลอยอยู่เหนือน้ำ

snap0980

Advertisements

snap0981

จุดสังเกตุเมื่อแสงต้องผ่านใบบัว และส่องลงใต้น้ำ พื้นที่บริเวณนั้นจะมืดลงไปมาก และจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยเมฆก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้นหากเป็นการตกปลาน้ำตื้นสีจะยังคงมองเห็นอยู่ดี และโดยสรุปในบทความนี้

“หากเหยื่อปลอมที่มีสีมากๆ จะมองเห็นได้ดีในน้ำตื้น” ซึ่งน้าต้องเลือกเหยื่อที่มีหลายเฉดสี เพื่อที่จะตกปลาน้ำตื้น
“ หากเหยื่อปลอมมีสีน้อย จะเห็นได้ดีในน้ำลึก” หากตกปลาน้ำลึก ไม่จำเป็นต้องมีหลายเฉดสี เหยื่อเพียงสีเดียวได้ผลที่ดีกว่า

เอาละยังไงก็ขอตัดจบที่ตรงนี้ก่อนนะครับ เอาไว้มาต่อกันตอนที่สอง ซึ่งจะเป็นการลงรายละเอียดเกี่ยวกับสี / ความลึกของเหยื่อ ..ตกปลากันให้สนุกครับ

Advertisements