ผู้ชมกลุ่มแรกเริ่มมาถึงหลังเที่ยงคืนได้ไม่นาน เนื่องจากการประหารชีวิตมักเกิดขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น พวกเขาจึงมาจับจองที่นั่งแถวหน้าเพื่อให้ได้เห็นเหตุการณ์ที่ชุดเจน เมื่อแสงแรกของดวงอาทิตย์ส่องผ่านท้องฟ้าที่ยังคงมืดมิด ฝูงชนก็เพิ่มขึ้นเป็นหกร้อยคน พวกเขาเหมือนมางานเทศกาล
International Herald Tribune รายงานว่า “มีการพูดคุยและล้อเล่นกับพวกทหารยาม และบางครั้งก็มีเสียงเชียร์และเสียงหวีดหวิว” ในร้านกาแฟสองแห่งที่สว่างไสว บริกรพูดติดตลก ส่วนแซนด์วิชไส้กรอกที่เตรียมไว้ล่วงหน้าก็ลดลงเรื่อยๆ
หลังตี 4 เล็กน้อย Weidmann ก็ออกมาจากคุก หลับตาแน่น ใบหน้าแดงก่ำ และแก้มก็ทรุด มือของเขาถูกมัดไว้ด้านหลัง “เสื้อเชิ้ตสีน้ำเงินบาง ๆ ของเขาถูกตัดขาดที่หน้าอก และไหล่ของเขาดูขาวอย่างน่าตกใจเมื่อตัดกับไม้ขัดมันสีเข้มของเครื่องจักรที่เขาถูกผลัก” International Herald Tribune เขียนในข่าว
สิบวินาทีต่อมาเขาก็ตาย..
ในบรรดาผู้ที่ดูคือนักแสดงชื่อดัง Christopher Lee ผู้รับบทราชาผีดูดเลือด คู่ปรับเจมส์ บอนด์ พ่อมดขาวซารูมาน และเคานท์ดูกู โดย Lee ตอนนั้นซึ่งอายุ 17 ปี เขาไปกับเพื่อนและครอบครัวที่เป็นนักข่าว ในอัตชีวประวัติของเขา เขาบรรยายถึง “คลื่นอันทรงพลังของเสียงโฮ่” ที่ต้อนรับการปรากฏตัวของ Weidmann บนท้องถนน
Lee กล่าวว่า เขาไม่สามารถพาตัวเองไปดูการประหารชีวิตของ Weidmann ได้ “ผมหันหลังกลับแต่ได้ยินเสียง” เขาบอกกับสารคดีเมื่อปี 1998
ทันทีที่ศีรษะของ Weidmann ตกลงมาและร่างกายที่เหลือก็ทรุดตัวลงกับพื้น ผู้ชมบางคนรีบไปที่ศพเพื่อเอาผ้าเช็ดหน้าและผ้าพันคอมาซับเลือดที่กระจายอยู่บนทางเท้าเพื่อเป็นของที่ระลึก
กิโยตินถูกถอดออกอย่างรวดเร็วและทางเท้าถูกล้างด้วยน้ำ ฝูงชนก็แยกย้ายกันไป สองสามคนยังคงคุยกันถึงสิ่งที่พวกเขาเพิ่งเห็น ชีวิตกลับสู่เส้นทางเดิม “ด้วยทางเดินของรถรางคันแรกและการเปิดร้านกาแฟสองแห่งที่อยู่ใกล้เคียงอีกครั้ง”
ได้มีการถ่ายภาพโดยเจ้าหน้าที่เรือนจำชาวปารีสที่ไม่ทราบชื่อ กล้องฟิล์มถูกติดตั้งในอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งที่มองเห็น Place Louis-Barthou ภาพยนตร์เรื่องนี้บันทึกการประหารชีวิตของ Weidmann และในเช้าวันรุ่งขึ้นภาพนิ่งของการถ่ายภาพก็ปรากฏบนหน้าปกของหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสเกือบทุกฉบับ การแสดงความกระหายเลือดและพฤติกรรมป่าเถื่อนของฝูงชน ทำให้สาธารณชนตกตะลึง สร้างความอับอายในกับรัฐบาล
การประหารชีวิตของ Weidmann เป็นหนึ่งในการประหารชีวิตในที่สาธารณะในฝรั่งเศส โดยที่ฝูงชนแสดงความหมกมุ่นต่อสุขภาพจิต ก่อนหน้านี้ในปี 1909 กลุ่มโจรสี่คนถูกตัดสินประหารชีวิตในเมืองเบทูน ทางเหนือ ประชาชนหลายหมื่นคนรวมตัวกันเพื่อประหารชีวิตในที่สาธารณะ พวกเขามาจากทั่วทุกมุมของฝรั่งเศส แม้กระทั่งจากเบลเยียมและเยอรมนี โรงแรมยังคงเปิดอยู่ตลอดทั้งคืนโดยได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจากตำรวจ แม้จะมีอากาศหนาวเย็นและมีฝนตกชุก แต่เมืองเบทูนก็มี “บรรยากาศแห่งวันหยุด”
ขณะที่เพชฌฆาตรวบรวมกิโยติน ฝูงชนก็ผลักอุปสรรคผ่าน พวกเขาเต็มสวนข้างทางเข้าเรือนจำ ปีนต้นไม้เพื่อชมวิวที่ดีขึ้น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และร้องเพลง ทหารม้าและทหารราบหลายร้อยนาย พร้อมด้วยสารวัตรทหาร จับฝูงชนด้วยความยากลำบาก พวกเขาตะโกนว่า “ล้างแค้น” และ “ความตาย!” และโห่ร้องยินดีเมื่อใบมีดตกลงมา อารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ของฝูงชนและความอยากรู้ผิดทางของพวกเขาทำให้สาธารณชนอับอายขายหน้า
บทความที่ตีพิมพ์ใน Cultural History Gregory Shaya กล่าวไว้ว่า
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1860 – 1910 บรรดานักวิจารณ์ต่างก็พาดพิงถึงการประหารชีวิตในที่สาธารณะที่เสื่อมทราม พวกเขาแทบไม่ต้องพูดถึงความรุนแรงของการลงโทษประหารชีวิตเช่นนี้ ปัญหาที่หลอกหลอนพวกเขาคือฝูงชนที่มารวมตัวกันรอบกิโยติน
หลังจากการประหารชีวิตในปี 1939
รัฐบาลได้สั่งห้ามการประหารชีวิตในที่สาธารณะทั้งหมด และ Weidmann ได้อยู่ในประวัติศาสตร์ในฐานะชายคนสุดท้ายในฝรั่งเศสที่ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้ละเว้นการประหารชีวิตและวิธีการที่รุนแรงและการใช้กิโยตินยังถูกใช้งานอยู่
กิโยตินยังคงเป็นวิธีการประหารชีวิตอย่างเป็นทางการในฝรั่งเศส จนกระทั่งโทษประหารชีวิตถูกยกเลิกในปี 1981 การประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 1977 ในเมืองมาร์เซย์เมื่อ Hamida Djandoubi นักทรมานและฆาตกรถูกประหารชีวิต การเสียชีวิตของ Djandoubi เป็นครั้งสุดท้ายที่ใช้กิโยตินประหารชีวิตนักโทษ