ถ้ำแห่งไวรัส ‘คีตัม’ ที่มาของเชื้อไวรัสมรณะที่ยังไม่เข้าใจ

ถ้ำคีตัม หรือ Kitum Cave หากค้นหาคำนี้ มักจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อจากไวรัสที่ชื่อว่า "Marburg Virus" และช้างที่เข้าไปในถ้ำเพื่อเลียเกลือที่มีอยู่มากมายในถ้ำคีตัม ความจริงแล้วถ้ำแห่งนี้สวยงาม แต่ก็มีอันตรายมากเช่นกัน เพราะมันเต็มไปด้วยสัตว์ป่าหลายชนิด ทั้งช้าง ควายป่า เสือดาว ละมั่ง ไฮยีน่า และอื่นๆ พวกมันจะแวะเวียนเข้ามาทั้งเพื่อเกลือในถ้ำ หรือจะเพื่อดักรอเหยื่อของมัน

มีถ้ำอยู่หลายแห่งที่ตั้งอยู่บนภูเขาเอลกอน แห่งเคยา แต่ดูเหมือนถ้ำคีตัม (Kitum Cave) จะมีชื่อเสียงมากที่สุด มันทอดตัวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ 700 ฟุต ผนังของถ้ำคีตัมเต็มไปด้วยเกลือ และยังมีเครื่องหมายแปลกๆ มากมาย คาดว่าในอดีตเคยมีการค้นหาทองคำหรือเพชร

ทุกคืนในถ้ำแห่งนี้ จะมีสัตว์ต่างๆ เดินทางเข้ามาเพื่อเลียเกลือตามผนังถ้ำ โดยเฉพาะช้างขนาดใหญ่จะมีเข้ามามากเป็นพิเศษ จนถ้ำถูกเรียกว่า “ถ้ำช้าง” และดูเหมือนที่ผ่านมาช้างจะทำให้ถ้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะพวกมันมักใช้กำลังขุดหาเกลือ

ชื่อเสียงที่มากกว่าการเป็นถ้ำช้าง

Advertisements

จริงอยู่ว่าสัตว์ป่าอาจทำให้ถ้ำแห่งนี้อันตราย แต่สิ่งที่อันตรายจริงๆ คือการที่มันแหล่งกำเนิดเชื้อไวรัสมรณะที่ชื่อว่า “Marburg Virus” ความจริงเชื้อชนิดมีความร้ายแรงมาก และยังคล้ายกับไวรัสอีโบลา มันถูกพบในปี 1980 จากการที่นักท่องเที่ยวติดเชื้อ

เคสการตายของนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส เขามีอาการหลังออกจากถ้ำ 1 สัปดาห์ อาการของเขาคือ ปวดหัว มีไข้ และอาเจียน จากนั้นเลือดออกทางจมูกไม่หยุด เขาถูกส่งไปโรงพยาบาล แต่สายเกินไป เขาอาเจียนเป็นเลือดจำนวนมาก หมดสติ และเลือดก็เริ่มออกมาจากทุกช่องทางจนเขาเสียชีวิต




หลังจากนั้นสหรัฐฯ และเคนยา ส่งทีมงานเข้าไปในถ้ำเพื่อค้นหาที่มาของไวรัสชนิดนี้ พวกเขาใช้ชุดไบโอสูท และเก็บตัวอย่างจากทุกสิ่งที่พบในถ้ำ แต่ก็ไม่พบอะไรเลย จน 20 ปีต่อมา Marburg Virus ถูกพบอีกครั้งใน ถ้ำ Kitaka ในยูกันดา ซึ่งเป็นการระบาดในคนงานเหมืองท้องถิ่น

จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ตรวจพบไวรัสในค้างคาวผลไม้อียิปต์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่พบถ้ำคีตัม และนี่เป็นครั้งแรกที่ข้อมูลพิสูจน์ว่าค้างคาวผลไม้เป็นแหล่งสะสมไวรัสที่สำคัญชนิดหนึ่ง แน่นอนว่าพวกมันเป็นพาหะนำโรคอีกด้วย

กว่าจะรู้ว่าเชื้อไวรัสมาจากค้างคาว ก็ผ่านมา 20 ปี




“ตามข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุว่า Marburg Virus เป็นโรคความรุนแรงสูง มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 88% มันอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสอีโบลา เคยระบาดมาแล้ว 2 ครั้ง ระยะฟักตัว 2 – 21 วัน ..ยังไม่มียารักษาเฉพาะ”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements