ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าปกติกะพงขาวชอบอยู่ยังไง
“ปกติปลากะพงขาวจะอาศัยอยู่ในบริเวณกระแสน้ำไม่เชี่ยว ไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงๆ หลายๆ ตัว แต่มักจะไปเป็นคู่หรือสามสี่ตัว ในเขตชายฝั่งจะพบตามสันดอนตามปากอ่าว ปีกรั๊ว ปีกโป๊ะ หรือตามกร่ำ”
นักตกปลากะพงขาวมักจะวางเบ็ดในบริเวณที่น้ำมีสีขาวนวลดู คล้ายผิวน้ำจืด ไม่ขุ่นไม่ใสและไม่เป็นละออง กระแสน้ำไหลเอื่อยๆ เพราะทำเลแบบนี้ เป็นแหล่งรวมของสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของพวกมัน เช่น กุ้ง ปลา กระบอกและลูกปลากุเรา นอกจากนี้ปลากะพงขาวยังชอบอยู่ในที่พื้นดินเป็นโคลนน้ำกร่อย ไม่ชอบอยู่ที่น้ำเค็มเกินไป หรือจืดสนิทก็ไม่ค่อยชอบเช่นกัน โดยมากอยู่ในระดับน้ำลึกประมาณ 2-8 เมตร
การตกปลากะพงขาวด้วยเหยื่อเป็น
จริงๆ สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแหล่งน้ำที่เราจะไปตกมันเป็นยังไง และเนื่องจากปลากะพงขาวอาศัยอยู่ ในน้ำจืด น้ำกร่อยและบริเวณชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นน้ำเค็ม จึงทำให้การตกปลาชนิดนี้ ของแต่ละหมายต่างกันออกไป เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจกระผมจะขอแบ่งออกเป็นหัวข้อง่ายๆ ดังนี้
บริเวณชายฝั่ง
กะพงขาวที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในบ้านเรา พวกมันก็ไม่ได้ไกลฝั่งมากนัก บริเวณชายฝั่งที่มีป่าชายเลนขึ้นปกคลุม หรือบริเวณชายฝั่งที่มีซากโป๊ะ หรือสิ่งปรับกหักพังอยู่ใต้น้ำมีข้อสังเกตุอยู่ประการหนึ่ง ชายฝั่งทะเลที่อยู่ใกล้กับปากแม่น้ำ ปลากะพงขาวจะชุกชุมเป็นพิเศษ เนื่องจากในวงจรชีวิตของปลากะพงจะมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปมาระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มเสมอ
“แหล่งตกปลากะพงขาวบริเวณชายทะเลใกล้กรุงหน่อยก็ แหลมแท่นซึ่งอยู่ถัดจากหาดบางแสน (สมัยนี่หาง่ายหรือเปล่าไม่รู้) จะเห็นคนตกกระจำ หรือบริเวณเกาะลอย อำเภอศรีราชาปลากะพงขาวที่ตกได้จากบริเวณชายฝั่งจะมีขนาดตัวไม่โตมากนัก เหยื่อที่ใช้ได้ผลก็คือ กุ้งเป็น ว่ากันว่านอกจากกุ้งเป็นแล้วเหยื่อปลากระบอกเป็นๆ ที่ว่ายดิ้นอยู่ในน้ำก็ได้ผลดีเช่นกัน”
ถ้าบริเวณที่ตกเต็มไปด้วยกองหินหรือแนวปะการัง ให้ผูกตะกั่วแยกออกมาจากสายเส้นหลัก โดยใช้สายเอ็นที่มีขนาดเล็กกว่าผูกติดกับตะกั่ว เพื่อว่าจะได้ไม่เสียชัดปลายสายทั้งชุด
บริเวณปากแม่น้ำ
การตกปลากะพงขาวในบริเวณปากแม่น้ำที่เชื่อมติดกับทะเล หรืออาจครอบคลุมบริเวณป่าโกงกางหรือบริเวรป่าชายเลน นอกจากจะเหวี่ยงเหยื่อจากริมฝั่งแล้ว การลอยเรือตกก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีมากๆ ปลากะพงขาวที่ตกได้จากบริเวณนี้ในอดีตเคยมีขนาดใหญ่ อาจมีขนาดตัวละ 20-30 กิโลเลย แต่สมัยนี่คงยากแล้ว
“เดือนที่ตกปลากะพงขาวดี ตามปากน้ำในฝั่งอ่าวไทยได้แก่ เดือนเมษายน-ตุลาคม แต่จะชุกชุมในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน ส่วนทางฝั่งมหาสมุทรอินเดียก็จะตรงกับเดือนมีนาคม-กรกฎาคม”
ในช่วงเดือนดังกล่าวจะเป็นฤดูที่พ่อแม่ปลาที่สมบูรณ์ จะเคลื่อนย้ายจากแหล่งน้ำกร่อยไปรวมตัวกันบริเวณปากแม่น้ำที่มีระดับความเค็มเหมาะสม ปลากะพงขาวจะรวมฝูงเป็นกลุ่มเล็กๆ 5-10 ตัว
“ว่ากันว่า (ไม่เคยลองอะนะ) ปลาจะชอบไปอยู่รวมกันที่น้ำอุณหภูมิประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส ถ้ามีเทอร์โมมิเตอร์ก็ลองเอาไปวัดดูและกัน อาจเพิ่มโอกาสตกพวกมันได้มากขึ้น”
เหยื่อที่ใช้ได้ผลยังคงเป็นกุ้งและลูกปลากระบอก บางครั้งปลาหมอเทศก็ใช้ได้ ในช่วงหัวน้ำขึ้นเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการตกปลากะพงขาว การตกปลาในตอนกลางคืนผมว่าจะดีกว่าตอนกลางวันแต่ก็ไม่ค่อยปลอดภัย
บริเวณน้ำจืด
นับรวมทั้งแม่น้ำลำคลองในช่วงที่ลึกเข้ามาในแผ่นดินจนสภาพน้ำแทบจะจืดสนิท ปลากะพงขาวที่เข้ามาอาศัยอยู่ในน้ำจืดมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปลากะพงน้ำจืด อยู่รวมกับปลาน้ำจืดทั่วๆ ไป ลึกเข้าไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยาจากปากเกร็ดนนทบุรี ไปจนถึงอยุธยา
ในช่วงที่กระแสน้ำไหลเอื่อยๆ ไม่เชี่ยว เป็นช่วงที่ตกปลากะพงขาวดี ส่วนเหยื่อที่ใช้นั้นก็เป็นลูกปลาสร้อยปลาตะเพียน ปลาบัว ฯลฯ แต่โอกาสที่จะได้ตัวมีน้อยมากเพราะปัจจุบันในแม่น้ำแทบทุกสาย นอกจากน้ำจะไม่ดีแล้ว ยังเต็มไปด้วยตาข่ายหลายร้อยหลายพันผืนขึงดักโยงเต็มพรืดไปหมด ก่อนจะเหวี่ยงเบ็ดลงเหยื่อต้องคอยสังเกตทุ่นโฟมสีขาวที่ใช้พยุงตาข่ายได้ดี มิฉะนั้นบรรดานักตกปลาอาจจะได้เย่อตาข่ายผืนใหญ่แทนการเย่อกับปลา
เอาล่ะก็ขอจบเรื่องของการตกปลากะพงขาวธรรมชาติแต่เพียงเท่านี้ น้าๆ สามารถเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เช่น พื้นฐานคันเบ็ด การเคาะเหยื่อปลอม หรือวิธีตกปลาอื่นๆ ได้จากลิงค์ด้านล่างครับ
มือใหม่หัดตี กับเรื่องของคันเบ็ด
เรื่องของรอกมือใหม่ กับทุกสิ่งที่คุณควรที่จะรู้
เคาะปลั๊กคืออะไร เรียนรู้พื้นฐานการเคาะ และสิ่งที่เรียกว่าปลั๊ก
ตกปลากราย ด้วยเหยื่อเป็น จะทำยังไง
Alberto หรือ Albright เงื่อนด่วนแบบไหนที่เลือกใช้
FG Knots เทคนิคต่อช็อคด้วยเงื่อน FG แบบนิ้วชี้- นิ้งโป้ง
ตกปลาเค้า ปลาค้าว จะตกยังไงให้ได้ตัว