ค้างคาวขาวฮอนดูรัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดแรกที่มีแคโรทีนอยด์ความเข้มข้นสูง

แคโรทีนอยด์ ที่พูดถึงคืออะไร? ง่ายๆ เลยสิ่งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะการรักษาอาการจอประสาทตาเสื่อมในมนุษย์ แต่สิ่งก็ยังอยู่ในระหว่างทำความเข้าใจว่า ค้างคาวขาวฮอนดูรันทำได้ยังไง? ถึงได้ดูดซึมแคโรทีนอยด์ความเข้มข้นสูงขนาดนี้มาเก็บไว้ที่ตัว มาทำความรู้จักเจ้าค้างคาวขาวฮอนดูรันกันเลย

ค้างคาว

ค้างคาวขาวฮอนดูรัน ค้างคาวน่ารักที่สุดในโลก?

Advertisements

ค้างคาวขาวฮอนดูรัน (Honduran white bat) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตัวเล็ก ดูปุกปุยสีขาวและอ้วนกลม มันมีรูปร่างภายนอกที่เรียกว่าน่ารักได้เลย มันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ectophylla alba เป็นค้างคาวขนาดเล็กความยาวเพียง 37 – 47 มิลลิเมตร มีขนสีขาว หูและจมูกสีเหลือง

พบพวกมันได้ที่ ฮอนดูรัส , นิคารากัว , คอสตาริก้า และทางตะวันตกของปานามา โดยพวกมันมักอาศัยอยู่ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่น้อยกว่า 700 เมตร เป็นค้างคาวที่มักจะใช้ใบของต้น Heliconia ทำเป็นกระโจม แล้วห้อยตัวอยู่ใต้ใบ (ใบไม้อื่นใหญ่ๆ มันก็ใช้) เพื่อป้องกันนักล่า แดดฝน และพวกมันเป็นสัตว์กินพืช

หูและจมูกสีเหลือง เป็นสิ่งที่ทำให้มันพิเศษ

เราอาจมองเห็นสีขาวตัวกลมคือความน่ารักของมัน แต่จริงๆ แล้วนักวิจัยสมใจ “หู จมูก และปาก ที่เป็นสีเหลืองสดใส” ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมของแคโรทีนอยด์ปริมาณมาก ซึ่งกลไกของการสะสมนี้กำลังได้รับการวิจัยและทำความเข้าใจ เพื่อต่อสู้กับอาการเสื่อมของจอประสาทตาในมนุษย์

Advertisements

ในปี 2016 นักวิจัยค้นพบว่าค้างคาวขาวฮอนโดรัน ใช้แคโรทีนอยด์เพื่อสร้างสีของหู จมูก และริมฝีปาก จนเป็นสีเหลืองส้ม “มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดแรกที่ได้รับการบันทึกว่ามีแคโรทีนอยด์ที่มีความเข้มข้นสูงเพียงพอที่จะสร้างสีผิวที่มองเห็นได้”

มันเป็นสัตว์ที่สามารถแยกสีออกจากอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผลไม้ มันสามารถเก็บสะสมลูทีนซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ให้อยู่ในรูปอิสระในตับ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าค้างคาวขาวฮอนดูรัส มีกลไกทางสรีรวิทยาในการเปลี่ยนลูทีนอิสระให้เป็นลูทีนเอสเทอร์ ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถทำได้ โดยลูทีนจะมีบทบาทสำคัญในดวงตาอย่างมาก มันป้องกันความเสียหายต่อเรตินา

มีการตั้งสมมติฐานว่าหากลูทีนอิสระในดวงตาของมนุษย์ ถูกทำให้เป็นเอสเทอร์จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการป้องกันความเสียหายและรักษาการมองเห็น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการที่ค้างคาวขาวฮอนดูรัส เปลี่ยนลูทีนอิสระเป็นลูทีนเอสเทอร์ จะช่วยให้เราเข้าใจว่าความสามารถในการดูดซึมแคโรทีนอยด์จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจมีการประยุกต์ใช้ในการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจและรักษาอาการจอประสาทตาเสื่อมในมนุษย์ได้อีกด้วย

“ค้างคาวขาวฮอนดูรัน พบครั้งแรกในปี 1898 และการติดตามอย่างต่อเนื่องจนในปี 1963 พวกมันได้รับการประเมินว่าใกล้ถูกคุกคาม พวกมันลดลงราวๆ 30% เหตุผลที่ประชากรค้างคาวชนิดนี้ลดลง เพราะการขยายตัวของมนุษย์ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อที่อยู่อาศัย อาหารหลักอย่างมะเดื่อ และที่นอนของมันก็ลดน้อยลงเช่นกัน ..สุดท้ายก็หวังว่าค้างคาวที่น่ารักและมีประโยชน์จะเพิ่มจำนวนขึ้นในอนาคต”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements