จากรายงานใหม่ที่ตรวจสอบประชากรของหนูเมโลมิส ที่อาศัยอยู่เพียงเกาะเล็กๆ แห่งเดียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสันดอนทรายของแนวปะการัง Great Barrier Reef ของออสเตรเลีย
ในการสำรวจครั้งล่าสุดซึ่งกินเวลา 6 วัน ซึ่งถือว่าเพียงพอ เพราะพื้นเนื้อที่เกาะเหลือเพียง 6.3 เอเคอร์ หรือราวๆ 16 ไร่ ซึ่งมีขนาดเพียง 63 เปอร์เซ็นต์ของขนาดเมื่อปลายปี 1990 เท่านั้น และล่าสุดเกาะแห่งนี้ก็มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 3 เมตร มันแสดงให้เห็นว่าเกาะกำลังถูกน้ำทะเลไหลเข้ามามากขึ้นๆ
ด้วยน้ำทะเลที่ท่วมเกาะทำให้ดินเค็ม ต้นไม้ขึ้นได้น้อย จนเกาะเกือบจะเป็นพื้นที่แห้งแล้งโดยสมบูรณ์ และสัตว์ฟันแทะอย่างหนูก็มีพืชกินน้อยลง สุดท้ายสูญเสียแห่งอาหาร สูญเสียที่อยู่อาศัย บางตัวต้องจมน้ำตาย จนทำให้ประชากรของพวกมันล่มสลาย
“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของประชากรกลุ่มนี้เกือบจะแน่นอนว่าเป็นน้ำท่วม นั้นเพราะที่อยู่ของพวกมันเป็นสันดอนที่อยู่ต่ำ เป็นไปได้มากหลายครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทำให้เกิดการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยและอาจถึงขั้นเสียชีวิตโดยตรงของพวกหนู”
ระดับน้ำทะเลของโลกเพิ่มขึ้น 19 นิ้ว ตั้งแต่ปี 1901 ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วง 6,000 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้มันมีรายงานว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ระดับน้ำทะเลในภูมิภาค Bramble Cay ได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของอัตราทั่วโลก
หนูหนูเมโลมิสหรือที่รู้จักกันในนามหนูหางโมเสก เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่มีถิ่นกำเนิดในแนวปะการัง Great Barrier Reef มันถูกพบและบันทึกครั้งแรกในปี 1845 และครั้งสุดท้ายที่พบคือปี 2009