ฟิล์มเจลที่เห็นอยู่นี้ 1 กิโลกรัม สามารถสกัดน้ำจากอากาศอย่างน้อย 6 ลิตรต่อวัน

องค์การอนามัยโลกระบุว่า เกือบหนึ่งในสามของคนทั่วโลก ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดได้ และจำนวนดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลสองประการคือ การเติบโตของประชากรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนี่คือเหตุผลที่นักวิจัยบางคนทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อป้องกันอนาคตที่จะขาดน้ำ

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือ การสร้างสมดุลระหว่างจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น กับปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด แถมยังมีแนวโน้มว่าจะลดลงอีก แต่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทกซัสที่ออสตินได้คิดนอกกรอบ พวกเขาผลักดันขอบเขตของแหล่งน้ำที่เราสามารถจัดหาได้

จากการวิจัยใหม่นี้ พวกเขาอธิบายว่า ฟิล์มเจลราคาถูกนี้สามารถกักเก็บน้ำจากอากาศได้ มันจะดึงน้ำดื่มได้ 2 – 3 ลิตรต่อวันแม้ในสภาพอากาศที่แห้ง

เจลที่ว่านี้ ทำมาจากเซลลูโลสซึ่งเป็นสารหลักที่พบในผนังเซลล์พืช ที่ช่วยให้พืชยังคงแข็งแรง และ ผงบุก (konjac gum) ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารธรรมชาติที่ละลายน้ำได้ ซึ่งมักใช้เป็นสารเติมแต่งอาหาร แน่นอนวัสดุทั้งสองมีราคาไม่แพงและยังหาได้ไม่ยาก

ส่วนประกอบทั้งสองเมื่อเอามาผสมมันก็สามารถทำงานร่วมกัน เพื่อดูดซับน้ำจากอากาศ โครงสร้างที่มีรูพรุนของผงบุกจะดึงดูดโมเลกุลของน้ำและกักขังไว้ภายใน จากนั้นเมื่อถูกความร้อน เซลลูโลสจะกลายเป็นสารกันน้ำ แล้วจะปล่อยน้ำที่ดูดซับไว้ออกมา

ในระหว่างการทดลองโดยใช้อากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 30% พวกเขาพบว่า เจลหนึ่งกิโลกรัมสามารถสกัดและปล่อยน้ำได้ 13 ลิตรในระยะเวลา 24 ชั่วโมง และที่ความชื้นสัมพัทธ์ 15% ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณคาดหวังว่าจะได้เห็นในทะเลทราย เจลยังคงสามารถผลิตน้ำได้มากกว่า 6 ลิตรต่อกิโลกรัม

Advertisements

สิ่งนี้จะสามารถช่วยให้ผู้คนนับล้าน ที่ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มได้อย่างสม่ำเสมอ มีอุปกรณ์สร้างน้ำที่เรียบง่ายที่บ้านซึ่งพวกเขาสามารถใช้งานได้ง่าย เพราะในตอนนี้หากมีวัตถุดิบทุกคนจะสามารถทำเองที่บ้านได้ .. และเมื่อมาถึงตรงนี้ เรื่องจะเอาไปใช้งานจริง (จำนวนมาก) ยังคงต้องใช้เวลาวิจัยอีกหน่อย

การวิจัยนี้ ได้รับทุนจากสำนักโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม หรือ DARPA เพื่อที่จะผลิตน้ำดื่มสำหรับทหารในสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และนักวิจัยหวังว่าเจลราคาไม่แพงนี้ จะสามารถซื้อได้ที่ร้านฮาร์ดแวร์และนำไปใช้ที่บ้านได้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาzmescience