บันทึกการจับปลาบึก ในแหล่งแพร่พันธุ์ปลาบึกแห่งแรกของโลก

ความจริงเรื่องนี้ค่อนข้างเก่า แต่ผมเห็นว่ามันเป็นข้อมูลที่ดี และควรค่าแก่การเก็บรักษาไว้ในสื่อที่ได้รับการปรับปรุง อย่างน้อยก็จะช่วยให้คนรุ่นใหม่ค้นหา หรือ! มองเห็นข้อมูลในส่วนนี้ได้ง่ายขึ้น แต่! ที่ผมจะมาขอเน้นย่ำก่อนจะเข้าเรื่องก็คือ เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้! กว่าครึ่งไม่น่าจะพบเจอได้แล้วในปัจจุบัน เพราะนี่ไม่ใช่บันทึกปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องเมื่อกว่า 40 ปีก่อน แม้ผมจะปรับปรุงแล้ว แต่ก็มันเก่าอยู่ดี! …ถ้าดูแล้วชอบก็อย่าลืมกดติดตาม กดกระดิ่ง หรือหากต้องการสมัครสมาชิกก็ทำได้เช่นกัน

แหล่งจับปลาบึกที่มีชื่อเสียงมากที่สุด

Advertisements

อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีชื่อเสียงทางด้านการจับปลาบึกมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยการจับปลาบึกของที่นี้เป็นประเพณีเลยก็ว่าได้ ชาวประมงจะเริ่มจับปลาบึกในแม่น้ำโขงกันในช่วงเดือน เมษายน จนถึงเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาบึกจะว่ายขึ้นเหนือเพื่อวางไข่

แต่! ก่อนจะมีการจับปลาบึก พวกเขาจะต้องทำพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก ซึ่งจะทำพิธีในวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี! หลังจากนั้นจึงจะเริ่มจับปลาบึกได้ โดยเครื่องมือการจับปลาบึกของที่นี่จะเรียกว่า “มอง” มันเป็นอวนขนาดใหญ่ ที่ปกติจะวางได้ลึก 3 เมตร และยาว 200 – 300 เมตร

แต่ก่อนที่จะมี “มอง” ที่เป็นเครื่องมือจับปลาบึกขนาดใหญ่ พรานปลาบึกสมัยก่อนโน่นจะใช้สิ่งที่เรียกว่า “กวัก” มันเป็นเครื่องมือจับปลาที่มีรูปร่างคล้ายถุงขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร ยาว 5 เมตร ด้วยเหตุนี้ กวักจึงเล็กกว่ามองมาก จากจับปลาบึกในสมัยนั้นจึงยากมากๆ

เพราะการใช้กวักต้องอาศัยความสามารถที่น่าทึ่ง บวกกับความอดทนเป็นยอด พรานปลาต้องเฝ้าสังเกตฟองคลื่นที่ผิวน้ำทั้งวันทั้งคืน จึงจะจับปลาบึกได้ จนถึงกับมีการตั้งสมญานามให้พรานปลาระดับนี้มี “เสือตาไฟ” ก่อนที่จะพัฒนา “มอง” ที่เป็นเครื่องมือขนาดใหญ่ขึ้นมา!

ปลาบึกเป็นปลาที่อยู่ในจุดที่พูดได้ว่า “ใกล้สูญพันธุ์ (EN)” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 (1983) หรือเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน ในปีนั้นมีรายงานการจับปลาบึกได้เพียง 2 ตัว! และในปีนี้เองที่กรมประมงประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาบึกเป็นครั้งแรกของโลก! โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่จับได้จากแม่น้ำโขงในเขตอำเภอเชียงของ …แต่ลูกปลาที่รอดชีวิตก็แค่หลักสิบตัวเท่านั้น

Advertisements

แหล่งแพร่พันธุ์ปลาบึกแห่งแรกของโลก อ.เชียงของ จ.เชียงราย The first place in the world reproduction of Giant Catfish.” …หากไม่มีป้ายประกาศพร้อมรูปปั้น “ปลาบึก” ที่ลานหน้าวัดหาดไคร้ ก็แทบไม่มีสิ่งใดบ่งบอกว่า หมู่บ้านริมฝั่งโขงแห่งนี้ คือถิ่นฐานของพรานปลาบึกผู้เก่งฉกาจ ที่แค่มองดูฟองคลื่นที่ผิวน้ำ ก็รู้ว่าเป็นปลาอะไร รู้แม้แต่เพศใด และแม้พวกเขาจะจับปลาบึกได้เก่งมาก แต่หากดูจากสถิติต่อไปนี้ จะรู้ว่าปลาบึกจับได้ยากขนาดไหน!

สถิติการจับปลาบึกมาจากสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 – 2548

  • ปี พ.ศ. 2526 (1983) ปลาบึกตัวผู้ 1 ตัว / ตัวเมีย 1 ตัว รวม 2 ตัว
  • ปี พ.ศ. 2527 (1984) ปลาบึกตัวผู้ 9 ตัว / ตัวเมีย 6 ตัว รวม 15 ตัว
  • ปี พ.ศ. 2528 (1985) ปลาบึกตัวผู้ 14 ตัว / ตัวเมีย 3 ตัว รวม 17 ตัว
  • ปี พ.ศ. 2529 (1986) ปลาบึกตัวผู้ 4 ตัว / ตัวเมีย 1 ตัว รวม 5 ตัว
  • ปี พ.ศ. 2530 (1987) ปลาบึกตัวผู้ 22 ตัว / ตัวเมีย 2 ตัว รวม 24
  • ปี พ.ศ. 2531 (1988) ปลาบึกตัวผู้ 27 ตัว / ตัวเมีย 25 ตัว รวม 52
  • ปี พ.ศ. 2532 (1989) ปลาบึกตัวผู้ 39 ตัว / ตัวเมีย 22 ตัว รวม 61 (จับได้ที่ฝั่งลาว 1 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2533 (1990) ปลาบึกตัวผู้ 35 ตัว / ตัวเมีย 30 ตัว รวม 65 (จับได้ที่ฝั่งลาว 11 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2534 (1991) ปลาบึกตัวผู้ 14 ตัว / ตัวเมีย 19 ตัว รวม 38 (จับได้ที่ฝั่งลาว 8 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2535 (1992) ปลาบึกตัวผู้ 14 ตัว / ตัวเมีย 8 ตัว รวม 22
  • ปี พ.ศ. 2536 (1993) ปลาบึกตัวผู้ 27 ตัว / ตัวเมีย 21 ตัว รวม 48 (จับได้ที่ฝั่งลาว 18 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2537 (1994) ปลาบึกตัวผู้ 10 ตัว / ตัวเมีย 8 ตัว รวม 18 (จับได้ที่ฝั่งลาว 3 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2538 (1995) ปลาบึกตัวผู้ 10 ตัว / ตัวเมีย 6 ตัว รวม 16 (จับได้ที่ฝั่งลาว 5 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2539 (1996) ปลาบึกตัวผู้ 5 ตัว / ตัวเมีย 2 ตัว รวม 7
  • ปี พ.ศ. 2540 (1997) ปลาบึกตัวผู้ 3 ตัว / ตัวเมีย 2 ตัว รวม 5 (จับได้ที่ฝั่งลาว 4 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2541 (1998) ปลาบึกตัวผู้ 1 ตัว / ตัวเมีย 0 ตัว รวม 1
  • ปี พ.ศ. 2542 (1999) ปลาบึกตัวผู้ 4 ตัว / ตัวเมีย 11 ตัว และไม่มีข้อมูลอีก 5 ตัว รวม 20 (จับได้ที่ฝั่งลาว 5 ตัว)
  • ปี พ.ศ. 2543 (2000) ปลาบึกตัวผู้ 1 ตัว / ตัวเมีย 1 ตัว รวม 2
  • ปี พ.ศ. 2544 (2001) – พ.ศ. 2546 (2003) จับไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว
  • ปี พ.ศ. 2547 (2004) ปลาบึกตัวผู้ 4 ตัว / ตัวเมีย 3 ตัว รวม 7
  • ปี พ.ศ. 2548 (2005) ปลาบึกตัวผู้ 4 ตัว / ตัวเมีย 3 ตัว รวม 7 (จับได้ที่ฝั่งลาว 4 ตัว)

หากดูจากสถิติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 – 2548 มีปลาบึกที่ถูกจับจำนวนรวม 424 ตัว และมีสถิติที่น่าสนใจอยู่อีกอย่างหนึ่งคือ มีรายงานเกี่ยวกับลูกปลาบึก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 – 2548 เอาไว้ด้วย ซึ่งมีจำนวนรวม 3,319,780 ตัว ซึ่งเป็นลูกปลาบึกความยาว 12.5 – 17.5 เซนติเมตร แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการระบุเอาไว้ชัดว่า เป็นปลาบึกจากการเพาะเลี้ยง หรือจากธรรมชาติแท้ๆ

แต่หากมองจากไทม์ไลน์ การเพาะพันธุ์ปลาบึกโดยกรมประมงจนประสบความสำเร็จและมีลูกปลาเพียงพอที่จะปล่อยลงสู่ธรรมชาติ คือปี พ.ศ. 2544 (2001) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 (2000) จนถึง ปี พ.ศ. 2546 (2003) นอกจากจะจับปลาบึกตัวใหญ่ไม่ได้แล้ว ยังไม่มีรายงานการจับลูกปลาบึกได้แม้แต่ตัวเดียว

ด้วยเหตุนี้จึงอนุมานได้ว่า ลูกปลากว่า 3 ล้านตัว ที่ถูกจับได้ระหว่างปี พ.ศ. 2526 – 2543 เป็นลูกปลาบึกธรรมชาติ และข้อมูลที่เคยมีคนบอกว่า ที่ผ่านมาไม่เคยจับลูกปลาบึกได้ในเขตไทยเลย …จึงไม่เป็นความจริงเช่นกัน

จนปี พ.ศ. 2544 (2001) ก็มีรายงานการจับลูกปลาได้อีก แต่ก็เพียงไม่กี่พันตัวเท่านั้น และตั้งแต่นั้นมา จำนวนปลาบึกก็เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จนดูเหมือนอนาคตจะสดใจ …แต่มันไม่ง่ายอย่างงั้น

บทสรุปก่อนจาก!

ตามบันทึก เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีการจับปลาบึกที่มีน้ำหนักเฉลี่ยเกิน 200 กิโลกรัมได้มากถึง 69 ตัว แต่! ถึงอย่างงั้นความเป็นอยู่ของปลาบึกในแม่น้ำโขงกลับแย่ลง เนื่องมาจากสารพันปัญหาที่รุมเร้า ตั้งแต่การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในประเทศจีน การระเบิดแก่งหินกลางลำน้ำโขงตอนบน ทั้งนี้ก็เพื่อการเดินเรือเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ยังมีการสร้างค่านิยมผิดๆ ที่ว่าการกินเนื้อปลาบึกแล้วอายุจะยืน สติปัญญาจะเฉียบแหลม เพราะเป็นปลาเทพเจ้า สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลไปถึงปลาบึก ซึ่งเป็นปลาขนาดใหญ่ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ

และเพราะแบบนี้ สถิติการจับปลาบึก 69 ตัว เมื่อปี พ.ศ. 2533 ก็เหลือเพียง 5 ตัว ในปี พ.ศ. 2540 จน IUCN ขึ้นทะเบียนปลาบึกในบัญชีแดง หรือชนิดพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) จากนั้นเพียงไม่กี่ปี สถานะปลาบึกยิ่งเลวร้ายลง เมื่อถูกเลื่อนขั้นให้ยิ่งแดงเข้มไปอีก ซึ่งก็คือใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ!

Advertisements

ปัจจุบันแม้จะยุติการล่าปลาบึกในแม่น้ำโขงไปแล้ว แต่ก็ยังมีการจัดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกกันอยู่ ซึ่งจัดที่ ลานหน้าวัดหาดไคร้ ในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี โดยมีความเชื่อว่าพิธีนี้จะบันดาลความร่มเย็นเป็นสุขให้

แต่ก็มีเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะในวันนี้หากใครไปเยือนหาดไคร้ไม่ตรงกับวันที่ 18 เมษายน ก็แทบจะไม่รู้เรื่องปลาบึก เพราะไม่มีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงหรือแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ดีๆ เอาไว้ ส่วนพิพิธภัณฑ์ปลาบึกอาคารหรูๆ ริมฝั่งโขง ก็ไม่ค่อยมีอะไร ในขณะที่พรานปลาบึกระดับ “เสือตาไฟ” ก็ค่อยๆ ร่วงโรยและอำลาจากโลกนี้ไปอย่างเงียบเชียบ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements