หมูป่า ‘กัมมันตภาพรังสี’ ที่กำเนิดในดินแดนรกร้างทางนิวเคลียร์ของฟุกุชิมะ

คงจำกันได้เมื่อปี 2011 ได้เกิด "ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะ" ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยพิบัตินิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 รองจาก "เชอร์โนบิล" และทำให้เกิดพื้นที่พิเศษที่มนุษย์ไม่สามารถอาศัยได้ แต่จากการตรวจสอบล่าสุดพวกเขาพบกับ "หมูป่า" ชนิดใหม่ที่เกิดและอาศัยอยู่ในดินแดนรกร้างนิวเคลียร์ของฟุกุชิมะ และมันมีชื่อเล่นว่า "หมูป่ากัมมันตภาพรังสี"

หมูป่ากัมมันตภาพรังสี

ผลการศึกษาใหม่เมื่อเร็วๆ นี้เปิดเผยว่าหมูป่าได้ผสมพันธุ์กับหมูบ้าน (ที่อยู่อย่างอิสระ) จนพัฒนาเป็นสายพันธุ์ลูกผสมชนิดใหม่ จากการศึกษานี้นำโดย โดโนแวน แอนเดอร์สัน (Donovan Anderson) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟุกุชิมะในญี่ปุ่น ซึ่งกำลังขับรถผ่านเขตยกเว้นในพื้นที่รอบๆ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เพื่อเฝ้าดูและเก็บตัวอย่างพวกมัน

“หมูป่าหลายร้อยตัวที่ในเขตรกร้างนิวเคลียร์ของฟุกุชิมะ มีระดับของธาตุกัมมันตภาพรังสีซีเซียม-137 สูงกว่าระดับที่ปลอดภัยถึง 300 เท่า”

พวกเขาได้ไปเก็บตัวอย่างจากหมูป่ามากกว่า 240 ตัว เพื่อไปตรวจ DNA หลังจากนั้นก็พบว่า มีหมูป่า 31 ตัวที่เป็นหมูป่าลูกผสม มันเป็นสิ่งยืนยันว่ามีการข้ามสายพันธุ์กัน

หลังจากนั้นทีมงานก็พบเรื่องประหลาดใจ ที่ว่าหมูป่าลูกผสมมีพันธุกรรมของหมูบ้านเพียง “เล็กน้อย” เท่านั้น และดูเหมือนจะน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

แม้นักวิจัยเรียกชื่อเล่นว่า “หมูป่ากัมมันตภาพรังสี (Radioactive Boar-Pigs) แต่พวกมันไม่ได้เชื่อมโยงกับกัมมันตภาพรังสีที่ทำให้เกิดการพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสมใหม่ (แต่พวกมันก็มีการแผ่รังสี)

ตามรายละเอียดในเว็บไซต์สมาคมนิวเคลียร์โลก หมูป่าชนิดนี้ยังคงมีการปนเปื้อนรังสีค่อนข้างมาก และสามารถวัดค่าในช่วงตั้งแต่กัมมันตภาพรังสีเป็นศูนย์จนถึง 30,000 เบกเคอเรลต่อกิโลกรัม

นอกจากนี้หมูป่าชนิดนี้ยังมีพฤติกรรมแปลกกว่าหมูป่าข้างนอกเล็กน้อย พวกเขาเรียกว่า “พฤติกรรมเวลากลางวัน” มันหมายความว่า ภายในพื้นที่อพยพ โดยทั่วไปในช่วงกลางวันหมูป่าชนิดใหม่จะกระฉับกระเฉงกว่าเมื่อเทียบกับหมูป่าตัวอื่นๆ ซึ่งมักจะออกหากินเวลากลางคืน แต่นั้นอาจเพราะไม่มีภัยคุกคามอย่างมนุษย์

“รัฐบาลญี่ปุ่นประมาณการว่า ตั้งแต่ปี 2014 – 2018 ประชากรหมูป่าเพิ่มขึ้นจาก 49,000 เป็น 62,000 ตัว แม้ว่าทีมของ Anderson คาดว่าตัวเลขจริงจะต้องสูงกว่านั้น”

และตั้งแต่ปี 2018 มีการยืนยันความปลอดภัยในพื้นที่ส่วนใหญ่ของฟุกุชิมะ รวมทั้งสัตว์ป่าส่วนใหญ่ที่ไม่มีการปนเปื้อนรังสี ผู้คนก็เริ่มทยอยกลับเข้าพื้นที่

Advertisements

จากวันนั้นจนถึงวันนี้พวกเขาเริ่มกวาดล้างหมูป่าเกือบทั้งหมดในพื้นที่ แน่นอนว่าพวกมันยังมีอีกมากที่อยู่ในป่า ..ส่วนอนาคตของหมูป่าชนิดใหม่นี้จะเป็นยังไงต่อไป คงต้องรอดูกันต่อไป แต่ที่แน่ๆ คนญีปุ่นในพื้นที่พยายามจับ-ฆ่าหมูป่าเกือบทั้งหมดที่พบในเขต

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements