ฟอสซิล ‘จุลินทรีย์’ อายุ 3.5 พันล้านปี เก่าแก่ที่สุดในโลก

ในที่สุดนักวิจัยก็ค้นพบหลักฐานที่หนักแน่นว่า หินอายุ 3.5 พันล้านปี ในออสเตรเลียมีฟอสซิลของจุลินทรีย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จัก การค้นพบนี้ทำให้เกิดการโต้เถียงที่ยืดเยื้อมานานหลายปี และอาจทำให้เรากระจ่างว่า สิ่งมีชีวิตในยุคแรกๆ ของโลกมีชีวิตอยู่อย่างไร

ฟอสซิลจุลินทรีย์

Raphael Baumgartner จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ในออสเตรเลียและเพื่อนร่วมงานของเขา กำลังตรวจสอบหินในภูมิภาค Pilbara ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย โดยบริเวณนี้มีหินที่เก่าแก่ที่สุดบางส่วน ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้บนโลก และสิ่งที่เรียกว่าการก่อตัวของ Dresser Formation นั้นถือว่าเก่าแก่ที่สุด ซึ่งมีหินอายุมากถึง 3.48 พันล้านปี

Dresser Formation ดูเหมือนจะมีโครงสร้างเป็นชั้นๆ ที่เรียกว่าสโตรมาโทไลต์ (Stromatolite) สิ่งเหล่านี้เป็นที่รู้จักว่าจะก่อตัวเมื่อจุลินทรีย์เติบโตเป็นชั้นบางๆ จากนั้นจะกลายเป็นตะกอน เพียงเพื่อให้จุลินทรีย์อีกชั้นหนึ่งก่อตัวอยู่ด้านบนต่อๆ ไป

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยหลายคน ไม่เชื่อว่าโครงสร้างหินเหล่านี้เป็นสโตรมาโทไลต์ โดยพวกเขาอ้างว่าสิ่งนี้สามารถก่อตัวได้โดยไม่ต้องมีชีวิต

Baumgartner และเพื่อนร่วมงานของเขา ใช้วิธีเจาะเข้าไปในหินเพื่อเก็บตัวอย่างที่ดีที่สุด จนพวกเขาพบหินหลายชั้นที่ดูเหมือนสโตรมาโทไลต์ ..Baumgartner กล่าวว่าสิ่งเหล่านี้มี “อินทรียวัตถุที่เก็บรักษาไว้อย่างดีเยี่ยม” รวมถึงเส้นใยที่มองเห็นได้เมื่อจุลินทรีย์ก่อตัวเป็นชั้นๆ ที่เรียกว่าแผ่นชีวะ

จากการวิเคราะห์ทางเคมีหลายครั้ง ก็ระบุได้ว่าอินทรียวัตถุนี้มาจากสิ่งมีชีวิตแน่นอน ..Baumgartner กล่าวว่า “เราได้พบหลักฐานของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ไม่มีสารอินทรีย์หรือจุลินทรีย์ที่เชื่อว่าเก่ากว่าของเรา”

และแม้ว่าเคยมีการกล่าวอ้างเกี่ยวกับฟอสซิลที่มีอายุมากกว่า 4 พันล้านปี แต่ทั้งหมดยังไม่ได้รับการยอมรับมากนัก ..โดยสารอินทรีย์ที่ Baumgartner และเพื่อนร่วมงานพบส่วนใหญ่ ติดอยู่ภายในแร่ที่เรียกว่าไพไรต์ (pyrite) ซึ่งมีธาตุเหล็กและกำมะถัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements