เหยื่อปลอมฮิตตลอดกาลจากญีปุ่น (มีหลายรุ่นทำที่ประเทศอื่น) โดยเฉพาะในตลาดบ้านเราเหยื่อซีรีย์นี้ถ้าเป็นนัก ตกปลา จะต้องรู้จัก หรือไม่ก็เคยใช้กัน ด้วยความที่เป็นเหยื่อปลอมที่ใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหมายธรรมชาติอย่างเขื่อน, ฟิชชิ่งปาร์ค, หมายน้ำไหล, ชายฝั่ง ขนาดน้ำตกยังใช้ได้เลยและปัจจุบัน B’Freeze จะใช้ชื่อว่า Pointer ด้วยและเหยื่อซีรีย์นี้มีสีเยอะมากๆ รหัสรวมทั้งขนาดก็เยอะผมจึงขอเลือกตัวที่ผมชอบละกัน
จะว่ายังไงดีล่ะ ผมค่อนข้างศรัทธาเหยื่อซีรีย์นี้มากอยู่ เพราะมันทำให้ผมรอดแห้วมาหลายที โดยเฉพาะที่ 700 ไร่ นี่ทำผมสาหัสมาก (พายเรือ) แถมยังได้กระพงตัวแรกก็จากเหยื่อตัวนี้ จริงๆ ผมกับเพื่อนไปตกปลาไม่ค่อยจะถ่ายรู้สักเท่าไรเลยไม่ค่อยมีรูปมาโชว์กัน และถึงถ่ายก็เป็นกล่องมือถืออยู่ดี
ก็อย่างที่บอกไปว่าความพิเศษของเหยื่อซีรีย์นี้คือทำออกมาครอบคลุม เพราะมันถูกทำออกมาหลายขนาด ก็มีตั้งแต่ 48mm, 65mm, 78mm, 100mm, 128mm, 140mm (หลายตัวจะใช้ชื่อว่า Pointer) แต่โดยส่วนตัวถ้าเป็นน้ำจืดเล่นแค่ 48mm – 78mm ก็เหลือๆ นะครับ
สำหรับรุ่น 48sp มันจะมีน้ำหนักประมาณ 2.6g เป็นเหยื่อแบบจมช้า รุ่นนี้แนะนำเลยของเขาดีจริง สวยการตรงตัวเยี่ยม แม้จะตีทวนน้ำแรงๆ ก็ยังใช้ได้อยู่ แต่เลือก
ตัวนี้เป็น 48LB เหมือนๆ กับ 48SP เพราะเป็นแบบ Suspending เหมือนกัน เพียงแต่ตัวนี้จะดำลึกกว่าเล็กน้อย แต่จะลงได้เร็วกว่ามาก |
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ B’Freeze
- B’Freeze (Pointer)อาจจะเป็นซีรีย์ที่มีสี, รหัส, รวมไปถึงขนาดมากที่สุดในโลกเลยก็ได้ เพราะหากนับเพียงสี ก็มีเกือบ 200 สีแล้ว และรหัสของเหยือที่บอกถึงแอคชั่นหรือลักษณะเฉพาะก็มีเยอะมาก อย่างเช่นรหัส F, LB-F, SP, LB-SP, SB-SP, LB-S, EX-S, LB-EX-S แม้แต่รหัส DD (ดำด่วน) ก็ยังมีในซีรีย์
- รหัสที่นิยมใช้มากที่สุดในไทยคือ S (Sinking ) กับ SP (Suspending) ส่วน SB และอีกตัวคือ (Sinking – Short Bill) ตัวนี้จะมีคนอยากได้กัน แต่มันหาค่อนข้างยากนิดนึง (ไม่แน่ใจตอนนี้หาง่ายหรือยัง)
- ราคาเหยื่อค่อนข้างตายตัว เพราะมีผู้นำเข้ามาขายจำนวนมาก ราคามือ 1 ประมาณ 500 – 650 บาท บางร้านอาจจะแพงกว่านี้ แต่แนะนำถ้าอยากได้ถูกไปประมูลเอาก็ได้ หรือไม่ก็ซื้อมือสองเอา (ผมเองก็ชอบใช้เหยื่อมือสอง มันถูกดี) แต่ดูดีๆ หน่อยนะ เพราะมีการทำเรียนแบบด้วย
- การทำสีของเหยื่อซีรีย์นี้ก็มีความพิเศษเหมือนกัน มีทั้งทำสีที่ภายนอก (เหมือนเหยื่อทั่วไป) และทำสีภายในที่เป็น Plate โดยข้อดี ข้อเสียก็ต่างกันไป ..หากเป็นสีภายนอกสีจะชัด แต่สีจะพังง่ายหน่อย ส่วนแบบสีภายในจะไม่ค่อยชัดเท่าไร แต่สีก็พังยากกว่าหน่อย
- เป็นเหยื่อที่ออกสีใหม่มาเรื่อยๆ มันเลยกลายเป็นของสะสมสำหรับนัก ตกปลา ไปด้วย
สำหรับการใช้งานของ B’Freeze จะว่าง่ายก็ง่ายนะครับ เพราะบางหมายแค่ลากกับมากก็กัดแล้ว วิธีนี้ส่วนใหญ่ใช้กับหมายธรรมชาติมักจะได้ผล แต่ถ้าเป็นพวกบ่อปิด กระพงฟิชชิ่งปาร์คอะไรพวกนี้อย่าคิดว่าจะได้ง่ายๆ เหมือนกัน ต้องใส่ลูกเล่นเยอะ “เคาะ” กระตุ๊กๆ ช้าเร็ว อันนี้ต้องไปลองเอง เพราะเป็นเทคนิคส่วนบุคคลจริงๆ