ไม้ดั้งเดิมของไทย ‘ลานป่า’ ต้นไม้ที่มีอายุเพียง 30-50 ปี ออกดอกครั้งเดียวแล้วก็ตาย

ลานชื่อนี้อาจฟังดูธรรมดา และดูเหมือนจะมีเยอะเต็มไปหมด แต่รู้หรือไม่ว่าต้นไม้ชนิดนี้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยในไทยมีต้นลานอยู่ 3 ชนิด คือ ลานป่า , ลานพรุ และ ลานวัด ซึ่งเป็นลานที่มีขนาดใหญ่ แต่ที่กำลังพูดถึงคือลานป่า

ลานป่า

สำหรับ ลานป่า (Corypha lecomtei) ในธรรมชาติพบในประเทศเวียดนามและประเทศไทย ในอดีตคนไทยนิยมนำมาใช้เขียนหรือจารึกอักษร โดยลานชนิดนี้พบมากที่บ้านทับลาน และเป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของไทย

ลาน หรือลานป่า เป็นต้นไม้ที่มีอายุ 30-50 ปี ออกดอกเพียงครั้งเดียวในชีวิตหลังจากนั้นก็จะตายไป แม้ว่าแต่การออกดอกแต่ละครั้งจะมีดอกเป็นจำนวนมากก็จริง แต่ดอกลานสามารถพัฒนาเป็นผลได้น้อยมาก อีกทั้งยังถูกตัดโค่นช่อผลทั้งหมดเพื่อนำผลอ่อนไปรับประทาน ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างยิ่งในการขยายพันธุ์ของต้นลาน

ปัจจุบันต้นลานป่าในธรรมชาติเหลืออยู่ไม่มากนัก และถูกคุกคามจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะด้านพื้นที่ถูกเปลี่ยนเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและการเกษตร

พืชสกุลลานในประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งเป็นไปได้จากการที่ต้นลานมีโอกาสผสมตัวเอง (self-pollinated) หรือการที่ต้นลานแพร่กระจายในพื้นที่จำกัด ทำให้สมาชิกประชากรไม่มีการแยกตัวออกจากประชากรเดิม

Advertisements
และยังเป็นไปได้ว่าในอดีตที่ผ่านมาแหล่งอาศัยของต้นลานถูกบุกรุกทำลาย ทำให้มีประชากรบางส่วนเท่านั้นที่รอดชีวิต อีกทั้งต้นลานมีการเจริญเติบโตช้า อาจใช้เวลานานหลายสิบปี ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ช้า คล้ายกับต้นตาลโตนดที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำเช่นเดียวกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มากลุ่มงานวิจัยพันธุศาสตร์ป่าไม้และพันธุ์พืชป่าหายาก