เบาบับ (baobab) หรือ Adansonia digitata เป็นไม้ยืนต้นที่โคนบวมพองออก มองคล้ายขวดแชมเปญ ใช้สะสมน้ำ กิ่งก้านสาขาบิดเบี้ยวไปมา ทรงคล้ายราก ชาวแอฟริกาเชื่อว่าต้นไม้ชนิดนี้ถูกพระเจ้าสาปแช่ง จึงต้องเอารากชี้ฟ้า และทำให้เป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่า “ต้นไม้กลับหัว”
มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของแอฟริกา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกในเกาะชวาและฟิลิปปินส์ บาวบาบเป็นพืชสมุนไพรในแอฟริกา ผลมีแคลเซียมมากกว่าผักโขม มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีวิตามินซีมากกว่าส้ม
เป็นต้นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตโดยน้ำใต้ดิน หรือปริมาณน้ำฝน ส่วนอายุสูงสุดของมันไม่เป็นที่แน่ชัด แต่คาดว่าจะมีอยู่ราว 1500 ปี แม้ต้นไม้ชนิดนี้จะดูน่ากลัวหรือมีตำนานความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ แต่สำหรับคนในพื้นที่มันคือ “ต้นไม้สารพัดประโยชน์” เนื่องจากเป็นแหล่งอาหาร น้ำ ยา หรือที่พักพิง
เบาบับมักจะเติบโตแบบโดดเดี่ยว แต่ก็ใหญ่โตและโดดเด่น โดยเฉพาะในทุ่งหญ้าสะวันนาหรือป่าละเมา เบาบับเป็นต้นไม้ผลัดใบ ใบไม้จะร่วงในฤดูแล้ง และไม่มีใบเป็นเวลานานถึงแปดเดือน
ความต้องการผลเบาบับ?
เนื่องจากเบาบับเป็นหนึ่งในผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ มีวิตามินอี และมีสารประกอบจากพืชบางชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ และต้านอนุมูลอิสระ “มันเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ โปรตีน และยังมีสารประกอบที่ช่วยบำบัดการเจ็บป่วย ซึ่งเมื่อเอามารวมกันแล้วก็ทำให้กลายซูเปอร์ฟรุตที่น่าทึ่งมาก”
โดยความต้องการผลเบาบับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดย ซาราห์ เวนเตอร์ (Sarah Venter) นักนิเวศวิทยา ซึ่งเปิดบริษัทอีโคโปรดักส์ (Ecoproducts) ที่สนับสนุนให้ผู้หญิงแอฟริกาใต้มีรายได้จากการดูแลต้นเบาบับ หรือที่รู้จักกันว่า “ผู้พิทักษ์ต้นเบาบับ”
พวกเขาเผยข้อมูลว่า ความต้องการผงเบาบับซึ่งได้จากเม็ดเบาบับนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี มานับตั้งแต่ปี 2003 โดยมีตลาดใหญ่อยู่ที่ยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา
ผงแห้งๆ ในกะลาเม็ดเบาบับเป็นที่ต้องการสูง และถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่เติมกลิ่นในเครื่องดื่มอัดลม ไอศครีม ช๊อกโกแลต ไปจนถึงเหล้าจีน และเครื่องสำอาง
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ จะส่งผลดีลงไปถึงผู้พิทักษ์ต้นเบาบับ ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนในการดูแลต้นไม้มหัศจรรย์นี้ตามความสูงของต้นไม้ที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับค่าตอบแทนเซ็นติเมตรละกว่า 600 บาท และพวกเธอจะได้รับค่าตอบแทนไปเรื่อยๆ จนกว่าต้นเบาบับจะสูงถึง 3 เมตร ซึ่งหลังจากนั้นต้นไม้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 1,000 ปี