เหตุการณ์ฟ้าผ่า “Megaflash” ที่ทำลายสถิติโลกสองครั้งได้รับการบันทึกจากอวกาศในปี 2020 มันเป็นฟ้าผ่าที่กินบริเวณ 768 กิโลเมตร (477 ไมล์) กับอีกสถิติคือสายฟ้าที่กินระยะเวลา17.01 วินาที
สถิติโลกของฟ้าผ่านี้ ต้องการพายุที่รุนแรงที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งประกอบด้วยทุ่งเมฆไฟฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล เมื่อสภาวะเหล่านี้รวมกับการปล่อยประจุขนาดเล็ก อาจส่งผลให้เกิดสายฟ้าฟาดในระยะทางที่ไม่ธรรมดา ในกรณีนี้ขยายไปทั่วเท็กซัสและมิสซิสซิปปี้ สหรัฐอเมริกา
บันทึกทั้งสองได้รับการรับรองโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) สายฟ้าที่บันทึกเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2020 กำหนดระยะฟ้าผ่าที่ยาวที่สุดที่เคยบันทึกไว้ แต่นี่ไม่ใช่เรื่องน่าทึ่งเดียวของระบบสภาพอากาศปี 2020 มีอยู่ เพราะ
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2020 เกิดสายฟ้าที่ใช้เวลานานที่สุดได้รับการบันทึกว่า กระทบไปทั่วอุรุกวัยและตอนเหนือของอาร์เจนตินา โดยใช้เวลา 17.1 วินาทีอย่างไม่น่าเชื่อ ทุบสถิติเดิมที่16.7 วินาทีซึ่งมาจากสายฟ้าในอาร์เจนตินาเช่นกัน รายละเอียดของทั้งสองมีการเผยแพร่ใน แถลงการณ์ของสมาคม อุตุนิยมวิทยาอเมริกัน
“ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เข้าใจยาก และซับซ้อนอย่างน่าประหลาดใจ” ไมเคิล เจ. ปีเตอร์สัน ผู้เขียนนำและคณะกรรมการประเมินผลจาก Space and Remote Sensing Group (ISR-2) ของ Los Alamos National กล่าว ห้องปฏิบัติการประเทศสหรัฐอเมริกาในแถลงการณ์
“ตอนนี้เราอยู่ในจุดที่เราสามารถวัดแง่มุมต่างๆ ของมันได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งช่วยให้เราค้นพบแง่มุมใหม่ๆ ที่น่าแปลกใจของพฤติกรรมฟ้าผ่า ตอนนี้เรามีบันทึกที่ที่แม่นยำของสัตว์ประหลาดเหล่านี้แล้ว เราสามารถเริ่มทำความเข้าใจว่าพวกมันเกิดขึ้นได้อย่างไร และเหตุไดพวกมันจึงมีขนาดใหญ่อย่างเหลือเชื่อ”
ความสุดโต่งของสิ่งแวดล้อมคือการวัดพลังของธรรมชาติที่มีชีวิต เช่นเดียวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในการประเมินเรื่องดังกล่าว มันมีแนวโน้มว่ายังคงมีอะไรที่สุดขั้วมากกว่านี้ และเราจะสามารถสังเกตพวกมันได้เมื่อเทคโนโลยีการตรวจจับฟ้าผ่าได้รับการปรับปรุง
WMO has verified 2 new world records for a ⚡️⚡️ #megaflash
Greatest duration of 17.1 seconds over #Uruguay and #Argentina
Longest distance of 768 km (477.2 miles) across southern #USA @NOAA imagery of US megaflash highlights advances in #satellites and detection technology pic.twitter.com/RazD75gqNM— World Meteorological Organization (@WMO) February 1, 2022