10 ข้อเท็จจริงที่น่าทึ่งเกี่ยวกับจิงโจ้ สัญลักษณ์แห่งออสเตรเลีย

สัตว์บางชนิดนั้นได้รับเกียรติจากประเทศที่มันอยู่จนได้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศนั้น โดยหนึ่งในนั้นก็คือจิงโจ้ เพื่อให้เรารู้มากขึ้นเกี่ยวกับสัตว์ประจำออสเตรเลียนี้ นี่คือตัวอย่างข้อเท็จจริงของจิงโจ้ที่ทำให้เรารู้จักมันดีขึ้น บางอย่างก็น่าตื่นตาตื่นใจ บางอย่างก็อาจจะฟังดูโหดร้ายไปบ้าง .. ต้องดูคลิปท้ายเรื่องด้วยนะ

จิงโจ้

1. จิงโจ้เป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดบนโลก

Advertisements

จิงโจ้แดง จิงโจ้จัดเป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน โดยสายพันธุ์ที่ใหญ่สุดคือจิงโจ้แดง ที่เมื่อยืนมีความสูงถึง 1.6 เมตร และน้ำหนักถึง 82 กิโลกกรัม ส่วนจิงโจ้สีเทาตะวันออก สามารถสูงได้มาถึง 2.1 เมตรในตัวผู้ แต่มีน้ำหนักเบากว่าจิงโจ้แดงราวๆ 20%

2. มีหลากหลายขนาด

จิงโจ้จัดอยู่ในกลุ่มของพวก Macropus แปลว่าเท้าใหญ่ โดยปัจจุบันพวกมันมีหลากหลายขนาด ทั้งจิงโจ้แดงที่ตัวใหญ่ที่สุด จนถึงพวก วัลลาบี ที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีน้ำหนักแค่ 4-6 กิโลกรัม

จิงโจ้ต้นไม้
จิงโจ้ต้นไม้

3. จิงโจ้จะใช้มือซ้ายเป็นหลัก

มนุษย์และสัตว์ประเภทลิงนั้นมีความสามารถที่เรียกว่า “Handedness” ซึ่งคือถนัดในการใช้มือข้างใดข้างหนึ่งเป็นพิเศษ จากการศึกษาจิงโจ้แดงและจิงโจ้เทาตะวันออก พบว่าพวกมันถนัดใช้มือซ้ายในการใช้ชีวิต ซึ่งใช้งานได้หลากหลาย แต่มือขวานั้นมักจะใช้ในงานที่ต้องใช้พละกำลัง

4. กลุ่มของจิงโจ้เรียกว่าม็อบ

Advertisements

จิงโจ้นั้นอยู่กันเป็นกลุ่มเรียกว่าม็อบ กองทัพ หรือฝูง พวกมันเองก็มีลำดับชนชั้นในฝูงและพฤติกรรมที่เห็นได้ทั่วไปเช่น การต่อสู้กันในการแย่งตัวเมีย เตะ,ต่อย หรือแม้แต่กัดกัน

โดยทั่วไปฝูงนั้นปกครองโดยตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยตัวผู้จะได้ชื่อว่า Bucks, Boomers หรือ Jacks ส่วนตัวเมียจะเรียกว่า Does, Flyers หรือ Jills

5. จิงโจ้บางตัวกระโดดได้ไกลถึง 25 ฟุต

การกระโดดของจิงโจ้ช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นที่อันทุระกันดานของออสเตรเลีย พวกมันเคลื่อนที่ได้ไวมาก โดยจิงโจ้บางครั้งสามารถเคลื่อนที่ได้ถึง 35 ไมล์ต่อชั่วโมง และกระโดดได้ไกลถึง 25 ฟุต (8 เมตร) ด้วยการกระโดดเพียงครั้งเดียว

6. จิงโจ้ใช้หางเป็นเหมือนขาที่ห้า

เมื่อจิงโจ้เคลื่อนไหวในพื้นที่ขนาดเล็กด้วยความเร็วที่ไม่มาก หลายครั้งมันจะใช้หางของมันเหมือนขา มันจะเดินโดยใช้หางลากพื้น เพื่อช่วยในการทรงตัว แต่เมื่อมันต้องการเคลื่อนที่ในระยะ 5 เมตรขึ้นไปมันจะยกหางเหนือพื้น

7. ตัวอ่อนจะอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง และจะหยุดโตจนกว่ากระเป๋าหน้าท้องจะว่าง

Advertisements

จิงโจ้มีอายุครรภ์ประมาณ 5 สัปดาห์หลังจากนั้นจะให้กำเนิดลูกที่เรียกว่า “โจอี้” ตอนแรกเกิดพวกมันมีขนาดที่เล็กมาก พอๆ กับลูกองุ่น ซึ่งตอนเกิดมันจะต้องคลานเข้าไปในกระเป๋าหน้าท้อง และอาศัยอยู่ข้างในเป็นเวลาหลายเดือนและเติบโตต่อไป

จิงโจ้ตัวเมียยังสามารถตั้งครรภ์ได้อีกขณะที่ลูกยังอยู่ในกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งระหว่างนั้นตัวอ่อนในครรภ์จะหยุดการเติบโตจนกว่าลูกตัวก่อนจะออกจากกระเป๋าแล้ว และร่างกายของมันจะได้รับฮอร์โมนที่บ่งบอกให้มันกลับมาพัฒนาอีก

8. พวกมันชอบหลอกล่อศัตรูให้จมน้ำ

จิงโจ้นั้นมีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมากในออสเตรเลีย โดยเฉพาะเมื่อนักล่าขนาดใหญ่อย่างเสือแทสแมนเนีย (ไทลาซีน) กับ สิงโตมาซูเปียน ได้สูญพันธ์ไปแล้ว มีสัตว์ไม่กี่ชนิดที่ล่ามัน แต่เป้าหมายหลักพวกนักล่าคือตัวลูกหรือพวกที่ยังไม่โตเต็มที่ นอกจากหมาดิงโก้แล้ว ยังมีพวกหมาป่าแดง, หมา และแมวป่า นอกจากนี้บางกรณียังมีจระเข้ด้วย

เมื่อจิงโจ้พบว่ามันถูกไล่ล่า มันจะมุ่งไปยังแหล่งน้ำ มันเป็นเทคนิคการหลบหนี จิงโจ้เป็นนักว่ายน้ำที่ดี (ต้องขอบคุณหางของมัน) หลายครั้งมันสามารถล่อศัตรูให้ตามมันไปจนจมน้ำตายได้หรือตกเป็นอาหารของจระเข้

9. บางครั้งจิงโจ้ก็สละลูกของมันเพื่อเป็นเหยื่อให้นักล่า

การต่อสู้กลับพวกนักล่าหรือวิ่งล่อมันอาจจะไม่เหมาะกับจิงโจ้ขนาดเล็กอย่างวัลลาบี ในบางกรณีพวกมันถึงกับปล่อยลูกของมันจากกระเป๋าหน้าท้องแล้วหนีต่อ

เคสนี้เคยพบในวัลลาบีตัวเมียที่ติดกับดักและพยายามจะหนีเมื่อเห็นมนุษย์ มันจะเอาลูกมันออกมา ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่มันทำตอนมันหนี “ดูจากการควบคุมกล้ามเนื้อของมันแล้ว กระเป๋าหน้าท้องมันเปิดออกได้อย่างรวดเร็ว เหมือนจะเป็นการพัฒนาการเพื่อการนี้โดยเฉพาะ”

และจิงโจ้ชนิดอื่นก็มีพฤติกรรมแบบนี้ อย่างจิงโจ้เทาบางครั้งมันก็ใช้วิธีนี้เมื่อโดนจิ้งจอกไล่ล่า ซึ่งเคสนี้นักล่าจะหยุดไล่ล่าตัวแม่เพื่อหันไปหาอาหารง่ายๆ มื้อนี้ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะมองว่าโหดร้ายสำหรับมนุษย์ แต่มันก็เป็นเทคนิคการอยู่รอดของจิงโจ้ ตัวเมียสามารถให้กำเนิดตัวใหม่ได้ไว ทำให้ทดแทนการสูญเสียได้

10. จิงโจ้กินหญ้าเหมือนวัว แต่มีก๊าซมีเทนน้อยกว่ามาก

จิงโจ้ทั้งหมดเป็นสัตว์กินพืชกินหญ้า แต่ก็ยังกินพวกมอสด้วย เช่นเดียวกับวัวควายและสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆ จิงโจ้บางครั้งจะสำรอกอาหารและเคี้ยวมันเป็นอาหารอีก สิ่งนี้ไม่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหารของพวกมัน และมันจะทำเพียงบางครั้งเท่านั้น

กระเพาะอาหารที่มีรูปร่างคล้ายท่อของจิงโจ้ แตกต่างอย่างมากจากกระเพาะสี่ห้องของพวกวัวที่มักปล่อยก๊าซมีเทนจำนวนมาก ซึ่งเป็นก๊าซมีเทน แต่ถึงแม้จะมีอาหารที่คล้ายคลึงกัน แต่จิงโจ้ผลิตเพียง 27% ของปริมาณก๊าซมีเทนเฉพาะมวลร่างกายที่สัตว์เคี้ยวเอื้องผลิตขึ้น อาหารจะเคลื่อนผ่านท้องจิงโจ้ได้เร็วขึ้น และการวิจัยชี้ให้เห็นว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของจิงโจ้อยู่ในสภาวะการเผาผลาญที่ได้รับการปรับแต่งสำหรับการเจริญเติบโต หรือการผลิตชีวมวลมากกว่าการสร้างก๊าซมีเทน

คลิปมนุษย์ช่วยหมานักล่าจากจิงโจ้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements