เทคนิคเก่าแก่ หยกปลาช่อนนา ยังไงให้ได้ตัว

เทคนิคตกปลาช่อน ที่เรียกกันว่าหยกปลาช่อน ถือเป็นหนึ่งในเทคนิคเก่าแก่ใช้กัน โดยเทคนิคนี่จะใช้คันเบ็ดไม้ไผ่ยาวๆ ตัวเบ็ด และลูกปลาเป็น ปกติแล้วเทคนิคนี่หาดูได้ค่อนข้างยากแล้วในไทย เพราะส่วนใหญ่นิยมอุปกรณ์ตกปลาสมัยใหม่กัน แต่ก็ยังมีอยู่บางพื้นที่ยังพอจะเห็นได้อยู่ น้าๆ สามารถดู ศึกษาวิธีการหยกปลาช่อนได้จากคลิป และบทความ

การเตรียมอุปกรณ์ (เล่าจากคนเก่าแก่)

Advertisements

ขั้นตอนแรกนั้นก็จะต้องเตรียมเครื่องมือสำหรับตกปลาซึ่งพรานเบ็ด สมัยนั้นเรียกว่า ตกปลา อันดับแรกที่จะต้องหาก็คือกันเบ็ด ซึ่งโดยมากจะใช้ไม้เลี้ยงหรือไม้รวก ที่มีความยาวตั้งแต่ 4 เมตรครึ่งจนถึง 5 เมตรครึ่ง สุดแต่ความสามารถของแต่ละคนที่จะคอนคันเบ็ดได้

หยกปลาช่อน

เมื่อได้ไม้มาแล้วก็เอามาลนไฟเพื่อดัดให้ตรง แล้วตกแต่งด้วยการใช้น้ำมันทาจนเป็นมัน ใช้สีทาตรงบริเวณข้อโดยรอบเพื่อกันมอดปลวกเจาะไช จากนั้นก็หาเหง้าไม้ไผ่มาทำเป็นง่ามให้พอดีกับต้นขาเจาะรูให้พอดีกับดันคันเบ็ด เสร็จแล้วเอาโคนคันเบ็ดใส่ในรูที่เจาไว้ แล้วอัดให้แน่น ทั้งนี้เพื่อจะได้เอาไว้ยันกับต้นขาเมื่อเวลาตกปลา ผู้ที่มีความชำนาญในการตกปลามาก ๆ จะมีคันเบ็ดที่งดงามเป็นหนึ่ง แม้แต่ใครเผลอไปข้ามคันเบ็ดของเขาเข้า ผู้เป็นเจ้าของจะแสดงความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง

อุปกรณ์ต่อมาคือสายเบ็ดซึ่งใช้ด้ายหลอด แต่โดยมากจะใช้ด้ายตราสมอเบอร์ 8 มาควั่นให้เป็นเกลียว จะใช้ 6 เส้น -9 หรือ 12 เส้นก็แล้วแต่ความต้องการ เมื่อควั่นเข้าเกลียวได้ที่แล้วก็เอากลีบกระเทียมมารูดตามสายที่ควั่นไว้จนขึ้นเงา จากนั้นนำลูกมะพลับมารูดซ้ำตามสายเบ็ดนั้นอีกครั้งหนึ่งจนสายเบ็ดเป็นมันปลาบ แม้แต่น้ำก็ไม่อาจซึมเข้าสายได้ปลายของสายเบ็ดข้างหนึ่งทำเป็นบ่วงยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เพื่อเอาไว้คล้องกับสายเบ็ดที่ผูกกับตัวเบ็ด

ทีนี้ก็มาถึงอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งก็คือตัวเบ็ด จะต้องเสาะหาลวดหรือเหล็กที่มีขนาดโตเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือใหญ่กว่าเล็กน้อยก็ได้ ถ้าได้เหล็กหรือลวดที่เป็นสปริงก็เป็นที่นิยมของพรานเบ็ดทั้งหลายเมื่อได้มาแล้วก็นำมาเข้าไฟสุมจนเหล็กนั้นมีสีแดง แล้วจึงใช้ค้อนแต่งให้ตรง ทุบด้านใดด้านหนึ่งให้แบน เพื่อจะได้แต่งให้เป็นหน้าเบ็ด โดยใช้ตะไบแทงให้แหลมและคม การทำตัวเบ็ดนี้ต้องประณีตมาก

นักตกปลาเรียกการทำตัวเบ็ดนี้ว่าคดเบ็ด ตัวเบ็ดจะมีความกว้าง ตั้งแต่ 1-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร และมีลักษณะรูปแบบแตกต่างกันไปตามชื่อเรียกเช่น ทรงเม็ดแตงและทรงกะโหลก เป็นต้น นักคดเบ็ดที่ชำนาญจะสามารถกำหนดให้ตัวเบ็ดเกี่ยวปลาที่ตรงไหนก็ได้ เมื่อเวลาวัดปลาขึ้นมา เช่นให้เกี่ยวที่แก้มสองขั้นเมื่อเวลาวัดปลาขึ้นมา ตัวเบ็ดก็จะเกี่ยวที่แก้มสองขั้นทุกคราวหรือจำกำหนดให้เกี่ยวที่เบ้าตาของปลา เมื่อเวลาวัดปลาขึ้นมา เบ็ดก็จะเกี่ยวที่เบ้าตาของปลาทุกทีไป

เมื่อคดตัวเบ็ดเรียบร้อยแล้วก็นำด้ายชนิดเดียวกับทีทำสายเบ็ดมาผูก แล้วควั่นให้เท่ากับสายเบ็ดที่ทำไว้ โดยสายที่ติดกับตัวเบ็ดนี้จะยาวเพียง 30 เซนติเมตร ต่อจากนั้นก็หาลวดทองเหลืองทองหรือทองแดงเส้นเล็ก ๆ มาขอให้เป็นวงแบบลวดสปริงแล้ใส่ไว้ในสายเบ็ดพอหลวมๆ เพื่อจะได้เอาไว้ใส่สนับกันหน้าเบ็ดเมื่อเวลาตกปลาตอนปลายของสายเบ็ดช่วงนี้ทำเป็นบ่วงไว้จะได้เอาไว้คล้องกับสายเบ็ดตอนบนที่ทำไว้แล้ว

หยกปลาช่อน

อุปกรณ์ต่อมาคือกระชะสำหรับใส่ปลา ซึ่งมีรูปร่างแบนๆ เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านล่าง แล้วรวบสอบขึ้นมาถึงขอบปากด้านของก้นกระชะกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลานรวบขึ้นมาจนถึงปากขอบจะมีความสูง 30-40 เซนติเมตร เมื่อถึงปากขอบให้มีความกว้างเพียง 14-15 เซนติเมตร สานด้วยผิวไม้ไผ่สีสุกทั้งลูกเสร็จแล้วทาด้วยน้ำมันให้เป็นมันวาวสวยงาม จากนั้นทำหูแล้วเชือกมาร้อยสำหรับสะพายบ่า

อุปกรณ์ที่จะต้องจัดทำอีกอย่างหนึ่ง คือ ข้องเขียด เพราะปลาช่อนกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร นักตกปลาช่อนจึงต้องจับเขียดเอามาเป็นเหยื่อ ข้องเขียดนี้สายด้วยไม้ไผ่เช่นเดียวกับกระชะ ก้นสายเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า กว้างขาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร สานรวบขึ้นมาทางด้านบน ความสูงของตัวข้องประมาณ 12-13 เซนติเมตร สานเสร็จแล้วหาผ้าดิบยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตรมาเย็บให้พอดีกับปากข้อง ทำคล้ายถุงสำหรับล้วงลงไปจับเหยื่อได้สะดวก ..ดูคลิปวิธีตกครับ

อ่าน > ผูกเงื่อนยาว ไม่ได้หมายความว่าจะทนแรงดึงมากกว่า

Advertisements