เทคนิควิธีการตกปลาเกล็ดด้วย ชิงหลิว สปิ๋ว ภาค 1

ความชอบในการใช้คันชิงหลิวตกปลาเกล็ด เป็นเรื่องง่ายๆ แต่สิ่งที่ยากที่สุด หลังสัมผัสอรรถรสของความเรียบง่ายและสันโดษ คือการทอดทิ้ง เลิกเล่น.. เลิกบุหรี่ง่ายเสียกว่าการเลิกตกปลา ด้วยคันชิงหลิว

บทความนี้เขียนขึ้นโดยน้า M_NANO น้าๆ ที่ต้องการดูต้นฉบับสามารถคลิกที่ชื่อได้เลยครับ สำหรับเนื้อหานี้มีความยาวมากๆ และผมเองคิดว่ามีประโยชน์มาก จึงได้ทำการรวบรวมเก็บเอาไว้ และอีกอย่างเนื้อหาผมไม่ได้ดัดแปลงแต่อย่างใด ภาษาวิธีเขียนจึงเป็นของน้า M_NANO ทั้งหมด ขอให้อ่านให้สนุกนะครับ

ความชอบในการใช้คันชิงหลิวตกปลาเกล็ด เป็นเรื่องง่ายๆ แต่สิ่งที่ยากที่สุด หลังสัมผัสอรรถรสของความเรียบง่ายและสันโดษ คือการทอดทิ้ง เลิกเล่น.. เลิกบุหรี่ง่ายเสียกว่าการเลิกตกปลา ด้วยคันชิงหลิว

เราไม่ได้ติด การใช้คันหรือการได้ปลา

Advertisements

แต่เราติดความเป็นธรรมชาติ และความเรียบง่าย ยิ่งการได้สัมผัส เดินทาง ไปลองหมาย ทุกสภาพ ทั้งคลองแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำเขื่อน ..ได้เดินทางใกล ใกลขึ้น และใกลออกไปข้ามจังหวัด ข้ามภาค อย่างไม่มีเหตุผล มีทั้งความสมหวังและผิดหวัง ค่าใช้จ่ายสูงลิบ แต่ความสุขของการได้พบสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ  ทำให้รู้ว่า ทุกสิ่งไม่มีกฎเกณท์ ไม่มีรูปร่างแน่นอน ที่บอกว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น มันต้องอย่างนี้

..ทุกคนรวมทั้งผม ..ไม่มีใครถูก..ซักคน ..ลองออกจากกะลา …แล้วจะเข้าใจมัน ว่า จริงๆ แล้วเราตกปลา เพียงแค่ได้เข้าใกล้แก่นความเป็นธรรมชาติที่ง่ายๆ ในการใช้ชีวิตแค่นั้นเอง …ติดแล้วเลิกยาก เพราะความสุขสันโดษมันเกาะกินทั่วหัวใจเสียแล้ว อิอิ เริ่มที่อุปกรณ์เลยละกัน

คันชิงหลิว

คันชิงหลิวตกปลาเกล็ดน้ำจืด ถ้าเอาจริงๆ แล้วจะมีตั้งแต่ 7 ฟุตจนถึง 21 ฟุต ถ้าอ่านตามที่เขียนข้างคันเบ็ด บางคนจะบอก 210 ( 7 ฟุต) , 240 (8 feet) , 270 (9 feet)… สำหรับคนตกหลิวจะมีคนละ 7-8 คัน เพื่อเลือกใช้ตามสถานการณ์ แหล่งน้ำ ความลึก ..แต่สำหรับหมู่เฮา ซื้อเอาใว้ซักสองคันเผื่อแฟนคันนึงพอแล้ว (จ่อมแก้ง่อมมะดาย)

คันชิงหลิวจะประกอบด้วยท่อนประกอบเป็นคันมี 4-5 ท่อน หดเก็บสั้นกิดลิดแต่รูดออกมายาวเฟื้อย ใช้งานได้สะดวกทุกแหล่ง พกสบายไม่เปลืองเนื้อที่ (พกเข้าอ่างแม่ตีบ คนเก็บตังส์กะผ่อบ่าหัน ….5555 )

เลือกใช้ : คันวัสดุจำพวกไฟเบอร์

ถ้าเฮาลองจับคันออกมาทดสอบสะบัดๆ  จะอ่อนและดีดกลับบ่าค่อยไว คันมันอ่อนล้ำไป วัดปลาไม่ค่อยทัน แต่ก็ใช้ตกปลาเล็กตามแหล่งน้ำได้ทุกที่ พอใช้ได้ครับ ดีกว่าเบ็ดกระป๋องหน่อย ที่มีขายในบ้านเฮา คันราคาถูกที่สุดทุก ขนาดความยาว ราคาจะอยู่ช่วง 70- 150 บาท มีขายที่ร้านตกปลาบ้านเฮาทุกร้าน

เลือกใช้ : คันวัสดุคาร์บอน ผสมไฟเบอร์

Advertisements

คันชนิดนี้ราคาแพงกว่าคันไฟเบอร์ มีความแกร่ง เบา แรงงัดสูงกว่า คันคืนตัวใว ดีกว่าคันไฟเบอร์มาก เป็นที่นิยมสำหรับนักตกปลาเกล็ดแบบชิงหลิว มีขายในบ้านเฮาหลายยี่ห้อ เลือกได้ตามความพอใจ ข้อแตกต่างคันไฟเบอร์กับคันคาร์บอนก็ตอนที่เฮาลองสะบัดคัน คันคาร์บอนมันจะดีดปลายใวกว่า หรือบางคันมันจะพิมพ์แปะใว้ข้างคันว่าเป็นคาร์บอนกี่เปอร์เซ็นต์ ราคาก็คงต้องหลัก 200 บาท UP

ที่ผมเคยซื้อก่อ 220 – 800 บาท แล้วแต่รุ่น ยี่ห้อ และอารมณ์เจ้าของร้าน ราคาหลักพันก็มีเยอะ เลือกเอาตามกำลังทรัพย์และความหุมครับ แต่แนะนำถ้าหุมมากๆ ให้มีใว้หลายๆ คัน จะได้เลือกใช้งานได้ทุกสถานการณ์ ปลามันบ่าค่อยเลือกยี่ห้อกับราคาคันเบ็ด แต่เราต้องเลือกเพื่อการใช้งาน บางคันมีที่จับหุ้มยางไฮโพรอนนุ่มมือ บางคันไม่มี บางคันมีห่วงเหล็กที่ *** คันไว้ผูกสายเซฟตี้ (เด๋วจะว่าเรื่องของสายเซฟตี้อีกทีเนาะ ทีหลังก่อน ) คันยิ่งยาวยิ่งหนัก ถ้าเจอยิ่งยาวแล้วเบา รีบซื้อเลยเนอะ

เลือกใช้ : คันไม้ไผ่

อันนี้เป็นของญี่ปุ่นเขา ราคาคงพอๆ กับไม้ตีกอล์ฟ บ่าเกยหันของจริงครับ แต่ที่อ่านๆ มา กะคึดว่าแพงมากๆ  เพราะมือโปร ทางด้านทำคันเบ็ดชิงหลิวเป็นคนทำขึ้นมาขาย (HANDMADE BY CRAFTSMAN) ไม้ไผ่ก่อต้องหาเฉพาะที่ แล้วต้องนำมาตากแดดผ่านกรรมวิธีเป็นปีๆ  เพื่อฮื้อมันคงรูปและแกร่งแต่นุ่มนวล ดูล้ำค่า แต่งลวดลาย ที่จับคันก่อสวย หันแต่ในรูป งามแต้ๆ  (ซักกำจะมี ก้านลาน พ่อง รอก่อนเน้อ ! จะได้ตั้งชื่อ วิธีตกปลาแบบ GARNLARN CARPFISHING….555 )

ส่วนคันวัสดุอื่นๆ ที่เคยอ่านผ่านๆ ตามาพ่อง จะเป็นคันหลิวที่ใช้จ่อมปลาทะเลตามชายฝั่ง จะเป็นพวกโบรอนผสมพ่อง กราไฟท์พ่อง อันนี้ผมก่อบ่าค่อยชัดเจนนะครับ ใผฮู้กะช่วยชี้แจงตวยว่ามันทำจากวัสดุพวกนี้แต้ๆ ก่อ คุณสมบัติ ข้อดีข้อด้อย มันเป๋นจะได แต่ที่ฮู้มาก่อมีแค่คันคาร์บอนด์เพราะหมู่เฮาใช้กั๋นนักขนาด

คันชิงหลิว จะต้องมีใหมที่ปลายของคันเอาใว้ต่อสายเอ็น เพื่อความอ่อนตัวของคันเวลาวัดและสู้กับปลา บ่าดีเอาออกเน้อบางคนเอาใหมออกเปลี่ยนลูกหมุนแทนเพราะกลัวว่าเวลาสู้ปลาแล้วมันจะหลุด ผูกสายเอ็นยาก มันมีวิธี เดี๋ยวค่อยอู้เทคนิคนี้ทีหลัง คันชิงหลิวตกปลาเกล็ดกับคันตกกุ้ง ก่อคือคันเดียวกันครับ ใช้ร่วมกันได้

การใช้คันหลิวตกปลาเกล็ดใหญ่ๆ

ทริปหนึ่งๆ ควรสลับคันบ้าง เพราะถ้าอัดปลาใหญ่ติดต่อกันบ่อยๆ  คันก่อจะล้าได้เหมือนกัน เฮาบ่าได้ใช้แขน หัวใหล่ ลำตัวมาออกแรงอัดปลาเหมือนคันสปินนิ่งหรือเบทคาสติ้ง แต่เฮายกคันใว้ ฮื้อคันมันดีดตัวรับน้ำหนักงัดปลาเอง อ่อนสยบแข็งว่าอั้นเตอะ มีบังคับปลาพ่องก่อแค่โยกแขนข้อมือเท่านั้น คันมันจึงรับน้ำหนักเต็มๆ  พอแค่นี้ก่อนเนาะเรื่องคันชิงหลิว บะเด๋วจะเบื่อ แต่มีแหมนักเน้อ หมู่เฮา

ทุ่นชิงหลิว ทุ่นชิงหลิวที่หมู่เฮาเกยหันตามร้านขายอุปกรณ์มันมีหลายแบบ บางครั้งหมู่เฮาบางคนบ่าฮู้ว่าจะเลือกแบบไดดีแม่นก่อ มันมีหลักการง่ายๆ  สำหรับการเลือกใช้ทุ่นให้เหมาะกับแหล่งน้ำที่หมู่เฮาจะไปจ่อมปลา จากที่ผมได้อ่าน จากเทคนิคตกปลาเฮระ เขาแนะนำดังนี้

– ความเร็ว ความรู้สึก (sense) ของทุ่นเมื่อปลาเข้ากินเหยื่อ เลือกที่ ขนาดตัวทุ่น (body)
– ทุ่นใหญ่ ตัวถ่วง (sinker) ใหญ่ ทุ่นเล็กตัวถ่วงก็เล็ก (ตัวถ่วง=ลูกหมุน / ตะกั่ว)
– ทุ่นเล็ก / ผอมเรียว เหมาะสำหรับน้ำตื้น( shallow depth) , ทุ่นใหญ่ ยาวหรืออ้วนเหมาะสำหรับน้ำลึก (deep place)
– ทุ่นเล็ก / ผอมเรียว เหมาะสำหรับหมายที่ปลามีน้อย หรือกินระแวง กินเบา , ทุ่นใหญ่ สำหรับหมายน้ำลึกที่มีปลามากๆ  กินเหยื่อง่าย
– ทุ่นยาว เรียว เหมาะสำหรับหมายลมแรง
– เลือกหน้าตัดสายเอ็นให้เหมาะสมกับทุ่นชิงหลิว สายเอ็นหน้าตัดใหญ่ใช้ทุ่นชิงหลิวใหญ่ สายเอ็นเล็กใช้ได้ทั้งทุ่นเล็กและทุ่นใหญ่

ทุ่นชิงหลิวที่มีขายตามร้านอุปกรณ์ทำมาจากวัสดุหลายแบบ คือ

Advertisements

ตัวทุ่นชิงหลิว (body) ต้องมีคุณสมบัติที่ เบาและลอยน้ำ
– ทำจากไม้
– ทำจากขนนกยูง
– ทำจากขนเม่น
– ทำจากพลาสติค

หางทุ่นชิงหลิว (top)
– ทำจาก celluloid
– ทำจาก ไฟเบอร์
– ทำจากไม้

ขาทุ่นชิงหลิว ( foot ) สำหรับทุ่นที่มีขา
– ทำจากไม้
– ทำจากไฟเบอร์

กดเพื่ออ่านเรื่องทุ่นชิงหลิว

สีที่ใช้พ่นทาทุ่นชิงหลิว ต้องเป็นสีกันน้ำ หางทุ่นควรเป็นสีสะท้อนแสง ข้อสีของหางทุ่น – จำนวนข้อสีไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับสภาพของทุ่นชิงหลิวแต่ละชนิด ถ้าเป็นทุ่นชิงหลิวแบบญี่ปุ่นซึ่งเป็นทุ่นยาวมีขาทุ่น มักจะมีข้อสีหางทุ่น 8-13 ข้อ ขอพูดถึงทุ่นที่มีขายตามร้านอุปกรณ์บ้านเฮาที่เป็นทุ่นชิงหลิวแบบมีขาจากจีน ตัวทุ่นผอมกว่าสปีดใวกว่า

อธิบายง่ายๆ ว่า เมื่อเหยื่อเคลื่อนตัวถ้าทุ่นมีแรงต้านน้ำมาก จากช่วงเวลาที่เหยื่อเคลื่อนออกไปมันสื่อให้เรารู้ช้ากว่าการใช้ตัวทุ่นที่ต้านน้ำน้อย ซึ่งตัวทุ่นต้านน้ำน้อยก็คือผอมกว่าเรียวกว่า

ถ้าเป็นทุ่นชนิดและแบบเดียวกันก็จะพิมพ์ที่ข้างตัวทุ่นเป็นเบอร์ต่ำสุด เช่น ทุ่นเบอร์ 1,2,3 ทุ่นเบอร์ 3 จะมีตัวทุ่นอ้วนกว่า แรงต้านน้ำย่อมมากกว่าเบอร์ 1 การเลือกใช้จึงต้องอยู่ที่หมู่เฮาว่าจะจ่อมปลา แบบหน้าดิน หรือ แบบลอย หรือแค่ผิวเรี่ยๆ หน้าดิน ถ้าจะจ่อมแบบหน้าดินมันก่อต้องฮื้อชุดถ่วง( sinker)วางแมะกับผิวดิน ชุดถ่วง(sinker)ที่หมู่เฮานิยมใช้กันก่อจะมีลูกหมุนและตะกั่วแบบฟิวส์ แบบหนีบและแบบเม็ด

ข้อดีของการจ่อมปลาแบบหน้าดินที่ตัวถ่วงวางแมะกับผิวของดินมันเหมาะกับปลาหากินตามหน้าดิน เช่นปลายี่สก นวลจันทร์ ปลาใน ซอกเกอร์ เป็นต้น ใซ้หาอาหารตามหน้าดิน ตัวถ่วงวางติดหน้าดิน มันก่อบ่ายะฮื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของปลาที่เข้ามากินเหยื่อโดนสายเอ็นหรือตัวถ่วง ทุ่นมันก่อจะขยับเฉพาะที่เหยื่อและตัวถ่วงมันขยับเต้าอั้น บ่าใช่สายหลีดมัดขอเบ็ด (trace)ไปโดนครีบปลาทุ่นเลยขยับ พอวัดขอเบ็ดก่อเกี่ยวโดนท้องโดนนอกปาก อันนี้ตามหลักแล้วถือว่าบ่าถูกต้อง ที่ถูกต้องของการตกปลาเกล็ดก่อคือต้องมีขอเบ็ดเกี่ยวในปาก [ตามที่นักตกปลาเกล็ดทางบ้านเขา(ญี่ปุ่น)ที่ผมอ่านมาถือกัน เบ็ดต้องมีเกี่ยวในปากปลาที่ตกได้

ส่วนปลาเขาก่อพักก่อนปล่อยคืน บ่าเอามาใว้ เพื่อฮื้อมีปลาจ่อมถึงลูกถึงหลานหมู่เขา หมู่เฮาก่อเลือกเอาว่าจะทำตามเขา หรือ จะเล่นแบบสไตล์บ้านเฮา บ่ามีอันไดผิด มันอยู่ที่สำนึกและความเหมาะสมของแต่ละคนที่เลือกจะเป็น บ่าดีไปซีเรียสกับเรื่องนี้ เพราะปลาอ่างที่หมู่เฮาไปจ่อมก่อคือปลาที่หมู่เฮาเลี้ยงแล้วนำไปปล่อย ถ้าเป็นปลาแปลกๆ  ปลาธรรมชาติที่มีปริมาณน้อย สมควรปล่อยไปเถอะครับ หมู่เฮามีตังส์นัก ซื้อกินเอาก่อได้

เซี่ยงตังส์บ่ากี่บาท แลกกับการที่เฮาได้มีปลาหายากคงอยู่ตามธรรมชาติหื้อแพร่เชื้อพันธ์ของเขานักๆ  ..เก็บความภูมิใจใว้กับตัวเก่า บ่าต้องหื้อไผฮู้ไผหัน ของจะอี้อยู่ในใจครับ

สำหรับปลาประเภทที่ปากยื่น เช่น ตะเพียน นิล ก่อบ่ามีปัญหาสำหรับการจ่อมแบบหน้าดิน เพราะปลาตระกูลนี้สามารถใซ้หาอาหารกินตามหน้าดินได้สบาย (ปรกติแล้วปลาตะเพียน มักจะชอบหากินระดับกลางๆ น้ำจนถึงผิวเรี่ยๆ หน้าดินมากกว่า รักสะอาด ชอบเหยื่อหอมๆ  บ่าเหมือนปลานิลที่หากินดะ ซ๊กม๊ก กินไปเรื่อย ชอบเหยื่อคาวๆ สาบๆ แต่เวลาปลานิลกินเหยื่อ มารยาทดีขนาด มีดูดมีเม้ม ซี๊ดดด ทุ่นขยับสม่ำเสมอกว่าปลาตะเพียนนัก ปลาตะเพียนชอบโฉบเหยื่อ ไม่ค่อยนิ่ง ทุ่นเลยขยับไม่เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ แม่นก่อ หมู่เฮาหลายคนตวัดคันบ่าค่อยทันกะมี เนาะ… จึ๊กๆ  จึ๊กๆ  เดี๋ยวโหย่งขึ้นยาวๆ  สั้นๆ เดี๋ยวมุดลง อ่าๆ ๆ )

ปลาเกล็ดทุกชนิดชอบหากินที่หน้าดิน เมื่ออยู่ใกล้ฝั่ง เพราะมีบ่อยมากที่ได้ปลาจีนจากการตกหลิว ก่อฝั่งมันตื้นๆ แล้วมันจะโผล่หัวมายะหยัง บะเดี่ยวโดนแม่นปืนสอยแน่ แต่ก่อมียกเว้นพ่อง สำหรับบางหมายที่น้ำลึกและยังมีกอผักอยู่ตลิ่ง แบบนี้ปลามันก่อขึ้นมาหากินข้างบนเหมือนกัน ธรรมชาติบ่าค่อยมีอะหยังที่มันตายตัว เนาะหมู่เฮา ดูแม่ญิงสิ หาความแน่นอนบ่าดั้ย เฮ้อ เฮาอกหักตึงวัน

ในการตกปลาเกล็ดแบบสองขอ

ตามหมายธรรมชาติถ้าหากจะเอาจริงๆ แล้วเราจำเป็นต้องออกหมายตั้งแต่เช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นยิ่งดี เพื่อทำการอ่อยเหยื่อและเวลาช่วงเช้าถึงสายๆ จะเหมาะที่สุดในการตกปลาเกล็ด สังเกตุได้ว่าช่วงเช้าและช่วงเย็นปลาเกล็ดจะเข้ามาหากินใกล้ฝั่ง นักตกปลาเกล็ดส่วนมากจะนั่งตกตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นค่ำ ไม่ขยับหาหมายบ่อย และโดยมากแล้วจะมีหมายประจำ นั่งเฝ้าเป็นวันๆ  ไม่ขยับเขยื่อนไปใหน มีแค่ร่มกันแดดอันเดียวนั่งกลางแดดเปรี้ยงๆ ทั้งวัน เพราะหมายตกปลาที่ดีๆ ส่วนมากมักไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าไหร่นัก จึงนับว่านักตกปลาเกล็ดแบบสองขอ เป็นคนอดทนที่สุด ในบรรดานักตกปลาหลายๆ แนวที่มีอยู่ในบ้านเรา การเลือกหมายที่ดีในการนั่งตกปลาเกล็ด – ไม่ควรมองทุ่นย้อนแสงแดดเพื่อเวลามองทุ่นจะได้ไม่ต้องฝืนสายตายามแสงแดดจัดๆ  นั่นคือเลือกนั่งตำแหน่งที่ไม่หันหน้าประทะทิศทางแสงแดดตรงๆ

ในเวลาที่ลมพัด คลื่นน้ำจัด

การจุ่มปลายคันชิงหลิวลงในน้ำเพื่อรอเวลาปลามากินเหยื่อคือวิธีที่ดีที่สุด โดยให้รักษาสายเอ็น ที่อยู่ระหว่างจุดผูกคันจนถึงจุดล็อคทุ่นหลิวให้สายหย่อนน้อยที่สุด ยิ่งสายเอ็นหย่อนมากความใวในการตวัดคันเมื่อปลากินเหยื่อ จะช้ามาก จนวัดปลาไม่ติด รักษาสายเอ็นไม่ให้ตกท้องช้าง โดยกำหนดที่จุดตำแหน่งลงเหยื่อให้พอดีสายพอตึงไม่หย่อนมาก ทุ่นเป็นอิสระเซทความลึกของทุ่นหลิวพอดีถูกต้องไม่ใช่ใช้คันดึงให้ทุ่นตั้งระดับ ลงเหยื่อที่เดิมทุกครั้ง เลือกความยาวคันชิงหลิวให้ถูกต้องเหมาะสมกับหมาย เซทสายเอ็นให้จมน้ำ

การอ่อยเหยื่อ

ต้องอ่อยระหว่างตัวเรากับจุดลงเบ็ด และไม่ควรอ่อยครั้งละมากๆ  ไม่ควรอ่อยเหยื่อก้อนใหญ่สาดกระจายไปทั่วทุกทิศทาง เราควรอ่อยเหยื่อเป็นก้อนที่จุดเดียวเท่านั้นก่อนที่จะเริ่มประกอบคันเบ็ดชุดปลายสาย การอ่อยจะใช้วิธีปั้นเป็นก้อนนิ่มๆ ขนาดเท่าใข่ไก่ใบเล็ก ลูกเดียว แล้วโยนลงจุดกึ่งกลางตัวเรากับจุดลงเหยื่อ ถ้านั่งตกแล้ว นานๆ ไปก็ให้ใช้เหยื่อปั้นเป็นก้อนเล็กๆ เท่ากับที่หุ้มขอเบ็ดดีดไปตำแหน่งที่ลงเหยื่อ เพื่อให้เป็นจุดสนใจของปลาเพิ่มขึ้นแต่อย่าทำบ่อยให้ใช้เฉพาะตอนที่ปลาเงียบ ไม่เข้า เท่านั้น หรือใช้วิธีสาดเหยื่ออ่อยโดยการละลายเหยื่อลงกับน้ำในภาชนะให้ละลายเป็นน้ำแล้วสาดกระจายให้ฝุ้ง ในบริเวณที่ลงเบ็ด

วิธีสาดเหมาะกับหมายที่เป็นบ่อตกปลามากกว่าหมายธรรมชาติเพราะการใหลเวียนของน้ำบ่อมีน้อยกว่าหมายธรรมชาติ ปลาบ่อมักจะเป็นปลาเขี้ยวๆ  หรือปลาที่กินเบาๆ ระแวงเบ็ด การให้อาหารเป็นก้อนอาจทำให้ปลาสนใจเหยื่ออ่อยมากกว่าเหยื่อหุ้มขอเบ็ด แต่กับปลาหมายธรรมชาติ ไม่ต้องกลัวว่าปลาจะอิ่มเหยื่ออ่อย เพราะปริมาณปลาและนิสัยเข็ดเบ็ดไม่เหมือนปลาบ่อโดยสิ้นเชิงการอ่อยจุดเดียวจึงควรลงเป็นก้อนเพื่อให้ปลามา รุมกินเรียกว่าปลาเข้ารวมฝูง ทำให้ตกได้ง่ายกว่า ที่เหลือก็แค่อ่านทุ่นให้ทะลุปรุโปร่งก็แล้วกันได้ตวัดคันกันสนุกมือทั้ววันแน่

สำหรับหมายธรรมชาติที่เรายังไม่เคยลงเบ็ดตกปลามาก่อน

พึ่งมาครั้งแรกว่างั้นเถอะ ก่อนปักหลักลงเบ็ด ต้องเดินดูหมายปลาให้เจอก่อนค่อยเข้าประจำหมาย โดยสังเกตุจี้ปลาให้ดี แยกให้ออกว่าอันใหนจี้ของปลา อันใหนฟองแกสใต้น้ำ ถ้ามีความสามารถแยกแยะจี้ปลาว่าเป็นจี้ปลาอะไรยิ่งแจ๋ว หรือการสังเกตุการขึ้นน้ำของปลา

ถ้าเป็นหมายธรรมชาติจะชัดเจนมาก การสังเกตุง่ายมากๆ ทั้งพรายน้ำที่ปลาขึ้น หรือ จี้ขึ้นเป็นเม็ด เป็นฝูง ถ้าแยกไม่ออกระหว่างจี้ปลากับฟองแกส ก็ให้มองหาหมายที่เป็น ตอไม้ กอไม้ ต้นไม้ที่ยืนในน้ำ ง่ายๆ ก็คือแหล่งที่คาดว่าเป็นบ้านของปลาเกล็ด แต่ต้องสะดวกในการลงเบ็ดด้วย ไม่ใช่ลงไปกี่ไม้ๆ ก็ติดตอทุกดอก ยังงี้วัยรุ่นเซ็งเลย ทดสอบง่ายโดยใช้สายเอ็นผูกตะกั่วที่ปลายสาย แล้วลองลากใต้น้ำบริเวณที่หมายตาใว้เพื่อทดสอบพื้นใต้น้ำ

แค่นี้ก็รู้สภาพพื้นใต้น้ำว่าเป็นอย่างไร ให้เลือกทำเลอยู่ในมุมที่เงียบที่สุด ถ้าเลือก พรรคพวกเล่นตะกร้อ ขอพวง จะดีมากๆ  ครับ ระดับน้ำก็สำคัญ ถ้าเลือกได้ควรอยู่ที่ระดับ 1 ม.  2 ม. จะเหมาะมากๆ  เพราะระดับนี้ปลาเข้าหมายกินเหยื่อได้ดี และทุ่นแสดงอาการได้ใวกว่า ถ้าหมายธรรมชาติน้ำลึกมากๆ จำเป็นต้องใช้ทุ่นใหญ่ขึ้น ถ้าตกหน้าดินก็ต้องใช้ตัวถ่วงใหญ่ขึ้น

ปลาที่เข้ากินเหยื่อก็ย่อมระแวงมากเพราะน้ำหนักเหยื่อจากตัวถ่วงเพิ่มมากขึ้น สายเอ็นก็มีแรงต้านจากคลื่นใต้น้ำที่เคลื่อนตัวไปมา โอกาศได้ปลาใหญ่ที่กินเหยื่อเบาๆ จึงมีน้อยลง นอกจากโชคดีเจอปลาใหญ่ที่ไม่เคยเบ็ด ตะกระ ยังงี้ทุ่นใหญ่แค่ใหน ก็จมแพรบให้วัดได้เต็มปาก ก็ถือว่าเรามีโชค..เอาตัวขึ้นมาให้ได้ก็แล้วกัน น้ำลึกๆ  ปลาใหญ่ๆ  เจอแบบนี้มันวิ่งให้เราเหงื่อตกมาหลายคนแล้ว

ถ้าเป็นประเภทปลาจีนก็โชคดีหน่อยเพราะมันสู้เบ็ดไม่รุนแรงชอบวิ่งที่ระดับกลางน้ำถึงผิวน้ำแต่ถ้าเจอยี่สก นวลจันทร์ธรรมชาติระดับสองโลอัพกับคันหลิวละก็ ถึงแขนห้อยเชียวครับ วิ่งสู้ฟัดทั้งมุดทั้งว่ายไปมา ยิ่งยี่สกนี่มีกระโดดน้ำให้หวิวตะคริวเกาะอดีนาลีนเล่นซะยังงั้น สาวกยี่สกคงซึ้งดี

มีนักตกปลาสองขอเก่งๆ  ตามบ่อตกปลาเกล็ด พูดคุยให้ฟังว่า การจะตกปลาเกล็ดให้ได้ตัวอย่างที่ตั้งใจ ต้องมี ลักษณะดังนี้ คือ ดูหมายปลาเป็น เตรียมอุปกรณ์ และเหยื่อพร้อมและเหมาะสม เซทเทคนิคถูกต้องสำหรับหมายแต่ละที่รู้ว่าปลาบ่อต้องเล่นยังใงปลาอ่างต้องเล่นอย่างไรปลาแต่ละหมายนิสัยคล้ายกันแต่สิ่งแวดล้อมต่างกันทำให้พฤติกรรมต่างกัน อัดปลาเป็น รู้จังหวะ น้ำหนัก ไม่ใช่จะงัดอัดอย่างเดียวควรมีผ่อนมีตาม เป็นคนมีมารยาท ช่างสังเกตุ นิ่ง รู้จักการรอ ที่สำคัญอย่าโจมตีคนตกแข่งขันปลาบ่อ ให้สำนึกกันซักหน่อยว่าเทคนิคที่เขาพัดตะนามาให้เล่นกัน ส่วนมากมาจากมือปลาบ่อทั้งสิ้น อย่าไปดูถูกกัน จำใว้ๆ  ฮึ่มม คันเขี้ยวปนหมั่นใส้บ่ะ! ฮานี้บ่ะเฮ้ย

เกร็ดเล็กๆ  น้อยๆ  

– ใช้สายหลีดมัดขอเบ็ด มีแรงดึงต่ำกว่าสายเมนที่ผูกคันเสมอ เช่น สายเมน 15 lbs. สายหลีดมัดขอเบ็ดอาจใช้ 10-12 lbs
– กรณีไม่สามารถหุบคันชิงหลิวเก็บได้ อาจเนื่องจากขอเบ็ดติดหินติดตอแล้วต้องดึงคันให้ขอเบ็ดหลุดหรือให้สายหลีดขาด

Advertisements
ผลปรากฏว่าตอนเก็บคันหดเก็บไม่ได้ ให้ใช้ไฟลนที่ข้อต่อท่อนที่ติด ลนห่างๆ พอให้ความร้อนทำให้ข้อต่อขยายตัว แล้วค่อยๆ ดันท่อนชิงหลิวเก็บ อย่าลนไฟใกล้ๆ ไม่งั้นท่อนหลิวตรงจุดนั้นอาจหัก หรือเสียหาย ถ้ามี แอร์กัน หรือไดน์เป่าผม ก็นำมาเป่า ยิ่งดีกว่าไฟลน ควรทำอย่างระมัดระวัง

ความยาวสายเมน

ควรให้ยาวมากกว่าความยาวของคันชิงหลิวไม่เกินหนึ่งศอก มากกว่านี้จะลำบากในการวางเหยื่อ ถ้าสั้นกว่าความยาวของคันชิงหลิวยิ่งไม่ดี เมื่อต้องอัดกับปลาเกล็ดใหญ่ ควรมีความยาวเหลือพอให้ตั้งคันสู้ปลา ถ้ามุมคันหลิวอยู่ใกล้แนวนอนมากเท่าไหร่ โอกาศสายเอ็นขาดจะมากกว่ามุมแนวตั้งคันมากๆ  กรณีนี้คือคาดว่าสายเอ็นที่ใช้เอาปลาอยู่แน่นอน ไม่ต้องโยนคันถือสายเซฟตี้

ขอเบ็ดตกปลาเกล็ดเลือกใช้ตามใจชอบ

ส่วนตัวของผมชอบยี่ห้อมารูตะ คินริว เพราะคม บาง วัดทะลุได้ใวดี แต่ข้อเสียคือเจอตอแล้วง้างง่ายมาก แต่มีวิธีทำให้แกร่งโดยการชุบแข็ง คือการนำมาเป่าด้วยไฟความร้อนสูงเช่น ไฟจากหัวเชื่อมแกส หรือจากอะไรก็ได้ที่ให้ความร้อนสูง เป่าลนจนขอเบ็ดแดง แล้วนำลงไปชุบในน้ำมันขี้โล้(น้ำมันเครื่องเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้ว) แล้วนำไปลนไฟอีกรอบ แล้วนำมาวางย่างบนเตาไฟฟ้าที่อุณหภูมิ ซัก 150 องศา แล้วนำมาลงน้ำมันขี้โล้อีกทีก็ได้ขอเบ็ดที่แกร่งขึ้นไม่ง้างง่าย ถ้ายุ่งยากก็ซื้อเก็บใว้เยอะๆ  มัดเตรียมใว้มากๆ ก่อนออกหมายเพื่อความมั่นใจ

ลูกหมุนเลือกใช้แบบกระปุกจะดีกว่าแบบเกลียว

ไม่ต้องเอาแบบ ball bearing ก็ได้เพราะอันนั้นเหมาะกับการตีเหยื่อปลอม เอาแบบธรรมดาตัวละบาทนั่นแหละครับ ให้มีหลายๆ ขนาด ตะกั่วควรมีใว้ใช้หลายๆ  แบบ แบบหนีบ แบบเม็ด แบบบาเรล แบบฟิวส์ แบบหลอด แบบแผ่น ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านตกปลาทั่วไปทั่วราชอาณาจักร ห้ามนำมาทานเล่นนะครับเดี๋ยวติดคอ! ใครที่ใช้สายยางเอวกางเกงมาผูกต่อๆ กันเป็นสายเซฟตี้ระวังใว้นะครับ เพราะถ้าเจอปลาใหญ่วิ่งจัดๆ ตามอ่างเก็บน้ำ เช่นยี่สก เอาไม่อยู่แน่ เพราะยางรัดเอวกางเกง ถ้ายืดถึงระยะของมัน ก็จะกลายเป็นผ้าธรรมดาๆ  ปลาวิ่งอีกนิดเดียว สายเอ็นขาดผึง ชัวร์..

ขออภัยนักลิขสิทธิทั้งหลายด้วยครับที่ไม่ได้บอกที่มาของภาพประกอบ เพราะภาพเหล่านี้ผมเก็บรวมๆ กันใว้ สะสมมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มศึกษาการเล่นชิงหลิว เพราะแถวหล่ะปูนนี้หาคนเล่นหลิวยากมาก ไม่ค่อยยอมรับกัน เลยต้องหาความรู้เอาเองทั้ง ตระเวณดูคนที่ใช้หลิว หนังสือตกปลาญี่ปุ่นและอินเตอร์เนต พอเล่นมาถึงจุดที่คิดว่าน่าจะชวนคนอื่นเล่นบ้างเพื่อหาสมัครพรรคพวกเพิ่มกลุ่มคนเล่นหลิว เลยถือว่าแบ่งปันความรู้เพื่อส่วนรวม สำหรับบางคนที่อยากทดลองเล่นเท่านั้น อย่าไปคิดอะไรมากนะครับ ก๊อบด้วยความบริสุทธิใจครับ…ฮ่าๆ ๆ

หนังสือตกปลาบ้านเราด้วยครับ..บทความของอาจารย์ดำเนิน ผมไม่แน่ใจว่าเป็น นิตยสารนักตกปลาหรือกีฬาตกปลา ขออภัยอีกครั้ง อีกท่านก็ ร้านเบ็ดโอชิมาที่ลงบทความคันชิงหลิว ขออภัยที่ลืมชื่อหนังสือ คือผมไม่ได้ซื้อหนังสือตกปลาอ่านนานมากแล้ว เล่มเก่าๆ ก็ขาย บริจาคตอนเลิกตกปลาหลายๆ ครั้ง แอ่ๆ ๆ  ..ถ้าเจ้าของมาเห็นก็ฟ้องร้องท่านเจ้าบ้านได้เลยนะครับ ผมเป็นลูกบ้านครับ..แฮ่

อ่านเพิ่มเติม ตกปลา ด้วยขนมปัง เหยื่อเอนกประสงค์

Advertisements