หนอนผีเสื้อที่หิวมาก สามารถทำลายถุงพลาสติกและขวดโซดาได้

นักวิจัยค้นพบว่าน้ำลายของหนอนแว็กซ์ (Wax worms) สามารถทำลายพลาสติกชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดของโลก แม้ว่ามันอาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่ตัวอ่อนที่บิดตัวไปมาเหล่านี้ อาจเป็นวิธีใหม่ในการต่อสู้กับปัญหามลพิษพลาสติกของโลก

หนอนผีเสื้อ

ในการศึกษาใหม่ นักวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติสเปน (CSIC) พบว่าตัวอ่อนของ Wax moth ประกอบด้วยเอนไซม์ 2 ชนิด ที่สามารถออกซิไดซ์และย่อยสลายโพลิเอทิลีน ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำถุงพลาสติกและขวดโซดา

การทดลองของพวกเขา แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์ที่พวกเขาตั้งชื่อว่า Demetra และ Ceres ตามเทพธิดาแห่งเกษตรกรรมของกรีกและโรมัน สามารถสลายโพลิเอธิลีนได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง

ในการย่อยสลายพลาสติก ออกซิเจนจำเป็นต้องเจาะพอลิเมอร์ (ในโมเลกุลพลาสติก) ขั้นตอนการเกิดออกซิเดชันครั้งแรกนี้ โดยปกติจะเป็นผลมาจากการสัมผัสกับแสงแดดหรืออุณหภูมิที่สูง มันเป็นคอขวดที่ชะลอการเสื่อมสภาพของพลาสติก เช่น โพลิเอทิลีน ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ทนทานที่สุด ด้วยเหตุนี้ภายใต้สภาวะแวดล้อมปกติ พลาสติกต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีในการย่อยสลาย ..Federica Bertocchini ผู้เขียนการศึกษาจากศูนย์วิจัยชีวภาพของ CSIC กล่าวในแถลงการณ์

“ตอนนี้เราค้นพบแล้วว่า เอ็นไซม์ในน้ำลายของหนอนแว็กซ์ทำขั้นตอนสำคัญนี้ พวกมันจะทำการออกซิไดซ์พลาสติก ดังนั้นจึงทำให้สามารถเอาชนะคอขวดของการย่อยสลายพลาสติกและเร่งการสลายตัวของพลาสติก” Bertocchini กล่าวเสริม

แม้หนอนแว็กซ์อาจเป็นความหวัง แต่ขนาดของวิกฤตมลพิษพลาสติกของโลก กว้างใหญ่เกินกว่าที่หนอนเหล่านี้จะจัดการด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามความรู้เกี่ยวกับเอ็นไซม์ของพวกมัน สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ซึ่งจะสามารถจัดการกับปัญหาได้

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements