โดยปกติไวรัสมักถูกกินแบบไม่ตั้งใจ โดยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด และอาจถึงขั้นเป็นส่วนประกอบอาหารของสัตว์ทะเลบางชนิด แต่ที่ผ่านมาไวรัสไม่เคยมีคุณสมบัติในระดับที่เรียกว่าเป็นห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเรียกว่าไวโรโวรี (virovory) นั้นเพราะไวรัสไม่เคยให้พลังงานหรือสารอาหารจำนวนมากแก่ผู้บริโภค
ฮัลเทเรีย (Halteria) เป็นแพลงก์ตอนที่ใช้ขนของมันเพื่อขับเคลื่อนผ่านน้ำ โดยจากตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยพบว่า ไม่เพียงแพลงก์ตอนชนิดนี้จะกินคลอโรไวรัส (Chlorovirus) ไวรัสยังกระตุ้นการเติบโตของฮัลเทเรีย และยังเพิ่มประชากรได้อีกด้วย
หากคิดถึงผลกระทบจากการกินคลอโรไวรัสจำนวนมากในธรรมชาติ อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อวัฏจักรคาร์บอน …คลอโรไวรัสเป็นที่ทราบกันดีว่า มันทำให้สาหร่ายสีเขียวที่มองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์สามารถแพร่เชื้อได้ ทำให้โฮสต์ของพวกมันแตกตัว จากนั้นก็ปล่อยคาร์บอนและสารอาหารอื่นๆ สู่สิ่งแวดล้อม
“ถ้าคุณคูณค่าประมาณคร่าวๆ ของจำนวนไวรัสที่มีอยู่ จำนวนซิลิเอต (Ciliate) ที่มีอยู่ และปริมาณน้ำที่มีอยู่เท่าใด ก็จะออกมาเป็นพลังงานจำนวนมหาศาลที่เคลื่อนตัวขึ้นสู่ห่วงโซ่อาหาร” จอห์น เดอลอง นักนิเวศวิทยากล่าว …หากสิ่งนี้เกิดขึ้นในระดับที่เราคิดว่าเป็นไปได้ มันน่าจะเปลี่ยนมุมมองของเราเกี่ยวกับการหมุนเวียนคาร์บอนทั่วโลกอย่างสิ้นเชิง
นักวิจัยได้เปรียบเทียบฮัลเทเรีย (Halteria) กับ พารามีเซียม (Paramecium) ซึ่งกินไวรัสเหมือนกัน แต่พวกเขาพบว่าขนาดและจำนวนของพารามีเซียมแทบไม่ขยับเลย ในขณะที่ฮัลเทเรียมีประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 15 เท่าในสองวัน ในขณะที่จำนวนไวรัสลดลง 100 เท่า
และจากการวิเคราะห์เพิ่มเติมเปิดเผยว่า การเติบโตของฮัลเทเรีย เมื่อเปรียบเทียบกับการลดลงของคลอโรไวรัสนั้น ตรงกับอัตราส่วนที่เห็นในความสัมพันธ์ระหว่างนักล่ากับเหยื่อในสภาพแวดล้อมทางน้ำ ทำให้ทีมวิจัยมีหลักฐานมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้น ..ต่อจากนี้เราต้องไปหาว่านี่เป็นความจริงในธรรมชาติหรือไม่