บทสรุปใครคือราชันย์สปินทะเล Stella x Daiwa Saltiga

นี่คือบทสรุปที่ผมทำขึ้นมาให้น้าๆ ได้อ่านกันเกี่ยวกับ Stella สุดยอดรอกจากค่าย Shimano และ Saltiga สุดยอดรอกจากค่าย Daiwa และต้องบอกว่าบทความนี้ยาวมาก เพราะมันจะพูดจุดเริ่มต้นการแข่งขันของทั้งสองค่าย จนถึงรุ่นล่าสุดเลยยังไงก็ติดตามอ่านกันนะครับ

ถ้าเป็นนักตกปลาที่มีประสบการณ์ หากพูดถึง Shimano Stella ก็คงเทียบได้กับ Rolls Royce ล่ะมั่ง ส่วน Daiwa Saltiga ก็คงเป็น Ferrari นั้นละ หากถามว่าทำไม Stella ถึงเป็น Rolls Royce นั้นเพราะว่ามันดีที่สุด ในมีรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย ประณีตในขณะที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ส่วน Saltiga ที่เทียบได้กับ Ferrari นั้นเพราะมันจะมีรูปลักษณ์ที่โฉบเฉียว ทันสมัย ดุดันและยังเต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพเช่นกัน

มาเข้าเรื่องดีกว่า สำหรับเรื่องนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากบทความต่างประเทศ เกี่ยวการแข่งขันเพื่อแย่งชิงความเป็นหนึ่งในวงการรอกตกปลาทะเลระหว่าง Shimano Stella และ Daiwa Saltiga ซึ่งทั้งสองถือเป็นรุ่นเรือธงหรือดีสุด แพงที่สุด และมีชื่อเสียงมากที่สุดอีกด้วย โดยปัจจุบันนี้ Saltiga จะถูกผลิตมาเพื่อใช้กับน้ำเค็มโดยเฉพาะ และมีรุ่น Exist มาเป็นเรือธงของน้ำจืด แต่ผมจะไม่พูดถึงมันนะ ในขณะที่ Stella เป็นชื่อที่ถูกใช้กับรอกที่ดีที่สุดของ Shimano ทั้งแบบน้ำจืดและน้ำเค็ม แต่ที่จะพูดถึงจะมีเพียงน้ำเค็มเท่านั้น

การแข่งขันเริ่มต้นเมื่อปี 1992 – 1993

Advertisements

การแข่งขันแย่งชิงตำแหน่งที่สุดของรอกตกปลา ระหว่าง Shimano กับ Daiwa เริ่มต้นเมื่อปี 1992 – 1993 Shimano ได้ส่งรอกที่ชื่อ Stella ที่ถือว่าเป็นการปรากฏตัวครั้งแรก Stella โดยตัวรอกสร้างขึ้นจากโลหะทั้งตัว และมันใช้เทคโนโลยีดีที่สุดในสมัยนั้น แน่นอนว่า Daiwa ไม่ยอม โดยในสมัยนั้น Daiwa มีทีมพัฒนารอกระดับสูงอยู่ 2 ทีมคือ Team Daiwa Z (freshwater) กับ Team Daiwa X (saltwater) แต่กว่าจะมีรอกที่ใกล้เคียงกับ Stella ได้ ก็ต้องรอถึงปี 1999 โดยรอกรุ่นแรกมีชื่อว่า Team Daiwa TDX6000HIA มันมีราคาเกิน $550 แต่เจ้านี่ก็ยังเป็นรอง Stella อยู่ดี

ในปี 2001 Daiwa ก็ประสบความสำเร็จในการสร้างรอกที่ชื่อเสียงอย่างมาก ในชื่อ Saltiga และเป็นครั้งแรกที่ Daiwa สามารถเทียบเคียงกับ Shimano ได้ แน่นอนว่ากว่า Saltiga จะออกมา ก็ผ่าน Stella มาถึง 5 รุ่นแล้ว นั้นคือ Stella ปี 1992 (First Model), 1995, 1998, 2000 (Millenium Edition) และ 2001

st1980 มีบทความหนึ่งรีวิวเทียบระหว่างรอก Saltiga 6000 กับ Stella 20000FA (2001 Generation of Stella) ได้บอกเอาไว้ว่าระหว่างสองรุ่นนี้ชื่อของ Saltiga ได้ขึ้นเป็น #1 แล้ว

z6000-1 Stella FA สาเหตุ Saltiga เอาชนะได้นั้นเพราะใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่าในการสร้าง Digigear ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์ 3D ในการออกแบบและสร้างชิ้นสวนต่างๆ มันมีความแม่นยำที่ยอดเยี่ยม และใช้วัสดุที่แข็งแรงมากในยุคนั้น โดย Saltiga รุ่นแรกใช้วัสดุผสมทองแดง/อลูมิเนียม C6191 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Marine Bronze ด้วยวัสดุชนิดนี้บอกได้เลยว่ามันยอดเยี่ยมที่สุด ในขณะที่ Stella FA ใช้เพียงอลูมิเนียมคุณภาพสูงในส่วนของเฟืองหลักและทองเหลืองในส่วนเฟืองอื่น

z6191 อีกจุดที่ทำให้ Saltiga รุ่นแรกดูดีกว่า Stella FA ได้คือ เทคโนโลยีที่เรียกว่า One Piece Bail Wire ได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในรอกรุ่นนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดกับรอกสปินกับสาย แถมยังมีกลไกป้องกันการถีบตัวย้อนกลับซึ่งดีกว่า Stella ในยุคเดียวกัน

นอกจากนี้ Saltiga ยังออกแบบส่วนของแขน จุดเชื่อมต่อระหว่างเพลาเกียร์ที่ยอดเยี่ยมกว่าเดิม ด้วยการยึดแบบสกรู ซึ่งเป็นแขนแบบชิ้นเดียว ตรงนี้จะได้ความแข็งแกร่งที่เพิ่ม ทั้งกับแขน และเฟืองหลัก แต่ก็เสียแขนแบบพับได้ที่นิยมใช้กันในตอนนั้นไป

vbattach221059 มีสิ่งเดียวที่ Stella 2001 ทำได้ดีกว่า Saltiga คือ กำลังเบรก ซึ่งมีค่าเฉลียที่สูงกว่า และยังมีความนุ่มนวลกว่า ในขณะที่ Saltiga เบรกมีปัญหาบางอย่าง โดยมักจะเกิดในช่วงออกตัวบางช่วงเวลา ปัญหานี้อาจไม่ใหญ่โต แต่ตามทฤษฎีแล้วเมื่อเทียบกันระหว่าง 2 รุ่นนี้ Saltiga ทำให้สายเกิดความเครียจมากกว่า หากเป็นปลาขนาดไม่ใหญ่ก็ไม่ค่อยมีผลอะไรมาก แต่หากเจอปลาใหญ่ จะมีโอกาสที่แขนของโรลเตอร์จะหักสูงมาก ในช่วงแรกๆ ของการขาย มีการพบแขนโรลเตอร์หักค่อนข้างบ่อย

vbattach221063 ด้วยการออกแบบอย่างยอดเยี่ยม รวมทั้งวัสดุที่แข็งแกร่งที่สุดในยุคนั้น เลยทำให้ Saltiga กลายเป็นรอกสปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก เป็นเวลาถึง 7 ปี และในปี 2008 Shimano ก็เปิดตัว Stella รุ่นใหม่ โดยก่อนหน้านี้มันได้รับการทดสอบอย่างลับๆ ซึ่งมีการบอกเล่าเกี่ยวกับรอกรุ่นนี้ มันถูกทดสอบที่ออสเตรเรีย, โอมาน และในอเมริกา แหล่งข่าวบอกว่าในครั้งแรกการทดสอบถูกเรียกว่า V-Alpha Spinning Reel ต่อมาคือ Stella SW ที่มีชื่อเสียงอย่างมากแม้จะเป็นจะเป็นตอนนี้ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ในประเทศญีปุ่นได้สร้าง Stella SW 2008 ถึง 13 รุ่น โดยใช้ชื่อว่า SWxxxxPG/HG/XG ในกรณีนี้คำว่า

– PG คือ Power Gear เป็นรอกที่มีรอบต่ำ เหมาะกับการ Jigging
– HG คือ High Gear เป็นรอกรอบสูง ที่เหมาะกับการ Popping
– XG คือ Extreme Gear รอกรอบสูงสุด สำหรับคนที่ต้องการรอกที่เร็วกว่า HG

SW_ima1 ส่วนรอกที่ออกแบบมาเพื่อตลาดอเมริกาจะมีเพียง 6 รุ่นเท่านั้น โดยมันจะใช้ชื่อว่า xxxxxSW เช่น 8000SW PG ซึ่งอัตราส่วนเกียร์ช้ากว่า 8000SW และสำหรับเบอร์ 5000 คือขนาดเล็กที่สุด ส่วนเบอร์ 8000 และ 10000 จะมีโครงสร้างทีคล้ายกัน ส่วนขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดอเมริกาคือ 18000 สำหรับรอบสูง และ เบอร์ 20000 สำหรับรอบต่ำ  สำหรับ Stella SW เบอร์ใหญ่จะมีเบรกที่ยอดเยี่ยมมาก มันใช้ Hyper Twin Disk Drag ทำงานได้ดีแม้จะต้องสู้กับปลาขนาดใหญ่เป็นเวลานาน

twin disk drag มีสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึง และมีข่าวลือที่ว่าความแตกต่างระหว่าง JDM Stella กับ US Stella นอกจากจะมีความแตกต่างกันที่โทนสีแล้ว ยังมีเรื่องของวัสดุที่ต่ำกว่า .!!! เกียร์ที่ เส็งเคร็งกว่า..!! หรือจะลูกปืนที่คุณภาพต่ำกว่า ..!!

.. แต่เมื่อไม่นานมานี้ตัวผมเองถอดชิ้นส่วนของ  JDM Stella และได้รับรอกทดสอบ US Stella มา แน่นอนว่าได้ถอดเพื่อเทียบ ผลคือภายในเหมือนกัน 100% ผู้ทดสอบยืนยันว่าในปีนั้น JDM Stella และ US Stella 2008  ถูกทำขึ้นเหมือนกันทุกประการ โดยความแตกต่างจะเจอได้จากภายนอก ในเรื่องสีเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ตรงสปูนของ US จะไม่มีข้อความ ARC Spool  ส่วนอื่น JDM จะมี Aero Wrap เขียนอยู่ด้านหลัง ส่วน US จะเขียนว่า Aero Wrap II เป็นต้น

4 ปี หลังจากที่ Saltiga ส่งรุ่นที่ 2 ออกวางจำหน่าย

ในปี 2010 ทาง Daiwa ก็ได้เปิดตัวรอกสปินที่ดีที่สุดเท่าที่พวกเขาสร้างขึ้นมา นั้นคือ Saltiga Expedition 2014 มันเป็นรุ่นที่พัฒนาต่อยอดจากปี 2001 แต่ก่อนจะมาถึง “Expedition” Saltiga Z ยังมี Dogfight ที่มีสีดำ/S-Extreme และ S-Extreme Maverick  สีแดง ดำ รอกรุ่นดังกล่าวหลายๆ คนคงจะรู้จักกันดี

2014SALTIGA-EXPEDITION

ถ้าให้พูดถึง Saltiga Expedition & Stella SW

เมื่อได้ถือ Expedition ตัวใหม่ ต้องบอกว่ามีให้ความรู้สึกที่สุดยอด มันรู้สึกดี เมื่อหมุนไม่มีอาการสั่น และยังแทบจะไม่มีเสียงเลย ก็คงจะตามเครื่องหมายการค้าที่ว่า Near-Zero ซึ่งเป็นลักษณ์เฉพาะใน Saltiga ที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก

ในตอนนี้กำลังจะพูดถึงเป็น Saltiga Expedition 8000H ถือเป็นรอกสปินที่มีรอบสูง มีอัตราส่วน 5.7:1 เหมาะกับการตกปลาแบบผิวน้ำ พวก Poppers และ Stick Baits จุสาย PE6 (0.40 มม) ได้ประมาณ 540 เมตร ซึ่งมีความจุมากกว่า Stella SW18000 ประมาณ 20% และกับ SW20000 ประมาณ 12% ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดของ Daiwa เกี่ยวกับการจัดการสปูน เลยทำให้ฐานของสปูนมีขนาดเท่ากับ Dogfight 7000 และเพิ่มความกว้างที่ด้านหน้า ผลที่ได้คือมีความจุมากกว่าคู่แข่งที่มีใกล้เคียงกันอย่าง Stella SW18000 – 20000 รวมทั้ง Dogfight เองด้วย เลยทำให้ Expedition มีสปูนที่ยอดเยี่ยมทั้งความสวยงาม และการความเหมาะสมอย่างที่สุดในการใช้งาน
exp02-11
ไม่เหมือนกับ Stella SW30000 ที่เหมือนจะตัดสินใจไม่ค่อยถูกต้องเท่าไร เพราะพวกเขาเอาบอดี้ของเบอร์ 20000 มาใช้ แล้ววางเอาโรเตอร์ขนาดใหญ่ รวมทั้งสปูนที่ใหญ่ขึ้นเท่านั้น มันเลยดูไม่สมดุล เพราะมันจะหนักด้านหน้า ซึ่งผลก็คือแทนที่รอกเบอร์ใหญ่ขึ้นจะมีกำลังเบรกสูงสุดมากกว่า กลับเป็นว่าตัวรอกจำเป็นต้องลดกำลังเบรกลง โดย SW30000 กำลังเบรคประมาณ 40 lb แต่ SW20000 กลับมีถึง 50 lb

และหากนักตกปลาไปปรับแต่งกำลังเบรกเพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลร้ายแรงอย่างเพลางอเลยทีเดียว ซึ่งได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก จะเรียกว่า SW30000 เป็นความผิดพลาดของ Stella SW เลยก็ว่าได้

มาพูดถึง Expedition 8000H บ้าง รอกตัวนี้มีน้ำหนัก 873 กรัม (30.8 ออนซ์) ซึ่งเบากว่า SW20000 ประมาณ 12 กรัม

exp08 exp09

สิ่งหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดคือ Daiwa รักษามุมแบบดังเดิมเอาไว้

Advertisements

Shimano ได้เปลี่ยนมุมของสปูน รวมถึง Stella SW 2013 ซึ่งเรื่องนี้มีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับแนวขนานของเพลาหลัก กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะกับรอกที่มีขนาดใหญ่กว่า SW18000 ด้วยการใช้แบบมาตรฐานอย่าง Jigging และ Popping เมื่อสายออกจากรอก ผ่าน Line Rolle ดูเหมือนว่าสายจะไม่อยู่ในตำแหน่งที่ดีสักเท่าไร มันสามารถให้สายเสียหาย และยังรู้สึกแปลกๆ อีกด้วย

exp10

โดยเรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนจากนักตกปลาชาวยุโรปค่อนข้างมาก และยังมีหลายคลิปที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ จนกระทั่ง Shimano Europe ได้ออกมาแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้
โดยมีข้อความสำคัญดังนี้

“มีรายงานรวมทั้งคลิปวีดีโอ จากฝรั่งเศสและสเปน เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นใน Stella SW2013 ซึ่งเกิดกับสายและ Line Roller และทางทีมงานได้ทำการตรวจสอบ เราได้พบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เกิดเฉพาะกับคันเบ็ดที่มีระยะห่างระหว่างรอก และไกค์ตัวแรก (ตัวใกล้รอกที่สุด) นั้นมีระยะสั้นเกินไป สิ่งแรกที่เราสามารถแนะนำได้คือ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว แนะนำให้ใช้คันเบ็ดที่มีระยะห่างระหว่างรอกกับไกค์ตัวแรกอย่างน้อย 37 เซนติเมตร..!!”

ด้วยข้อผิดพลาดที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับ Shimano โดยเฉพาะกับ Stella SW 2013 เลยถือเป็นโชคดีที่ Saltiga Expedition ยังคงรักษามุมแบบดังเดิมไว้ …มาถึงตรงนี้ดูเหมือน Saltiga ยังคงทำได้ดีกว่า Stella


MAG SEAL อีกจุดแข็งที่มีเฉพาะ Daiwa

ถ้าเป็นคนที่ใช้รอกของ Daiwa น่าจะรู้จักชื่อนี้กันอยู่แล้ว เพราะระบบลูกปืนนี้ถูกนำมาใช้กับรอกรุ่นใหม่ๆ ของ Daiwa เกือบทุกตัวเลยก็ว่าได้

แล้วรู้หรือเปล่าว่า Mag Seal เริ่มต้นเมื่อไร..?
ตรงนี้ผมไปค้นข้อมูลมาบอกเล็กน้อย ..

 

จุดเริ่มต้นของ Mag Seal..?

Advertisements

จริงๆ แล้วระบบนี้เริ่มเอามาใช้กับ Saltiga ตั้งแต่ปี 2010 แต่มันยังไม่ค่อยสมบูรณ์ดีเท่าไร และจากบทความรีวิวใหม่ของรุ่น Catalina ได้บอกเอาไว้ว่าทาง Daiwa ได้มีการปรับปรุงระบบนี้ในปี 2011 จนกระทั่งถึงรุ่น Expedition จึงกล้าพูดได้ว่า Mag Seal ถูกทำให้สมบูรณ์กว่าเดิมมาก

เพราะไม่เพียงของเหลวที่เป็นแม่เหล็กจะอยู่ในที่ๆ มันควรจะอยู่แล้ว มันยังไม่กระจัดกระจายอีกด้วย ที่สำคัญของเหลวนี้ยังรักษาความสะอาดไว้ได้ แม้จะนำรอกไปจุ่มน้ำหมาดๆ หรือจะเป็นไอน้ำทะเลจากเรือที่เร่งความเร็ว จนถึงการทดสอบที่เกิดขึ้นภายหลัง ด้วยการฉีดน้ำจืดแรงๆ ใส่รอก ก็พบว่า Saltiga รุ่นใหม่ๆ ทำได้น่าประทับใจมากกับระบบ Mag Seal

ตกปลา ในอดีตระบบนี้มีข้อบกพร่องมากจนเกินไป จนถูกหลายๆ คนประเมินคะแนนค่อนข้างต่ำ แต่ด้วยความพยายามของ Daiwa ทำมันจนใช้งานได้ดี จนเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์สำคัญของ Daiwa และด้วย Mag Seal ทำให้เกิดการยกระดับของการตกปลา ด้วยรอก Daiwa ขึ้นอีกระดับ เนื่องจากรอกจะไม่มีซีลยางอีกต่อไป การสัมผัสทางกายภาพระหว่างส่วนต่างๆ จะลดลงไปมาก และยังป้องกันความน้ำได้ดีมากอีกด้วย

แต่..! คุณมีข้อความระวัง 2 ข้อ เกี่ยวกับระบบนี้คือ

1. ไม่ควรใช้รอกที่มีระบบนี้รวมทั้ง Saltiga ในการตกปลาแบบ Surf Fishing เพราะการตกแบบนี้จะมีฝุ่นทรายทั้งจากลม จากน้ำ จากสายที่พาเข้ามา ซึ่งเป็นของแข็งที่มีอนุภาคเล็กมากๆ มันจะมีโอกาสติดกับของเหลวแม่เหล็กได้

2. เรื่องการซ่อมบำรุงของรอกระบบนี้ จำไว้ว่าจะมีเพียงศูนย์บริการอย่างเป็นทางการของ Daiwa เท่านั้นที่สามารถให้บริการเต็มรูปแบบได้ เนื่องจากทาง Daiwa ไม่ได้ขายของเหลวแม่เหล็กให้กับร้านค้าทั่วๆ ไป หากต้องซ่อมบำรุงระบบ Mag Seal จะต้องตรวจสอบให้ดี ไม่เช่นนั้นความสมบรูณ์ของ Mag Seal อาจจะไม่ได้มาตาฐาน

เกี่ยวกับ Clutch (คลัทช์) + Anti-Reverse (ชุดกันย้อนกลับ)

ต้องบอกว่าชุุดป้องกันการย้อนกลับของ Daiwa Japan ได้ออกแบบและถูกใช้มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 1990 โดยใช้กับรอกที่ชื่อว่า Daiwa X ก่อนที่จะมีรุ่น Saltiga และก็เป็นเวลากว่า 20 ปี ที่คลัทช์ แบบนี้ได้แสดงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือได้สูงสุด แทบจะไร้ที่ติ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้เห็นรอกรุ่นใหม่ๆ ยังคงใช้ระบบคลัทช์นี้อยู่

บอดี้

เริ่มด้วย Saltiga 2010 ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอย่างหนึ่ง นั้นคือได้เพิ่มช่องระบายน้ำที่ตัวกันชนตูดรอก ด้วยวิธีนี้น้ำจะไม่ขังอยู่ที่ตูดรอกอย่างแน่นอน และถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะใช้ได้ผลดีมาก แต่ Daiwa ก็ได้อัพเกรดตรงส่วนนี้ให้กับรุ่น Expedition โดยตรงกันชนตูดรอกทำจากสแตนเลสที่มีความแข็งและดูสวยงาม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของ Saltiga ที่ทำให้รู้สึกถึงความแข็งแกร่ง

ตกปลาอีกส่วนที่อยากจะพูดถึงคือ “Engine Plates” มันถูกสร้างมาด้วยความแม่นยำที่สูง ช่วยปรับเฟืองให้พอดี ซึ่งหากดูจากภาพจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบแรกทีเห็นการปรับปรุงที่สำคัญมากของรอก ส่วนนี้ผนึกด้วยยางสีดำ แล้วถูกใช้ใน Saltiga 2010 / Dogfight / Catalina 2011 / Isla มันถูกติดตั้งเพื่อป้องกันการรั่วซึ่มเมื่อฝาข้างถูกเปิด

ตกปลา


Gearbox

คำเตือนเกี่ยวกับการส่วนนี้หากคิดจะถอด ต้องบอกว่าในส่วนของสกรูที่ยึดฝาครอบด้านข้างของ Gearbox จะมีความแน่นอย่างไม่น่าเชื่อ สกรูมีความพอดี การจะถอดออกหากไม่ต้องการความผิดพลาด ควรใช้เครื่องที่คุณภาพสูง

ในส่วนของ Gearbox สิ่งแรกที่น่าดึงดูดคือลูกปืนแบบใหม่ที่เรียกว่า Mag Sealed ball baearings มันถูกนำมาแทนที่ลูกปืนแบบเก่าในส่วนเพลาเกียร์ (Drive Gear’s Shaft) ซึ่งโดยปกติแล้วลูกปืนในส่วนนี้จะเป็นลูกปืนที่มีการป้องกันด้วยประเก็นโลหะที่สามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กใหญ่ แต่ไม่สามารถป้องกันน้ำหรือน้ำมันได้ จนถึงลูกปืนที่ปิดสนิทด้วยประเก็นยาง ซึ่งสามารถป้องกันน้ำได้ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่มันยังมีความเสียดทานทางกายภาพอยู่ ซึ่งส่งผลต่อการหมุนของรอก แต่ Daiwa มีความคิดใหม่ที่สมบูรณ์กว่านั้น

ตกปลาDaiwa ได้ออกแบบลูกปืน Mag Sealed ball baearings ที่ใช้หลักการของระบบ Mag Seal ด้วยการใช้ของเหลวแม่เหล็ก ให้อยู่ระหว่างลูกปืนแม่เหล็ก จนเกิดเป็นสนามแม่เหล็กขึ้นในลูกปืน ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ลูกปืนชนิดนี้ป้องกันน้ำได้อย่างสมบูรณ์ แต่จะไม่มีแรงเสียดทาน เพราะไม่มีประเก็นที่ติดต่อทางกายภาพ การหมุนจึงราบเรียบกว่า แต่ถ้าจะต้องการตรวจสอบภายในก็คงไม่ง่าย เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการถอดแยก ดังฉันจึงตัดสินใจไม่ขอยุ่งกับระบบนี้ดีกว่า

ตกปลามีอยู่ครั้งนึงที่ Daiwa ได้แสดงโชว์ระบบนี้ด้วยการติดตั้งท่อน้ำแรงดันสูงไว้ในส่วนช่องที่เปิดของมือหมุนรอกรุ่น Expedition และเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ทดรองหมุนดู ต้องบอกว่าไม่มีน้ำรั่วไหลเข้าภายในเลย ฉันจึงกลับมาทดสอบแบบเดียวกันแต่รุนแรงกว่ากับรอกของฉันแล้วถอดออกมาดู ก็พบกว่าภายในไม่มีร่องรอยของน้ำในรอกเลย จึงสรุปได้ว่า Daiwa Saltiga Expedition สามารถป้องกันน้ำได้อย่างสมบูรณ์


Oscillation (ระบบที่ชักสปูนขึ้นลง)

ระบบนี้ถือเป็นหัวใจของรอกสปิน และถึงแม้จะเป็นรุ่น Expedition ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากรุ่น Saltiga 2010 / Dogfight คงเพราะทำได้ดีอยู่แล้ว แต่ดูเหมือนใน Expedition มีการปรับแต่งค่าของระบบนี้อยู่เล็กน้อย เพราะในรุ่น 2010 ที่ตำแหน่งเกียร์ด้านล่าง มีการทิ้่งรอยถูบนผิวด้านหลัง เมื่อใช้งานไปได้ไม่นาน แต่กับ Expedition จะไม่พบปัญหานี้ เกียร์ให้ความรู้สึกมั่นคงมากขึ้น

Gearing

Daiwa ไม่มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุที่ใช้สร้างเกียร์ ยังคงใช้ C6191 Marine Brigde ในการสร้างเกียร์หลัก มันเป็นโลหะผสมทองแดง 85% ผสมด้วยเหล็ก นิกเกิล แมงกานิส และอลูมิเนียม มันมีความทนทานมากถึง 850 Mega-Pascal ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของ Duralumin ในการสร้างเกียร์จากเฟืองชนิดนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ก็ทำให้ได้เกียร์ที่มีความทนทานสูง ต้านทานการกัดกร่อนในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลได้ดี

ตกปลา เกียร์ของ 8000H จะมาพร้อม Pinion (เฟืองที่มาคู่กับตัวหลัก) มันทำจากโลหะผสมทองแดงที่คล้ายๆ กับ C6191 แต่จะมีส่วนผสมของ นิกเกิลและแมงกานิสสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็ง ในขณะที่รุ่น 5500H เกียร์ Pinion ใช้สแตนเลส

เกียร์ของ Expedition ถูกสร้างขึ้นด้วยเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ สร้างขึ้นด้วยการวิเคราะห์โมเดล 3 มิติ จึงได้ชิ้นส่วนที่มีความแม่นยำสูงมาก และสำหรับเกียร์ของ Saltiga นั้นจะถูกวางอยู่ใกล้กับเพลาหลักมากกว่ารอกรุ่นหรือแบนด์อื่นๆ ด้วยการวางเกียร์แบบ Hypoid เกียร์ทดขนาดเล็ก = ประสิทธิภาพเกียร์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ระบบเกียร์จึงดีขึ้น ซึ่งถูกนำมาใช้ตั้งแต่ Saltiga 2010  แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในรุ่นใหม่ๆ อย่างเช่น ตรงตำแหน่งเพลาถูกปรับเพื่อให้รองรับลูกปืนชนิดใหม่ ดังนั้นเกียร์ของ Expedition จึงไม่สามารถใช้แทนรุ่น 2010 / Dogfight ได้

Stella SW 2019 ก็ถือกำเนิด

ถามว่านานแค่ไหนกว่า 2019 จะออกมา ..? ก็ก่อนรุ่นใหม่ ก็เป็น 2013 นั้นละ
ในที่สุด Shimano Stella SW 2019 ก็ถือกำเนิด  มันเป็นรอกที่ว่ากันว่าอาจเป็นสปินนิ่งงานทะเลที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก มันถูกยกย่องอย่างมากในการเปิดตัวในงาน Osaka Fishing Show

หากเทียบกับรุ่น Stella SW 2013 แล้วต้องบอกว่า บอดี้ รวมทั้ง โรเตอร์ของ Stella SW 2019 ดูเล็กและบางกว่า มันกระทัดรัดกว่าเดิม และยังมีช่องสำหรับระบายน้ำที่โรเตอร์อีก 2 จุดด้วย

จุดเด่นอีกอย่างของ Stella SW 2019 คือระบบที่เรียกว่า “Heatsink” Drag System หรือก็คือระบบระบายความร้อนให้กับเบรคนั้นเอง ด้วยระบบนี้ทาง Shimano เครมมาว่าจะช่วยลดความร้อนได้ถึง 50% เลย แต่อย่างว่ารอกยังใหม่ ไม่รู้ดีจริงหรือเปล่า คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

เทียบชัดๆ สปูนใหม่ และเก่า

ด้วยการออกแบบใหม่ทาง Shimano บอกว่า ตอนนี้ Stella SW 2019 สามารถลดแรงบิดในการหมุนด้ามจับลงไปประมาณ 30% เมื่อเทียบกับรุ่นเก่า นั้นหมายความว่านักตกปลาจะใช้แรงน้อยลงมาก ในการตกปลา มันมีผลอย่างมากเมื่อต้องตกเป็นเวลานาน หรือเจอเกมหนักๆ

IPX8 คือระดับการกันน้ำของ Stella SW 2019

แม้ทาง Shimano จะไม่ได้ชูเรื่องระบบกันน้ำที่ใช้กับรอกรุ่นใหม่นี้เท่าไร แต่ก็บอกว่ามันอยู่ในระดับ IPX8 ซึ่งเป็นระดับเกือบสูงสุด หรือก็คือ ป้องกันผลกระทบจากการแช่น้ำลึกกว่า 1 เมตร ได้เป็นเวลานาน แบบไม่กำหนดเวลา มันเป็นเครื่องยืนยันว่าน้ำไม่เข้าแน่นอน

คงต้องขอสรุปว่าก่อนที่ Stella SW 2019 จะออกวางจำหน่าย ผมว่า Daiwa Saltiga ดูจะยอดเยี่ยมกว่า แต่หลังจาก Stella SW 2019 วางจำหน่าย บัลลังก์รอกทะเลเบอร์ 1 ของไดว่าก็สะเทือน

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Stella SW 2019 ผมจะรีวิวแยกให้อ่านกันอีกครั้งนะครับ รอติดตามกันได้เลย อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันด้วยนะ หรือคอมเม้นท์ข้างล่างนี้ก็ได้ครับ

อ่านเรื่องอื่น พื้นฐานตกปลา รอบของรอก

Advertisements