‘หลุมแห่งความสิ้นหวัง’ การทดลองวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่ผิดจรรยาบรรณที่สุด

เพื่อแสวงความเข้าใจธรรมชาติของภาวะซึมเศร้าและความเหงา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ได้ออกแบบเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่คล้ายกับอุปกรณ์ทรมานลิงขึ้นมา มันถูกเรียกว่า "หลุมแห่งความสิ้นหวัง" (Pit of despair)

หลุมแห่งความสิ้นหวัง

การทดลองนี้พัฒนาขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน “แฮร์รี่ ฮาร์โลว์” (Harry Harlow) โดยหวังว่าจะสร้างแบบจำลองภาวะซึมเศร้าในสัตว์เพื่อให้เข้าใจสภาวะดังกล่าวได้ดีขึ้น และอาจหาวิธีการรักษาที่เป็นไปได้จากการทดลองครั้งนี้

โดยการทดลองนี้ จะใช้ “ลิงแสม” จำพวกหนึ่ง วางลงในโครงสร้างรูปกรวยแนวตั้งขนาดใหญ่ ที่สร้างจากเหล็กกล้าไร้สนิม มันทั้งแข็งและเย็น พื้นของโครงสร้างทำด้วยตาข่ายลวดทำให้ของเสียจากลิงหล่นลงด้านล่างได้ ภายใน “หลุม” ลิงจะได้รับอาหารและน้ำ แต่ท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาจะปล่อยให้ลิงอยู่ตามลำพังเป็นเวลาหลายสัปดาห์ในแต่ละครั้ง

ฮาร์โลว์ ตั้งชื่ออุปกรณ์นี้ว่า “หลุมแห่งความสิ้นหวัง” ตามที่เขาอธิบายในเอกสารปี 1969 [ PDF ] แนวคิดก็คือเพื่อสะท้อนความรู้สึกทางอารมณ์ของมนุษย์ที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง

“มีรายงานว่ามนุษย์ที่ตกต่ำ พวกเขาจะอยู่ในส่วนลึกของความสิ้นหวังหรือจมอยู่ในความเหงา ดังนั้นเราจึงสร้างเครื่องมือที่ตรงตามเกณฑ์เหล่านี้และเรียกอย่างไพเราะว่า “Pit” แต่คำว่า “Pit” ไม่เป็นที่ยอมรับทางจิตวิทยา”

จากการทดลองพบว่า ลิงส่วนใหญ่จะตกอยู่ในสภาวะสงบนิ่งและเบียดเสียดกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่วันหลังจากถูกวางลงในหลุม และเมื่อนำลิงออกจากหลุมแล้ว ลิงจะไม่กลับไปใช้พฤติกรรมทางสังคมตามปกติ (ก่อนเข้าไปในหลุม)

ฮาร์โลว์ อธิบายในการศึกษาปี 1971 ว่าลิงที่ตกอยู่ภายใต้ “หลุมแห่งความสิ้นหวัง” เป็นเวลา 30 วันมันจะไม่เล่น หลีกหนีจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และไม่แสดงอาการอยากรู้อยากเห็น ลิงส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในท่าที่เบียดเสียดกัน พวกมันจะคอยจับร่างกายของตัวเอง มันเป็น “ความผิดปกติทางพฤติกรรม” และลิงจะเป็นเช่นนี้อีกหลายเดือนแม้จะเป็นอิสระจากหลุมแล้วก็ตาม

“ฮาร์โลว์ อ้างว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมี “ศักยภาพมหาศาล” ในการศึกษาโรคซึมเศร้า แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าแนวทางการวิจัยนี้เคยให้ข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าทางคลินิกหรือเสนอวิธีใดๆ ในการรักษา”

การทดลองนี้ถือเป็นช่วงสุดท้ายของอาชีพของเขา มีคนกล่าวว่าเขาถูกผลักดันให้เข้าใจและสนใจสภาพนี้ เนื่องจากประสบการณ์ของตัวเองที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง มันรุนแรงขึ้นหลังจากภรรยาของเขาเสียชีวิตในปี 1971 และเขาเสียชีวิตในปี 1981 ด้วยโรคซึมเศร้าและโรคพิษสุราเรื้อรัง

จรรยาบรรณของการทดสอบสัตว์

Advertisements

ส่วนใหญ่ การทดลองของฮาร์โลว์ ถือเป็นเรื่องซาดิสต์ ไม่ยุติธรรม และเป็นการเอารัดเอาเปรียบ ในคำพูดของนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอเมริกัน Wayne C Booth “ฮาร์โลว์ และเพื่อนร่วมงานของเขา ชอบที่จะทรมานไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นเวลาหลายสิบปี เพื่อพิสูจน์ว่า สัตว์ในสังคมสามารถถูกทำลายได้ด้วยการทำลายความสัมพันธ์ทางสังคมของพวกมัน”

ฮาร์โลว์ไม่อายจากภาพของนักทดลองที่เย็นชาเช่นกัน จากการสัมภาษณ์ในปี 1974 เขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า “สิ่งเดียวที่ฉันสนใจคือ ลิงจะกลายเป็นทรัพย์สินที่ฉันสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ฉันไม่มีความรักกับพวกมัน ..ไม่เคยมี ฉันไม่ชอบสัตว์ ฉันเกลียดแมว ฉันเกลียดหมา คุณชอบลิงได้อย่างไร”

Advertisements
อย่างไรก็ตามฮาร์โลว์ ยังคงมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราเห็นพัฒนาการของเด็กและช่วย ปรับโฉมสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า บริการรับเลี้ยงเด็ก และการดูแลเด็กในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 บางคนถึงกับโต้แย้งว่างานของฮาร์โลว์ ได้บังคับให้โลกวิทยาศาสตร์ต้องคิดใหม่เกี่ยวกับการใช้สัตว์ในการวิจัย

และเป็นที่แน่นอน การทดลองของเขาจะต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมของมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 แต่การทดลองกับสัตว์ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และจากสถิติของกระทรวงเกษตรสหรัฐ นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐใช้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์ 75,825 ตัวเพื่อการวิจัยในปี 2561

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements