นกกระทุง (Spot-billed pelican) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระทุง (Pelecanidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในวงศ์นี้ ที่พบได้ในประเทศไทย แต่ในต่างประเทศมีหลายชนิด
นิสัยแปลกประหลาด?
เดี๋ยวขอพูดถึงนิสับแปลกๆ ของเจ้านกชนิดนี้ซะหน่อย โดยเจ้านกกระทุงมันเป็นนกที่มักถูกถ่ายภาพในช่วงเวลาแปลกๆ ได้เสมอ เช่นกันไป งับหัวคน งับตัวแมว ตัวคาปิบารา จิงโจ้ หรือแม้แต่ยีราฟ ..ถามว่ามันกินได้หรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ ถ้าเข้าปากได้ทั้งตัวผมว่าไม่แน่นะ เดี๋ยวลองดูภาพก่อนดีกว่า
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ นกกระทุง
นกกระทุงเป็นนกขนาดใหญ่ มีความยาวจากปากถึงปลายหางประมาณ 52–60 นิ้ว มีขาสั้นใหญ่ ปากยาวแบนข้างใต้มี ถุงสีออกม่วงขนาดใหญ่ บริเวณขอบปากบนมีจุดสีน้ำเงินเข้มอยู่เป็นระยะตามความยาวของจะงอยปาก ตีนมีพังผืดสี เหลืองขึงเต็มระหว่างนิ้วทุกนิ้วคล้ายเป็ด ม่านตาสีแดง แข้งและตีนสีเนื้อ สามารถว่ายน้ำได้ดี บินได้สูง
ในฤดูผสมพันธุ์ ขนจะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินในช่วงบนของลำตัว ส่วนช่วงล่างจะเป็นสีขาว แต่ถ้าไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ปีก หางและส่วนใต้ลำตัว จะมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับนกกระทุงที่ยังไม่โตเต็มที่ ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างและสีสันเหมือนกัน นกกระทุงชอบอยู่เป็นฝูง กินปลา, กุ้ง, กบ หรือสัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ เป็นอาหารและหาอาหารด้วยกัน
สำหรับนกชนิดนี้ ถ้าตัวใดตัวหนึ่งทำอะไรตัวอื่นจะทำตาม เช่นเวลาที่อยู่เฉยๆ จะหันหน้าไปทางเดียวกันหมด เวลาบินจะหดคอเข้ามา บินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง บางครั้งบินเป็นรูปตัว V ส่วนใหญ่จะบินเป็นรูปขั้นบันไดกว้างๆ รังสร้างด้วยกิ่งไม้ใหญ่ ๆ วางสานกันบนต้นไม้สูงๆ ขนาดของรังมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 2 ฟุต วางไข่ครั้งละประมาณ 3 ฟอง ไข่มีสีขาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันกกไข่ประมาณ 4–5 อาทิตย์ จึงฟักเป็นตัว
นกที่ใกล้สูญพันธุ์จากประเทศไทย
ปัจจุบันเป็นนกที่พบเห็นยากมาก เคยพบปนอยู่กับฝูงนกปากห่างที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการพบเห็นฝูงนกกระทุงที่บินผ่านประเทศไทยและแวะพักหากินที่บ่อปลาของชาวบ้านใน หมู่ 7 ตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีบ่อปลาอยู่ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ปีละ 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน และช่วงเดือนตุลาคม–พฤศจิกายน
ใกล้สูญพันธุ์จากประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 บัญญัติไว้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
อ่านเรื่องอื่น
-
3 เรื่องน่ารู้ของ ‘โรดรันเนอร์’ นกในการ์ตูนที่มีอยู่จริง นกที่ไคโยตี้ไม่เคยชนะได้
-
นกปักษาสวรรค์ นกที่มืดมิดที่สุด กับสีที่ดูดกลืนแสง 99.95%