อาหารเก่าแก่ที่สุดในโลก พบในซากดึกดำบรรพ์อายุ 550 ล้านปี

นักวิจัยชาวออสเตรเลียพบซากของสาหร่าย ในระบบย่อยอาหารของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งอยู่ในยุคพาลีโอโซอิกในมหาสมุทร มันทำให้รู้ว่าสิ่งมีชีวิตโบราณ Ediacara biota ที่ตายไปแล้วเมื่อ 550 ล้านปีก่อน กินอะไรเข้าไป

ตอนนี้ทีมงานจาก Australian National University (ANU) ได้ค้นพบคำตอบแล้ว ด้วยความร่วมมือกับ Dr. Ilya Bobrovskiy จาก GFZ German Research Center for Geosciences ในเมืองพอทสดัม พวกเขาสามารถระบุซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นมื้อสุดท้ายของซากดึกดำบรรพ์ Ediacara biota คู่หนึ่งที่พบในรัสเซียในปี 2018 …ปรากฎว่าพวกมันกินสาหร่ายในมหาสมุทร

ทีมวิจัยพบว่าสิ่งมีชีวิตหนึ่งในสองชนิด เป็นสัตว์ที่คล้ายกับทากที่เรียกว่า Kimberalla มันมีปากและไส้มีระบบย่อยอาหารในลักษณะเดียวกับที่สัตว์สมัยใหม่

อีกตัวคือ Dickinsonia มันเป็นสัตว์ที่ดูคล้ายกับปลาตัวแบนหรือ Trilobite ที่มีขนาดใหญ่มาก วัดความยาวได้ 1.4 เมตร มันดูธรรมดาที่ไม่มีตา ปากหรือไส้ และดูดซึมอาหารผ่านร่างกายของมัน ซึ่งทั้งหมดจะทำขณะที่มันเคลื่อนตัวไปตามพื้นมหาสมุทร

Bobrovskiy กล่าวว่า “ผลการวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าสัตว์ในกลุ่ม Ediacara biota เป็นสัตว์แปลกๆ อย่างเช่น Dickinsonia และสัตว์ที่ก้าวหน้ากว่าเช่น Kimberella ซึ่งมีคุณสมบัติทางสรีรวิทยาบางอย่างที่คล้ายคลึงกับมนุษย์และสัตว์อื่นๆ ในปัจจุบัน” Bobrovskiy กล่าว

ซากดึกดำบรรพ์ของ Dickinsonia

ด้วยการวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ เพื่อค้นหาโมเลกุลไฟโตสเตอรอลที่เก็บรักษาไว้ ซึ่งเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่พบในพืช พวกเขาจึงสามารถระบุได้ว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ อาศัยอาหารจากสาหร่ายซึ่งมีอยู่มากมายในเวลานั้น

“อาหารที่อุดมด้วยพลังงาน อาจอธิบายได้ว่าทำไมสิ่งมีชีวิตอย่าง Ediacara biota จึงมีขนาดใหญ่มาก ซากดึกดำบรรพ์เกือบทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนสิ่งมีชีวิต Ediacara นั้นเป็นเพียงสัตว์เซลล์เดียวและมีขนาดจิ๋วจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาsciencefocus