ค้นพบหัวใจ ‘อายุ 380 ล้านปี’ เป็นฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จัก

หัวใจที่เก่าแก่ที่สุดที่นักวิจัยรู้จัก ถูกค้นพบในซากของปลาโบราณ พร้อมกับกระเพาะอาหาร ลำไส้และตับ สิ่งนี้เป็นอวัยวะของปลาอายุ 380 ล้านปี ซึ่งทำลายสถิติก่อนหน้านี้ที่เก่าแก่ 250 ล้านปี

ปลาชนิดนี้อยู่ในกลุ่มปลาหุ้มเกราะที่สูญพันธุ์ไปแล้ว “อาโทรไดร์ (arthrodires)” ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 419.2 – 358.9 ล้านปีก่อน แม้จะมีต้นกำเนิดในสมัยโบราณ แต่การค้นพบอวัยวะครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นว่ากายวิภาคของร่างกายปลาโบราณ ไม่ได้ต่างจากฉลามที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเผยให้เห็นต้นกำเนิดโบราณในวิวัฒนาการของพวกมัน

ศาสตราจารย์ Kate Trinajstic หัวหน้านักวิจัยจาก Curtin’s School of Molecular and Life Sciences และพิพิธภัณฑ์ Western Australian กล่าวว่า “วิวัฒนาการมักถูกมองว่าเป็นขั้นตอนเล็กๆ แต่ฟอสซิลโบราณเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่ามีการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ระหว่างสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกรและมีขากรรไกร”

“ปลาเหล่านี้มีหัวใจอยู่ในปากและใต้เหงือก เช่นเดียวกับปลาฉลามในปัจจุบัน” ..ตัวอย่างนี้ ไม่เพียงแต่มีความโดดเด่นในยุคของมันเท่านั้น แต่ยังได้รับการเก็บรักษาไว้ในรูปแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับมันเลย จนกระทั้งได้สแกน

“เราได้ค้นพบหัวใจสามมิติที่เก่าแก่ที่สุดที่เก็บรักษาไว้โดยปลาที่มีกราม ซึ่งให้แสงสว่างใหม่แก่วิวัฒนาการของร่างกายเรา” Trinajstic กล่าวต่อ “การค้นพบอันน่าทึ่งนี้ไขความลับเกี่ยวกับบรรพบุรุษอายุ 380 ล้านปีของเรา”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements