ไดโนเสาร์เพียงตัวเดียวที่พบในนอร์เวย์ เป็นฟอสซิลที่พบในจุดลึกที่สุดในโลก

เป็นเรื่องยากมากที่จะได้เจอฟอสซิลระหว่างการขุดเจาะน้ำมัน โดยในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่พบและระบุชื่อให้กับฟอสซิลไดโนเสาร์อย่างน้อยสองชนิด แต่สำหรับนอร์เวย์กลับเป็นเรื่องยากที่จะพบ และมีเพียงฟอสซิลตัวอย่างเดียวเท่านั้นที่พบในนอร์เวย์

นอร์เวย์พบไดโนเสาร์ตัวแรกในปี 2006 แล้วพวกเขาก็ไม่ได้พบอีกเลย แน่นอนว่านักบรรพชีวินวิทยาพยายามที่จะหาฟอสซิลเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาแต่ก็ไม่พบจนถึงทุกวันนี้

โดยการค้นพบฟอสซิลของนอร์เวย์เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ในขณะที่บริษัทท้องถิ่นกำลังขุดเจาะน้ำมัน ที่ความลึก 2,256 เมตรใต้ก้นทะเล ซึ่งหมายความว่าการค้นพบนี้ ไม่เพียงแต่เป็นครั้งแรกสำหรับนอร์เวย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงโลกด้วย ซึ่งเป็นฟอสซิลไดโนเสาร์ที่อยู่ในจุดลึกที่สุดที่มนุษย์เคยค้นพบ

ฟอสซิลที่พบนี้เป็นเพลโตซอรัส (Plateosaurus) ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่สามารถยาวได้ถึง 9 เมตร และหนักได้ถึง 4 ตัน ที่อยู่อาศัยของพวกมันครอบคลุมยุโรปและกรีนแลนด์ เมื่อราว 210-195 ล้านปีก่อน

เชื่อกันว่าเพลโตซอรัสคอยาว เป็นไดโนเสาร์ชนิดแรกที่เชี่ยวชาญด้านการกินพืชที่สูงจากพื้นดินเป็นพิเศษ มันคล้ายกับยีราฟในปัจจุบัน ที่วิวัฒนาการมาเพื่อหาอาหารที่อยู่บนยอดไม้

“ต้อนนี้เรามีฟอสซิลไดโนเสาร์เพียงชิ้นเดียวจากนอร์เวย์ และนั่นคือกระดูกชิ้นนี้” นักสัตววิทยา Petter Bøckman กล่าวกับ Science Norway และเสริมว่าขณะนี้มีการจัดแสดงกระดูกเพียงชิ้นเดียวนี้ พร้อมแบบจำลองของเพลโตซอรัสที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติออสโล (National History Museum of Oslo)

Advertisements
Bøckman เน้นย้ำถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การค้นพบที่น่าทึ่งนี้ เกิดขึ้นโดยบังเอิญอย่างแท้จริง และเสริมว่าคงไม่มีใครพบหากไม่ได้ค้นหาน้ำมัน นักวิจัยกล่าวเสริมว่า อัตราการพบฟอสซิลไดโนเสาร์ ด้วยการเจาะน้ำมันนั้น น้อยกว่าการถูกลอตเตอรีรางวัลที่หนึ่งซะอีก และก็โชคไม่ดีนัก ที่ธรรมชาติของการขุดเจาะน้ำมัน ได้ทิ้งร่องรอยไว้บนซากฟอสซิลและเราก็ไม่สามารถค้นหาเพิ่มได้ นั้นเพราะมันอยู่ลึกมากจริงๆ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements