ค้นพบ ‘งูแรด’ สายพันธุ์ใหม่ ถูกระบุตัวบนเกาะไหหลำประเทศจีน

งูแรด (Rhinoceros snake) เป็นงูที่อยู่ในตระกูล Colubridae ซึ่งประกอบด้วยงูเกือบ 10 สายพันธุ์ พวกมันเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบในเอเซียใต้ ..และสำหรับงูแรดชนิดใหม่ถูกเรียกว่า งูแรดไหหลำ (Hainan rhinoceros snake) ซึ่งถูกพบบนเกาะไหหลำ

งูแรดไหหลำ Hainan rhinoceros snake Gonyosoma hainanense

ไหหลำ หรือ ไห่หนาน เป็นมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วย เกาะหลายเกาะในทะเลจีนใต้ โดยเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 35,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหลายชนิด … Dr. Li-Fang Peng กล่าว

งูแรดไหหลำ (Gonyosoma hainanense)

“ตัวอย่างสายพันธุ์ใหม่ 6 ตัวอย่าง ได้มาจากภูเขา Diaoluoshan Mountains พวกมันทั้งหมดได้รับการตรวจสอบ และปล่อยในภูเขา Jianfengling” หากมองจากแหล่งที่พบงูทั้งสองแห่ง ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 200 กิโลเมตร มันเป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของเกาะไหหลำทางใต้ ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าสปีชีส์ใหม่นี้น่าจะกระจายไปตามพื้นที่ภูเขาอื่นๆ ของเกาะไหหลำเช่กนัน

ดูเหมือนงูแรดไหหลำ (Gonyosoma hainanense) จะมีความคล้ายคลึงกับสายพันธุ์ “Gonyosoma boulengeri” มากที่สุด ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เป็นพี่น้องร่วมทวีปเดียวกัน

ความแตกต่างระหว่างงูแรดไหหลำ (Gonyosoma hainanense) และ Gonyosoma boulengeri ซึ่งถือเป็นพี่น้องใกล้ชิดที่สุด

ทั้งสองสปีชีส์มีเกล็ดยื่นออกมาที่ส่วนหน้าที่ปลายปาก ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอื่น โดย “Gonyosoma boulengeri” ได้รับการอธิบายครั้งแรกในปี 1897 จากตัวอย่าง 6 ตัว ที่มาจากอ่าวตังเกี๋ยในเวียดนาม” นักวิจัยกล่าว …“ชื่อสามัญของมัน งูแรดมาจากส่วนยื่นของเกล็ดที่โดดเด่นของมัน”

สำหรับ Gonyosoma hainanense มีความยาวรวมระหว่าง 65 – 93 เซนติเมตร สปีชีส์นี้มีหัวเป็นรูปสามเหลี่ยมและดวงตาขนาดใหญ่ที่มีรูม่านตากลม นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ยื่นออกมาอย่างเป็นสัดส่วนและโดดเด่นที่ด้านหน้าของจมูกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

“Gonyosoma hainanense โดยทั่วไปชอบขึ้นบนต้นไม้และออกหากินเวลากลางคืน” นักวิจัยกล่าว ..นอกจากนี้ มันยังวางไข่สีขาวจำนวน 6 ฟอง และระยะฟักตัว 62 วัน …วัยแรกเกิดและวัยรุ่นจะเป็นสีเทา มีแถบวงสีดำ สีจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเมื่องูโตเต็มที่ และแถบวงสีดำจะค่อยๆ จางลง”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาZoological Research