สายพันธุ์ใหม่ ‘ปลาดุกหายใจได้’ ในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำคองโก

พอพูดถึงปลาดุกหายใจได้ บางคนอาจคิดว่าแปลก แต่ความจริงก็ไม่ได้แปลกอะไรมาก เพราะปลาดุกหลายชนิดในบ้านเราก็อยู่ในวงศ์ปลาดุกหายใจได้ (Airbreathing catfish) อย่างเช่น ปลาดุกลำพัน กับ ปลาดุกด้านที่เรารู้จักกันดี และเมื่อไม่นานนี้ เพิ่งมีการพบปลาดุกชนิดใหม่ มันถูกตั้งชื่อว่า "คลาเรียส มอนเซมบูไล Clarias monsembulai"

ปลาดุกชนิดใหม่

ปลาดุกหายใจได้ (Airbreathing catfish) สายพันธุ์ใหม่ คลาเรียส มอนเซมบูไล (Clarias monsembulai) ถูกค้นพบในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำคองโก ใกล้กับอุทยานแห่งชาติซาลองกา ปลาชนิดนี้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรแก่ ดร.ราอูล มอนเซมบูลา (Dr. Raoul Monsembula)

ดร.ราอูล มอนเซมบูลา (Dr. Raoul Monsembula) กำลังแสดงพื้นที่พรุในป่าพรุรอบ Mbandaka สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยระดับพื้นดินเกี่ยวกับพื้นที่ป่าพรุอันกว้างใหญ่ และเป็นภูมิภาคเขตร้อนที่อุดมด้วยคาร์บอนมากที่สุดในโลก

สำหรับดุกชนิดใหม่นี้ มีความยาวประมาณ 22 เซนติเมตร มีลักษณะลำตัวที่ยาว ครีบหลังเป็นเส้นอ่อนแผ่ยาวถึงหรือเกือบถึงโคนครีบหาง ครีบค้นเป็นเส้นอ่อนยื่นจากด้านหลังทวารหนักถึงฐานครีบหาง ครีบอกแต่ละอันมีสันกระดูกด้านหน้าเป็นฟันปลา ศีรษะหดหู่ ปกคลุมส่วนใหญ่ด้วยการเย็บอย่างแน่นหนา แผ่นกระดูกเป็นรูปหมวกนิรภัย มีหนวดสี่คู่ และยังมีอวัยวะสำหรับหายใจ

B, Clarias monsembulai Bernt & Stiassny, 2022 / A, Clarias buthupogon Sauvage, 1879

ปลาดุก “คลาเรียส มอนเซมบูไล” เป็นหนึ่งในปลามากกว่า 128 ชนิด ที่ได้รับการระบุตัว และอาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติซาลองกา แม้ในตอนนี้ยังขนาดข้อมูลเกี่ยวกับปลาตัวนี้ แต่เรายังสามารถศึกษามันไปได้ และในอนาคตเราอาจพบปลาชนิดใหม่อีก

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาSpecies New to Science