2 ปลาไหลไฟฟ้า ที่ปลดปล่อยไฟฟ้ามากที่สุดในโลก

ถ้าพูดถึงปลาไหลไฟฟ้า น้าๆ หลายคนก็น่าจะรู้จักกันอยู่แล้ว ว่าเป็นปลาไหลที่ช็อตเหยื่อจนสงบหรืออาจถึงตายได้ ก็อย่างที่เห็นกันในคลิปมากมายในยูทูป แม้ในไทยจะไม่มีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติก็ตาม เพราะพวกมันส่วนใหญ่ก็อาศัยอยู่ที่ราบลุ่มน้ำอเมซอน เดี๋ยวมาอ่านเรื่องราวของมันกัน ..ท้ายบทความมีคลิปนะ

“การค้นพบปลาไหลไฟฟ้าชนิดใหม่ เปิดเผยเมื่อเดือนกันยายน ปี 2019 พูดถึงการค้นพบปลาไหล Electrophorus voltai (E. voltai) และ Electrophorus varii (E. electricus)”

การค้นพบปลาไหลไฟฟ้าสายพันธุ์นี้ไม่ใช่การค้นพบแค่ชนิดเดียวเท่านั้น แต่เป็นการค้นพบถึง 3 ชนิด แต่จะขอพูดถึงเพียง 2 ชนิดที่พิเศษ โดยหลังจากที่นักวิจัยได้พิสูจน์จากการทดลอง DNA กว่า 107 ตัวอย่าง จนรู้ว่านี่คือปลาไหลไฟฟ้า ที่โลกไม่เคยรู้จักถึง 2 ชนิด และมันมีชื่อว่า E. electricus กับ E. voltai

Electrophorus voltai ปลาไหลไฟฟ้า 1 ใน 2 ชนิดที่เพิ่งค้นพบ

“รู้หรือไม่ว่า ปลาไหลไฟฟ้าทำให้ อาเลสซานโดร โวลตา (Alessandro Volta) มีแรงบันดาลใจสำหรับการสร้างแบตเตอรี่ไฟฟ้าตัวแรก ในปี 1800”

เป็นปลาไหลที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้แรงที่สุด

Advertisements

ได้มีการทดลองจับเอาเจ้า E. voltai ขนาดตัวยาว 1.7 เมตร ก็พบว่ามันสามารถปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 860 โวลต์ ซึ่งถือว่ามากที่สุดเท่าที่เคยพบมา นั้นเพราะปลาไหลไฟฟ้าเกือบทุกชนิดในโลกจะปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดประมาณ 600 โวลต์ ส่วน E. electricus ที่ตัวยาว 1 เมตร นั้นสามารถปลดปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ 650 โวลต์ เรียกว่าไม่ธรรมดาเช่นกัน

ถ้านึกภาพไม่ออกว่า 860 โวลต์ เนียมันแค่ไหน ให้นึกถึงไฟบ้านทั่วๆ ไปก็ได้ เพราะไฟบ้านในไทยส่วนใหญ่มีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ ก็คิดดูแล้วกันว่าถ้าโดนช็อตจะเป็นยังไง ..จระเข้ยังตาย

การค้นพบในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการทำความเข้าใจปลาไหลไฟฟ้า ในพื้นที่ป่าอเมซอน ซึ่งปลาไหลไฟฟ้าทั้ง 2 ชนิด มีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อล้านปีก่อน แต่ปัจจุบันมีถิ่นที่อยู่ชัดเจนมากขึ้น โดย E. electricus อาศัยอยู่ในภูมิภาค Guiana Shield ส่วน E. voltai จะอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำไหลช้าของป่าแอมะซอน

“รู้หรือไม่ว่า ปลาไหลไฟฟ้าไม่ใช่ปลาไหล จริงๆ แล้วการจำแนกทางวิทยาศาสตร์ พวกมันใกล้เคียงกับปลาคาร์พและปลาดุกมากกว่า”

หากเราไม่รู้เกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน เราก็เสี่ยงที่จะสูญเสียความรู้ที่อาจมีค่าสำหรับเรา “เมื่อสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ สุขภาพและความปลอดภัยของมนุษย์ทุกคนก็เช่นกัน เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นคลังพันธุกรรมที่อาจรักษาโรคได้”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาnewscientist